นักท่องเที่ยวขี่ม้าผ่านชายหาด Kedonganan ที่ เกาะบาลี ในวันที่ 27 มกราคม 2019 ทุกปีในช่วงหน้าฝน นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม จะมีขยะหลายตันเกยขึ้นฝั่ง ทำให้ฤดูนี้มีอีกหนึ่งชื่อเล่นว่า ฤดูขยะ ทั้งมาตรการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และสร้างการตระหนักรู้ให้กับผู้คน นี่คือสิ่งที่ เกาะบาหลี พยายามทำเพื่อรักษาชื่อเสียงของชายหาดอันเก่าแก่และปกป้องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเกาะเอาไว้ แม้ เกาะบาหลี จะได้รับการขนานนามว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีความสวยงามมาอย่างยาวนาน แต่ในขณะนี้ บาหลีกำลังเผชิญปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการขยะ พฤติกรรมการใช้ขวดและถุงพลาสติกในระหว่างการท่องเที่ยวที่ฝังรากลึก และขาดความตระหนักรู้ในวงจรขยะพลาสติกเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนการทิ้ง การลงสู่ทะเล และได้รับการเก็บขึ้นมาในฐานะขยะชายหาดอีกครั้ง ในปี 2015 งานวิจัยจากนิตยสาร Science เรื่อง 20 อันดับประเทศที่มีการจัดการขยะย่ำแย่ระบุว่า อินโดนีเซียอยู่อันดับที่ 2 (อันดับที่ 1 คือจีน) ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้ยอมรับเช่นกันว่า ขยะพลาสติกโดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการจัดการที่ดีพอ หมู่เกาะบาหลีจึงมีความพยายามในการจัดการปัญหาเรื่องปัญหาพลาสติก ซึ่งเริ่มปรากฏผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยในปลายปี 2018 วายัน คอสเตอร์ ผู้ว่าราชการของเกาะบาหลีประกาศห้ามการใช้ถุงพลาสติก, พลาสติกประเภทโพลีสไตรีน (Polystyrene) และหลอดพลาสติกบนเกาะ และรัฐบาลอินโดนีเซียก็ให้คำมั่นว่า จะลดขยะพลาสติกในทะเลให้ได้ร้อยละ 70 […]