ชาวประมงบนริมฝั่ง แม่น้ำโขง ที่จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ภาพถ่ายโดย SOE ZEYA TUN, REUTERS แม่น้ำโขง สายนี้หล่อเลี้ยงอารายธรรมมาเป็นเวลานับพันปี ขณะนี้กำลังแห้งแล้ง และไม่อาจทนกับการจู่โจมการจากการก่อสร้างเขื่อน การทำประมงเกินขนาด และการขุดทราย (sand mining) ได้อีกต่อไป กรุงพนมเปญ, กัมพูชา – เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้วที่บรรดาโลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin) ว่ายน้ำมาติดตาข่ายดักปลาของชาวประมงซึ่งถูกพบเห็นในแม่น้ำโขงที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เป็นจุดที่ห่างจากแหล่งอาศัยดั้งเดิมทางตอนเหนือของกัมพูชา นักอนุรักษ์ธรรมชาติต่างพยายามช่วยเหลือบรรดาสัตว์ที่กำลังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในแม่น้ำแห่งนี้แม้จะต้องแข่งกับเวลาที่กำลังหมดลง สำหรับชาวกัมพูชา โลมามีบทบาทในเชิงเปรียบเทียบตามความเชื่อ มันแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของลำน้ำโขง ชะตาชีวิตของปลาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสมดุลของธรรมชาติ แม่น้ำโขงก็เช่นกัน สัญญาณเหล่านี้กำลังแสดงให้เห็นว่า แม่น้ำที่ได้ชื่อว่ามีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกำลังอยู่ในภาวะที่บีบคั้นในระดับลุ่มแม่น้ำ เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่วิกฤตสิ่งแวดล้อมกำลังปรากฏขึ้นลางๆ ในเส้นทางน้ำที่มีความยาวกว่า 4,300 กิโลเมตร และไหลผ่านถึง 6 ประเทศ แม่น้ำโขงไม่อาจทนกับการจู่โจมการจากการก่อสร้างเขื่อน การทำประมงเกินขนาด และการขุดทรายได้อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในภาวะอ่อนแอ แม่น้ำสายนี้ก็ยังคงทรงพลังเนื่องจากมีผู้คนกว่า 60 ล้านคนที่ยังคงพึ่งพิงแม่น้ำสายนี้ในการหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ในปี 2019 […]