สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ได้เชิญชวนประชาชนทั่วไปชมปรากฎการณ์ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี ในทางทิศตะวันตก ในวันที่ 1-3 มีนาคม 2566 ตั้งแต่ช่วงเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปจนถึงเวลา 20:00 น.
โดยผู้ที่สนใจชมปรากฏการณ์นี้สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่ายเนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองมีความสว่างโดดเด่นมากบนท้องฟ้าในช่วงหัวค่ำ
ปรากฏการณ์ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุมไม่เกิน 5 องศา ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี
ดังนั้น การที่ดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ
โดยวันที่ 1 มี.ค.2566 ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่เหนือดาวศุกร์ ห่างประมาณ 0.8 องศา
วันที่ 2 มี.ค.2566 ดาวศุกร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 0.6 องศา
วันที่ 3 มี.ค.2566 ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 1.4 องศา และค่อย ๆ ทำมุมห่างออกจากกันมากขึ้นหลังจากนี้
Photograph by NASA
ที่มา: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)
บทความที่เกี่ยวข้อง