วิทยาการพลิกโฉมหน้าไดโนเสาร์
วิทยาการและการค้นพบใหม่ๆ หักล้างความเข้าใจและภาพเก่าๆ ของเหล่าดาวเด่นแห่งโลกดึกดำบรรพ์อย่าง ไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์ ครอบครองภูมิทัศน์ทั่วโลกดึกดำบรรพ์อยู่นานถึง 150 ล้านปี และอยู่ในอาณาบริเวณ ที่ปัจจุบันคือทวีปทั้งเจ็ด ไดโนเสาร์นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงที่พวกมันครองพิภพ โดยปรับตัวจนมีขนาดและรูปร่างที่หลากหลาย สตีฟ บรูแซตตี นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ กับคนอื่นๆคาดการณ์ว่า นักวิทยาศาสตร์จำแนกชนิดพันธุ์ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้กว่า 1,100 ชนิด และนั่นเป็นแค่ ส่วนหนึ่งของชนิดพันธุ์ทั้งหมดที่เคยมีชีวิตอยู่ เพราะฟอสซิลเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมเพียงไม่กี่แบบเท่านั้น เรื่องราวของพวกมันดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนคาบสมุทร ยูกาตานของเม็กซิโกเมื่อ 66 ล้านปีก่อนและทำลายชีวิตบนโลกไปสามในสี่ ไดโนเสาร์กลุ่มหนึ่งอยู่รอดต่อมา นั่นคือกลุ่มสัตว์มีขนที่ปัจจุบันเราเรียกกันว่า นก วิทยาศาสตร์ในโลกตะวันตกเพิ่งศึกษาไดโนเสาร์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ทศวรรษ 1820 แต่สิ่งที่เรารู้เผยข้อมูลมากมายว่า สัตว์บกได้รับผลกระทบอย่างไรจากโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไดโนเสาร์ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ขณะที่ทวีปต่างๆแยกออกจากกันและกลับมารวมกันอีกครั้ง และแม้ขณะที่อุณหภูมิตลอดจนระดับทะเลเพิ่มขึ้นและลดลง การตอบสนองและการปรับตัวของ พวกมันสอนบทเรียนอะไรแก่เรา การบอกเล่าเรื่องราวมหากาพย์เช่นนั้นต้องใช้กระดูกไดโนเสาร์ จากทั่วโลก และนักบรรพชีวินวิทยาก็ส่งข้อมูลเข้ามาอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภูมิภาคหนึ่งที่จัดว่ารุ่มรวยที่สุดเมื่อพูดถึงการค้นพบฟอสซิลใหม่ๆคือแอฟริกาเหนือ คนที่เหงื่อโชกท่ามกลางอุณหภูมิ 41 องศาเซสเซียสในทะเลทรายสะฮาราของโมร็อกโกอาจนึกภาพไม่ออกว่า ที่นี่เคยอุดมไปด้วยทางน้ำ แต่นิซาร์ อิบรอฮีม นักสำรวจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก กับลูกทีม นักบรรพชีวินวิทยาหวนกลับมาที่ภูมิภาคนี้ปีแล้วปีเล่าเพื่อขุดหาไดโนเสาร์พิลึกที่สุดชนิดหนึ่งเท่าที่ เคยพบ นั่นคือปีศาจแม่น้ำชื่อ […]