รวมภาพ ” กาแล็กซี่ ” ความสวยงามแห่งจักรวาล ที่เราไม่อาจหยั่งถึง

รวมภาพ ” กาแล็กซี่ ” ความสวยงามแห่งจักรวาล ที่เราไม่อาจหยั่งถึง

รวมภาพ ” กาแล็กซี่ ” ความสวยงามแห่งจักรวาล ที่เราไม่อาจหยั่งถึง

กาแล็กซี่เป็นระบบของดาวที่เต็มไปด้วยฝุ่นอวกาศ แก๊ส สสารมืด (Dark Matter) และจำนวนของดวงดาวที่มีตั้งแต่ล้านดวงไปจนถึงล้านล้านดวงที่รวมตัวกันได้ด้วยแรงโน้มถ่วง คาดกันว่าบรรดากาแล็กซี่นาดใหญ่จะมีหลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole) อยู่ตรงจุดศูนย์กลาง
.
ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกซึ่งเป็นบ้านของเรา ดวงอาทิตย์เป็นเพียงหนึ่งในบรรดาดาวจำนวนราว 100,000 – 400,000 ล้านดาวที่หมุนรอบหลุมดำนี้มีชื่อว่า Sagittarius A* (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) หลุมดำมวลยิ่งยวดขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยมวลที่มีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ 4 ล้านดวง
.
ยิ่งเราค้นหาจักรวาลลึกซึ้งมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งพบกาแล็กซี่มากขึ้นเท่านั้น งานศึกษาเมื่อปี 2016 ประมาณการณ์ว่าจักรวาลที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ประกอบไปด้วย 2 ล้านล้านกาแล็กซี่ บางกาแล็กซี่อยู่ห่างออกไปก็มีลักษณะคล้ายกับช้างทางเผือกของเรา ในขณะที่บางกาแล็กซี่ก็ต่างออกไปล

เรื่อง MICHAEL GRESHKO

Messier 81, กาแล็กซี่
ภาพของกาแล็กซี่เมซิเยร์ 81 (Messier 81) หรือ M81 ที่อยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major constellation) M81 เป็นกาแล็กซี่ที่สว่างที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนโลกของเรา
กาแล็กซี่, เมฆแมเจลแลนใหญ่
เศษซากจากการระเบิดของดวงดาวหมุนวนรวมกันที่กาแล็กซี่เมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ในภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ห่างจากโลก 180,000 ปีแสง
กาแล็กซี่, NGC 1569
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเผยให้ความสว่างภายในของกาแล็กซี่ NGC 1569 หนึ่งในกาแล็กซี่ที่ยังเป็นแอคทีฟกาแล็กซี (Active Galaxy) หรือ ดาราจักรกัมมันตะ (กาแล็กซีที่มีนิวเคลียสเป็นแหล่งพลังงานสูงนับหมื่นเท่าเมื่อเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือก) ซึ่งอยู่ใกล้กับโลก
กาแล็กซี่,
ภาพอินฟราเรดของกาแล็กซี่เมซิเยร์ 82 (Messier 82) ที่มีชื่อเล่นว่า กาแล็กซี่ซิการ์ เผยให้เห็นการก่อตัวของตรงกลางกาแล็กซี่ที่มีสีฟ้าและสีขาว พร้อมกับรัศมีของฝุ่นควันสีแดง
กาแล็กซี่หนวดแมลง,
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเผยรายละเอียดที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของกลุ่มกาแล็กซี่หนวดแมลง (Antennae Galaxies) กลุ่มกาแล็กซี่ที่เกิดจากกลุ่มดาวที่รวมตัวกันเมื่อ 2 กาแล็กซี่เริ่มชนกันเมื่อราว 200 – 300 ล้านปีที่แล้ว
กาแล็กซี่, Messier 64
กาแล็กซี่เมซิเยร์ 64 (Messier 64) มีชื่อเล่นว่า ตาดำ หรือ ดวงตาปีศาจ (The Black Eye or Evil Eye) จากฝุ่นอวกาศที่ดูดซับแสงที่ปรากฎอยู่ด้านหน้าศูนย์กลางของมัน ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
NGC 1316, กาแล็กซี, กาแล็กซีรูปรีขนาดใหญ่
คลื่นฝุ่นคอสมิคขนานใหญ่หมุนวนโดยรอบ NGC 1316 ซึ่งเป็นกาแล็กซีรูปรีขนาดใหญ่ (Giant elliptical galaxy) ที่ก่อตัวขึ้นเมื่อราวหลายพันล้านที่แล้วเมื่อกาแล็กซี่ชนิดก้นหอย (Spiral Galaxy) รวมตัวกัน
กาแล็กซี่น้ำวน, กาแล็กซี่, NGC 5195
ภาพของกาแล็กซี่น้ำวน (Whirlpool galaxy) ที่ชื่อ NGC 5195 เผยให้เห็นถึงคุณสมบัติคลาสสิกของกาแล็กซี่ชนิดก้นหอย (Spiral Galaxy) ที่สร้างแขนด้านนอกเพื่อเป็นที่อยู่ของดาวเกิดใหม่ ส่วนแกนกลางตรงกลางสีเหลืองที่เป็นที่อยู่ของดาวที่อายุมากกว่า
Abell 2744
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจับภาพของดวงดาวที่เปล่งแสงอย่างอ่อนแรงในกาแล็กซี่โบราณ (ancient galaxies) ที่ถูกแรงโน้มถ่วงฉีกกระชากไปเมื่่อหลายพันล้านปีก่อน ในกระจุกดาราจักรขนาดยักษ์ที่ชื่อว่า Abell 2744 หรือชื่อเล่นว่า Pandora’s Cluster
กาแล็กซี่ทางช้างเผือก, ทางช้างเผือก, กาแล็กซี่
ภาพเมื่อปี 2008 นี้แสดงให้เห็นถึงภาพกาแล็กซี่ทางช้างเผือก บ้านของเราที่ปรับปรุงมุมมองขึ้นใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ของนาซา
ภาพของกาแล็กซี่ NGC 300 กาแล็กซี่ชนิดก้นหอยแบบเดียวกับกาแล็กซี่ทางช้างเผือกที่อยู่ห่างจากโลกราว 7 ล้านปีแสง
แอนดรอเมดา, กาแล็กซี่, Messier 31
กาแล็กซี่แอนดรอเมดา (Andromeda Galaxy) หรือ Messier 31 เป็นกาแล็กซี่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ใกล้กับกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเรา

อ่านเพิ่มเติม การค้นพบทางดาราศาสตร์: ดวงดาวบนฟ้ากำเนิดมาพร้อมกับกาแล็กซี

Recommend