ปัญหาใหญ่ของโลกนอกจากภาวะโรคระบาดโควิด-19 แล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างภาวะโลกร้อน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมในอากาศ น้ำ และดิน ก็เป็นอีกปัญหาใหญ่ของเราทุกคนและโลกใบนี้เช่นกัน
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัทที่ดำเนินงานในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งเกษตรกรรม อาหาร การผลิตและบริการมากมาย ไปจนถึงการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งดำเนินกิจการทั้งในและต่างประเทศถึง 8 สายธุรกิจใน 21 ประเทศทั่วโลก โดยยึดมั่นในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน มีความเข้าใจและตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน
เป็นที่มาของเส้นทางสู่เป้าหมาย เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เริ่มต้นจากจัดทำแผนงานของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) สู่ Net Zero หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิภายในองค์กรเป็นศูนย์ภายในปี 2030 และขยายขอบเขตให้ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Scope 3) ภายในปี 2050 รวมถึงมีเป้าหมายระยะสั้น เช่น การขับเคลื่อนการปลูกต้นไม้ 20 ล้านต้นภายในปี 2025 เพื่อเพิ่มการดูดซับคาร์บอน
นอกจากนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังเข้าร่วมเป็นภาคีในข้อตกลงของสหประชาชาติ หรือ UN Global Compact (UNGC) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) ทั้ง 17 ข้อ ให้กลายเป็นจริง
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เน้นย้ำว่า องค์กรจะต้องดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการดูดซับกักเก็บคาร์บอนให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการสู่ความยั่งยืน มีตั้งแต่ส่งเสริมการปลูกและรักษาป่า ผืนดิน ไปจนถึงแหล่งน้ำ ทั้งบริษัทในเครือและภายนอก ลดการใช้พลาสติกและเพิ่มการรีไซเคิลพลาสติกให้มากขึ้น ลดปริมาณขยะอาหารจากทุกกิจกรรม นำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการขยะและของเสียต่าง ๆ และหยิบยกแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาใช้จัดการทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด ทั้งในการออกแบบสินค้าและบริการ ลดการสร้างของเสียตั้งแต่ต้นน้ำ รวมทั้งการนำของเสียกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
ด้านพลังงาน มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดหลากหลายรูปแบบ ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มสัดส่วนของไฟฟ้าพลังงานทดแทนรวมไปกับแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละภูมิภาค และเน้นการลงทุนในโครงการพลังงานไฟฟ้าสะอาด ที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนหรือมีการปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำมากขึ้น
ในด้านสิ่งแวดล้อม ทางองค์กรได้ขยายสัดส่วนการลงทุนเป็นมูลค่ากว่า 1,464 ล้านบาท ไปยังโครงการที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การเปลี่ยนขยะเป็นเชื้อเพลิง หรือแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม จนถึงการคิดค้นสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างวัสดุสร้างอาคารที่ระบายความร้อน หรือประหยัดพลังงาน อีกด้วย ที่สำคัญ ทั้งหมดนี้ถือเป็นการสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ทั้ง 4 ข้อ คือ ข้อ 7 พลังงานที่สะอาดและสามารถซื้อหาได้ (Affordable and Clean Energy) ข้อ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ข้อ 12 การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production) และ ข้อ 13 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)
ไม่น่าเชื่อว่า ผลการดำเนินการที่ผ่านมา องค์กรสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบล้านตัน และบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ หรือที่สามารถย่อยสลายได้ ก็สร้างผลดีกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับจากเป้าหมายสู่การเปลี่ยนแปลง จนได้รับเลือกเป็น 1 ใน 38 องค์กรทั่วโลกในระดับ LEAD จาก United Nations Global Compact จากสมาชิกทั่วโลกกว่า 18,000 องค์กร
นอกจากนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ Thailand Carbon Neutral Network (TCNN) รวบรวมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และภาคท้องถิ่น เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญ ยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเครือข่าย Carbon Markets Club ขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและใบรับรองสิทธิในการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบดิจิทัล มุ่งสู่คาร์บอนเป็นศูนย์อย่างแท้จริง
และนี่คือการแผนการเดินทาง Race to Zero ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ทั้งป้องกันและลดผลกระทบของวิกฤติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น พร้อมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสิ่งนี้เองจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไทย สู่ยุค Net Zero จนเกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งส่งผลดีต่อเราและโลกต่อไป