พลาสติกชีวภาพ คือพลาสติกที่สามารถผลิตให้ย่อยสลายทางชีวภาพได้ แต่ยังไม่ใช่ทางออก คำตอบคือเรายังคงต้องรีไซเคิลให้มากขึ้นและลดการใช้พลาสติกลงให้มากต่างหาก เรียบเรียงจากข้อเขียนของ ลอรา ปาร์กเกอร์ เป็นเรื่องน่ายินดีหลังจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทยได้ออกมาเปิดเผยว่า การใช้พลาสติกของคนไทยลดลงไปมากในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา (ณ เดือนเมษายน 2019) ซึ่งอยู่ที่จำนวนราว 1,300-1,500 ล้านใบ ซึ่งเป็นผลมาจากการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ โดยการ “ลดการใช้” และ “นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)” คือทางออกที่ดีที่สุด ดีมากกว่าเทคโนโลยีใดๆ ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ พลาสติกชีวภาพ คืออีกหนึ่งทางออกหรือไม่? ในโลกซึ่งอาจดูเหมือนท่วมท้นไปด้วยขยะพลาสติกที่ราวกับอยู่ไปชั่วนิรันดร์ พลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้คือทางออกใช่หรือไม่ อาจจะไม่ใช่ แม้แต่อุตสาหกรรมพลาสติกเองยังถกเถียงกันว่าคำว่า “เสื่อมทางชีวภาพ” (biodegradable) หรือย่อยสลายทางชีวภาพ แปลว่าอะไรกันแน่ และพลาสติกบางชนิดที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ แต่พลาสติกที่ทำ จากพืช หรือ “พลาสติกชีวภาพ” (bioplastic) บางชนิดกลับไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ พลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพมีใช้มาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 และมีการทำตลาดในช่วงแรกโดยบอกเป็นนัยว่า ขยะเหล่านี้จะหายไปได้เองเมื่อนำไปทิ้ง ไม่ต่างจากใบไม้บนพื้นป่าที่ถูกเห็ดราและจุลชีพในดินย่อยสลาย ทว่า ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น พลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพไม่อาจทำ ได้ตามคำสัญญา เช่น ภายใต้สภาพแวดล้อมไร้ออกซิเจนและมืดมิดของบ่อขยะ หรือในน่านนํ้าเย็นเฉียบของมหาสมุทร และคุณไม่สามารถโยนทิ้งให้กลายเป็นปุ๋ยในสวนหลังบ้านได้ […]