NGT x SaySci Ep.1 “อิมัลชัน ความลับในมายองเนส”

NGT x SaySci Ep.1 “อิมัลชัน ความลับในมายองเนส”

NGT x SaySci Ep.1 “อิมัลชัน ความลับในมายองเนส”

ในทางเคมีฟิสิกส์ อิมัลชันเป็นการผสมกันของของเหลวสองชนิดหรือมากกว่านั้น ซึ่งมีสารตัวใดตัวหนึ่งที่แตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ แล้วแทรกตัวอยู่ในสารอื่นๆ

อิมัลชันเกิดจากสารประกอบในสถานะของเหลว สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือส่วนใหญ่มักจะเกิดโดยอาศัยกลไกบางอย่างเช่น การตีให้เข้ากัน หรือการสั่นสะเทือน ส่งผลให้ของเหลวที่ผสมกันอยู่กลายเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ไม่ละลายเข้ากัน (หรือละลายน้อยมากๆ)

อิมัลชันที่มีความเสถียรมักจะพบโครงสร้างที่คล้ายแผ่นฟิล์มบริเวณพื้นผิว (เช่น โมเลกุลฟองสบู่) อิมัลชันที่ไม่เสถียรมักจะแยกตัวเป็นเป็นสองชั้นเห็นได้ชัดเจน อิมัลชันที่เสถียรสามารถทำให้เกิดการรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยการเติมสารที่เรียกว่า อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) หรือการให้ความเย็นและการให้ความร้อน อิมัลชันที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น น้ำนม (การกระจายตัวของไขมันในน้ำ) และเนย (การกระจายตัวของน้ำในไขมัน)

อิมัลชันมีความสำคัญในหลายด้าน เช่น ในอุตสาหกรรมการย้อมผ้าและฟอกหนัง การผลิตยางและพลาสติกสังเคราะห์ กระบวนนการเตรียมเครื่องสำอางต่างๆ อย่างแชมพู และการเตรียมยาทาแผล รวมถึงผลิตภัณฑ์เกื่ยวกับการรักษาโรค

 

อ่านเพิ่มเติม

แมกมากับลาวา ต่างกันอย่างไร? วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

Recommend