ผู้คนราว 143 ล้านคนจะกลายเป็นผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ

ผู้คนราว 143 ล้านคนจะกลายเป็นผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ

ผู้คนราว 143 ล้านคนจะกลายเป็นผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคตจะเปลี่ยนผู้คนจำนวน 143 ล้านคนให้กลายเป็นผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศ อันเนื่องมาจากเรือกสวนไร่นาที่แห้งตาย, การขาดแคลนน้ำ ไปจนถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานใหม่ล่าสุดจากธนาคารโลก

ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจะมาจากภูมิภาคทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา, เอเชียใต้ และละตินอเมริกา โดยในสามพื้นที่สำคัญนี้ครอบคลุมสัดส่วน 55% ของประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหมด

การคาดคะเนสถานการณ์เลวร้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบอันช้าจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งตรงข้ามกับผลกระทบที่เห็นได้อย่างชัดเจนเช่นน้ำท่วมหรือพายุ รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า Groundswell—Preparing for Internal Climate Migration นอกจากนั้นยังมุ่งโฟกัสไปที่ประเด็นของผู้อพยพข้ามแดน ซึ่งกำลังเป็นประเด็นสนใจของทั่วโลกขณะนี้ พวกเขาลี้ภัยหลบหนีความยากจนและสภาพเลวร้ายจากสงครามเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าในประเทศใหม่ แต่ในอนาคตจะมีผู้ลี้ภัยเพิ่มสูงเป็น 143 ล้านคนเกิดขึ้นจากสภาพอากาศอันเลวร้าย ซึ่งทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วน 2.8% จากทั้งสามภูมิภาคที่กล่าวมาข้างต้น

เริ่มต้นด้วยระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะผลักดันให้เกิดการอพยพของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในแปซิฟิก และผู้คนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งต่างๆ ตามมาด้วยความแห้งแล้งรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับเรือกสวนไร่นาหลายแห่ง ส่งผลให้ผู้คนเหล่านี้ต้องแสวงหาพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ในอีกสามสิบปีข้างหน้า เมื่อสภาพอากาศทวีความรุนแรงขึ้น ผลกระทบที่เกิดจะกระตุ้นให้ผู้คนจากชนบทเดินทางเข้าไปอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเพราะผู้คนที่ยากจนจากประเทศยากจนจะเป็นประชากรกลุ่มแรกที่ต้องรับเคราะห์

อย่างไรก็ตาม จากรายงานยังระบุว่าบนความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดีอยู่บ้าง นั่นคือหากประชาคมโลกร่วมกันลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และวางแผนการแก้ไขสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อัตราการเกิดของ “ผู้อพยพจากสภาพภูมิอากาศ” จะลดลงถึง 80% นั่นคือเหลือผู้ได้รับผลกระทบราว 40 ล้านคน

ผู้ลี้ภัย
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือการผลักดันผู้อพยพเข้าไปในเม็กซิโกเพิ่มมากขึ้น
ภาพถ่ายโดย Guillermo Arias, AFP/Getty

 

กรณีตัวอย่าง 3 กรณี

รายงานชิ้นนี้ยกตัวอย่างกรณีตัวอย่างขึ้นมา 3 กรณี ได้แก่ เอธิโอเปีย, บังกลาเทศและเม็กซิโก พร้อมเตือนว่าเมืองที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านสังคมที่มั่นคงและทนทานต่อความเสี่ยงจากภูมิอากาศเพื่อรองรับจำนวนของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น

ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงในพื้นที่ทางตอนเหนือของเอธิโอเปียผลักดันให้เกษตรกรต้องเดินทางออกนอกประเทศเพื่อแสวงหาพื้นที่ใหม่ในการเพาะปลูก นอกจากนั้นการขาดแคลนน้ำฝนของกรุงอาดีสอาบาบา เมืองหลวงยังชะลอการเติบโตของจำนวนประชากรอีกด้วย

ในขณะที่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นและพายุที่ซัดกระหน่ำในบังกลาเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกรุงธากา เมืองหลวง ผลการศึกษาคาดการณ์ว่การเปลี่ยยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อจำนวนของประชากรที่สุดมากกว่าปัจจัยใด

สำหรับเม็กซิโก ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเมื่อเทียบกับสองกรณีข้างต้น ด้วยสถานที่ตั้งเม็กซิโกมีความเสียงน้อยกว่าและการรับมือสภาพอากาศที่ดีกว่าเอธิโอเปียและบังกลาเทศ ทว่าปัญหาใหญ่ของพวกเขาคือจะทำอย่างไรกับคลื่นผู้อพยพ เมื่อพื้นที่ทางตอนกลางของเม็กซิโกซึ่งมีสภาพอากาศดีเยื่ยมและอาจเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของบรรดาผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศ

จะว่าไปก็เหลือเวลาไม่มากแล้วสำหรับการแก้ไข หากปราศจากการลดก๊าซเรือนกระจกและนโยบายการรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ในรายงานดังกล่าวชี้ว่าผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศจะเริ่มขึ้นในปี 2050 นี้ และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เรื่อง Laura Parker

 

อ่านเพิ่มเติม

ภาวะโลกร้อนจะยิ่งทำให้วิกฤติผู้ลี้ภัยในยุโรปย่ำแย่ลง

Recommend