เอนไซม์ในอาหาร สามารถทำงานได้เหมือนกับเอนไซม์ที่พบในร่างกายเรา หรือไม่
เอนไซม์ เป็นสารชีวเคมีที่จำเป็นต่อร่างกายของเรา ช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยอาหาร เพื่อนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ในลำไส้และตับอ่อนของมนุษย์ สามารถผลิตเอนไซม์ได้หลากหลายชนิด และมีอาหารบางชนิดที่อุดมไปด้วยเอนไซม์ หรือบางครั้งก็มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (ข้อมูลเพิ่มเติม: มารู้จัก เอนไซม์ ผู้ช่วยในระบบต่างๆ ของร่างกายเรา) เอนไซม์ในอาหาร
อาหารบางประเภทมีปริมาณเอนไซม์สูง แต่เอนไซม์มักสลายไป เมื่อเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร ในขณะที่บางวัฒนธรรมการกินเชื่อว่า การรับประทานอาหารที่มีเอนไซม์สูงจะช่วยเรื่องการย่อยอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะยืนยันความเชื่อนี้ อาหารที่มีปริมาณเอนไซม์สูง อาจจะมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ และควรค่าแก่การบริโภคเป็นเครื่องเคียงอาหารจานหลัก เราลองมาดูว่ามีอะไรบ้าง
กิมจิ
พริกแดง กะหล่ำปลี และหัวไชเท้า ที่ผ่านการหมักดองตามวัฒนธรรมการปรุงอาหารของคนเกาหลี มีรสเปรี้ยวและเผ็ดเล็กน้อย นักวิจัยกล่าวว่า อาหารเคียงจานนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน แบคทีเรียที่อยู่ในกิมจิ ผลิตเอนไซม์ที่มีประโยชน์ อ้างอิงจากรายงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ลงวาสาร เทคโนโลยีชีวภาพนานาชาติ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2014 พบว่า ในกิมจิมีเอนไซม์ “เดกซ์แทรนซูเครส” ที่ผลิตจากแบคทีเรีย สามารถย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลซูโครสได้
แอปริคอต
ในแอปริคอตมีเอนไซม์อยู่หลากหลายชนิด เช่น อินเวอร์เวส ที่ช่วยย่อยน้ำตาลซูโครส ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เอนไซม์อินเวอร์เทส ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากกิจกกรมของเซลล์อีกด้วย
อะโวคาโด
อะโวคาโดเป็นแหล่งของเอนไซม์ไลเปส ซึ่งมีหน้าที่ในการย่อยไขมันในระบบทางเดินอาหาร แต่ในความเป็นจริง การย่อยไขมันในลำไส้เล็ก ใช้เอนไซม์ไลเปสที่ผลิตจากตับอ่อน ดังนั้น เอนไซม์ไลเปสที่ได้รับจากการบริโภคอาหาร อาจเป็นเพียงการส่งเสริมให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพราะทุกวันนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า เอนไซม์ไลเปสที่ได้จากอาหารจะให้ผลเช่นเดียวกับเอนไซม์ไลเปสที่ผลิตจากตับอ่อน
กล้วย
นอกจากเป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดีแล้ว กล้วยยังอุดมไปด้วยเอนไซม์อะไมเลส และมัลเทส เอนไซม์อะไมเลสพบในน้ำลายและลำไส้เล็กของมนุษย์ ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก เพื่อการดูดซึมที่ลำไส้ ส่วนมัลเทสเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลมัลโทสที่พบในพืชตระกูลมอล์ต น้ำเชื่อมข้าวโพด และเบียร์
สับปะรด
ในผลไม้สีเหลืองฉ่ำอย่างสับปะรด มีสารที่ชื่อว่า โบรมีเลน ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิดที่ช่วยย่อยโปรตีน จากงานวิจัยในวารสาร Cancer Letters ระบุว่า โบรมีเลนอาจช่วยป้องกันมะเร็ง และต้านการอักเสบ เมื่อทำการทดลองกับเกร็ดเลือดในห้องปฏิบัติการ พบว่า เกร็ดเลือดแยกตัวจากกัน นักวิจัยชี้ว่า โบรมีเลนมีผลต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจนำไปสู่การรักษาโรคหลอดเลือดอุดตันได้ แต่ยังต้องศึกษาเรื่องผลข้างเคียงต่อไป
(สูตรน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของสับปะรด: น้ำผักผลไม้ลดน้ำหนัก ทำเองง่ายๆ ช่วยหุ่นดี)
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : มารู้จัก เอนไซม์ ผู้ช่วยในระบบต่างๆ ของร่างกายเรา