ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (Planets of Solar System)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (Planets of Solar System)

ดาวอังคาร (Mars)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวอังคาร คือดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวที่ได้รับการสำรวจมากที่สุดและคาดการณ์ถึงการมีสิ่งมีชีวิต ดาวอังคารมีขนาดเล็ก และแรงโน้มถ่วงต่ำ ได้รับฉายาว่า “ดาวเคราะห์แดง” (Red Planet) เนื่องจากการออกซิเดชันของเหล็กบนพื้นผิวของดาวอังคาร ทำให้เกิดสีแดงหรือสีสนิมเหล็ก ชั้นบรรยากาศบนดาวอังคารประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ที่ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวของดาว  รวมถึงการมีแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ปกคลุมบริเวณขั้วเหนือและใต้ของดวงดาวอยู่ตลอดเวลา  สภาพอากาศบนดาวอังคารนั้นแปรปรวน สามารถเกิดกระแสลมแรงนานหลายเดือน มองเห็นเป็นแทบมืดมิดปกคลุมบนดาวอังคาร ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบัสและดีมอส

ดาวพฤหัส (Jupiter)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวพฤหัส เป็น ดาวเคราะห์ลำดับที่ห้าจากดวงอาทิตย์ มีมวลมากที่สุด ขนาดใหญ่ที่สุด และมีแรงดึงดูดสูงสุด รวมถึงใช้เวลาน้อยที่สุดในการโคจรรอบตัวเอง โดยใช้เวลาเพียง 10 ชั่วโมง ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัส ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นองค์ประกอบหลัก ปะปนไปด้วยมีเทน น้ำ และแอมโมเนีย ซึ่งส่งผลทำให้ดาวพฤหัส มีลักษณะป่องตรงเส้นศูนย์สูตร และมีความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศสูง มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ -130 องศาเซลเซียส ดาวพฤหัสมีพายุหมุนเป็นจุดสีแดงขนาดใหญ่ (Great Red Spot) ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างกว่า 25,000 กิโลเมตร เป็นพายุหมุนซึ่งมีอายุมากกว่า 300 ปี ดาวพฤหัส มีวงแหวนจางๆ 3 วง และมีดวงจันทร์บริวารมากกว่า 65 ดวง ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุด คือ แกนิมิต (Ganymede) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ

ดาวเสาร์ (Saturn)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่หกจากดวงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สองรองจากดาวพฤหัส มีองค์ประกอบหลัก คือ ก๊าซ และของเหลว มีชั้นบรรยากาศซึ่งปกคลุมด้วยไฮโดรเจน และฮีเลียม มีวงแหวนรอบนอกเจ็ดชั้นจากเศษหินและน้ำแข็ง มีดวงจันทร์บริวารมากกว่า 50 ดวง ซึ่งดวงที่ใหญ่ที่สุด คือ ไททัน ไททันมีชั้นบรรยากาศหนาแน่นกว่าโลก มีองค์ประกอบหลัก คือ มีเทนทั้งสามสถานะ บนไททันมีทั้งฝนมีเทน เมฆมีเทน และมีเทนแข็ง รวมถึงก๊าซไนโตรเจน ทำให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสนใจต่อไททันเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ดาวยูเรนัส (Uranus)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวยูเรนัส คือ ดาวเคราะห์ลำดับที่เจ็ดจากดวงอาทิตย์ ซึ่งมีไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นองค์ประกอบหลักในชั้นบรรยากาศ ลึกลงไปในดวงดาว องค์ประกอบส่วนใหญ่คือแอมโมเนียและมีเทนทำให้ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าน้ำเงิน เนื่องจากมีเทนดูดกลืนแสงสีแดงและสะท้อนแสงสีน้ำเงิน ดาวยูเรนัสหมุนตัวรอบตัวเองในลักษณะตะแคงข้าง ทำให้มีฤดูกาลที่ยาวนาน ดาวยูเรนัสใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 84 ปี มีวงแหวนเบาบาง 13 ชั้น มีดวงจันทร์บริวาร 27 ดวง

ดาวเนปจูน (Neptune)

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวเนปจูน เป็น ดาวเคราะห์ลำดับที่แปดจากดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างไกลที่สุด ได้รับแสงสว่างน้อยที่สุด มีลักษณะคล้ายดาวยูเรนัสทั้งขนาดและสีสัน มีไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน เป็นองค์ประกอบหลักของชั้นบรรยากาศด้านนอก ดาวเนปจูนใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานที่สุดถึง 165 ปี บนดาวเนปจูนมีกระแสลมแรงที่สุด ซึ่งสามารถมีความเร็วมากกว่า 2,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ -200 องศาเซลเซียส ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง และมีวงแหวน 6 วง

แหล่งอ้างอิง :

NASA

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศษสตร์โลกและดาราศาสตร์


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : องค์ประกอบของ ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ, จักรวาล, ดาราศาสตร์, ดาว, ดวงดาว

Recommend