ภูเขาไฟ ขนาดมหึมาทอดกายอยู่ภายใต้เมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ราวห้าแสนคนในประเทศอิตาลี อาจกำลังตื่นขึ้นและเขาสู่ “ภาวะวิกฤติ” ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เขียนรายงานนี้ลงในวารสาร Nature Communications
อ้างอิงตามการตรวจวัดทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ “เราพบว่าแมกมาใน ภูเขาไฟ คัมปีเฟลเกรอี อาจไปแตะจุดซีดีพีหรือจุดแรงดันการปล่อยแก๊สขั้นวิกฤติ (critical degassing pressure) ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ในมหานครนาเปลส เมืองที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นแห่งหนึ่งในโลก และการตรวจวัดความร้อนรวมถึงการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรณีกำลังเริ่มขึ้นในมหาครแห่งนี้” ทีมนักวิทยาศาสตร์ นำโดย จีโอวานี ชิโอดินี แห่งสถาบันวิจัยแห่งชาติอิตาลีด้านธรณีฟิสิกส์ในกรุงโรม กล่าว
การปล่อยความร้อนในรูปแก๊สแม่เหล็กเมื่อไม่นานมานี้ มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตอันใกล้ ภูเขาไฟลูกนี้อาจเกิดการประทุครั้งใหญ่ได้ นักวิทยาศาตร์ได้ออกมากล่าวเตือน แต่เวลาในการระเบิดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และในปัจจุบัน ยังไม่สามารถทำนายได้
ทางรัฐบาลอิตาลีได้ตอบสนองต่อข่าวนี้โดยการประกาศยกระดับความรุนแรงของภูเขาไฟลูกนี้จากระดับสีเขียวเป็นระดับสีเหลือง หรืออีกนัยหนึ่งคือ รัฐบาลได้ร่วมติดตามผลการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดกับทีมนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาภูเขาไฟแห่งนี้
คัมปีเฟลเกรอี เป็นภาษาอิตาลีมีความหมายว่า “พื้นที่ที่ลุกเป็นไฟ” ภูมิภาคภูเขาไฟแห่งนี้รู้จักในนามเฟรเกลียน เช่นเดียวกับภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่อื่น อย่างโครงสร้างแนวความร้อนใต้พิภพในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน มันไม่ได้มีแค่ปากปล่องภูเขาไฟเพียงอันเดียว แต่มันคือโครงสร้างซับซ้อนขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย 24 ปล่องภูเขาไฟและทอดตัวอยู่ใต้แผ่นพิภพรวมถึงใต้ทะเลเมดิเตอเรเนียน นอกจากนี้ยังพบทั้งน้ำพุร้อนและท่อที่พ่นแก๊สร้อน ๆ ออกมาตามแนวภูเขาไฟด้วย
ภูเขาไฟขนาดใหญ่มักเกิดขึ้นโดยปล่องภูเขาไฟหรือแรงกดดันตามรอยแยกของเปลือกโลก ภูเขาไฟคัมปีเฟลเกรอีมีแรงกดดันที่ว่านี้ทอดผ่านอยู่ใต้เมืองนาเปลสทางตะวันตกยาวกว่าเจ็ดไมล์
ภูเขาไฟคัมปีเฟลเกรอีที่เป็นรูปร่างในปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อกว่าหนึ่งพันปีที่แล้ว แต่จากประวัติศาสตร์ทางธรณีของภูมิภาคแห่งภูเขาไฟนี้ มันเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อสองแสนปีที่แล้ว ปล่อยเถ้าถ่านปกคลุมท้องฟ้าสีครามให้กลายเป็นสีหม่น ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งโลก และเกิดปรากฏการณ์ที่เรีบกว่า “หิมะภูเขาไฟ” ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป
ภูเขาไฟแห่งนี้ระเบิดอีกครั้งเมื่อ 35000 และ 12000 ปีที่แล้วตามลำดับ และมีการตั้งสมมติฐานกันว่า การระเบิดของภูเขาไฟในยุคนั้น เป็นสาเหตุที่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลอำลาโลกไป
การระเบิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1538 แม้จะไม่ใช่การระเบิดที่สร้างความเสียหายมากแต่มันก็กินเวลานานถึงแปดวัน และได้สร้างภูเขาลูกใหม่ขึ้นมาชื่อ มอนเต นัวโว และนับจากวันนั้น มันก็หลับใหลอย่างเงียบ ๆ เป็นเวลากว่าห้าร้อยปี
ทีมนักวิทยาศาสตร์บอกว่า เราอาจมีชีวิตไม่ถึงช่วงที่เกิดการระเบิดครั้งถัดไป แต่ก็ไม่มีความแน่นอนหรือชัดเจนที่จะยืนยันได้ว่ามันจะระเบิดอีกครั้งเมื่อไหร่ ดังนั้น การเฝ้าสังเกตุ ติดตาม และการศึกษาทางธรณีวิทยาจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะให้เรารู้จักภูเขาไฟลูกนี้มากขึ้น
ร่องรอยจากภูเขาไฟระเบิดที่พี่งมีการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้อยู่บนเทือกเขาแอลป์ในเขตประเทศอิตาลี ปล่องภูเขาไฟที่อยู่ใต้พื้นดินความกว้างราวแปดไมล์ถูกสำรวจพบในหมู่บ้านเซเซีย เกิดระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ 280 ล้านปีก่อน ในช่วงระหว่างการระเบิด มันได้ปลดปล่อยเถ้าถ่านและสารประกอบอื่น ๆ ออกมาปกคลุมท้องฟ้าจนแสงอาทิตย์ต้องพ่ายแพ้ และเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิของโลกลดลง
“อาจจะมีการระเบิดครั้งใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้ง” เจมส์ ควิก นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเมโทดิสท์ ในรัฐเท๊กซัส กล่าวในการค้นพบปล่องภูเขาไฟใต้พิภพแห่งนี้
“เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไหร่ แต่หมู่บ้านเซเซียจะช่วยเราทำนายการเกิดครั้งต่อไปได้” เขากล่าวเสริม
เรื่อง ไบรอัน คลาร์ก ฮาวเวิร์ด