จาก หมาป่า สู่หมาบ้าน: กว่าจะมาเป็นเพื่อนรักแสนรู้ของมนุษย์

จาก หมาป่า สู่หมาบ้าน: กว่าจะมาเป็นเพื่อนรักแสนรู้ของมนุษย์

ชีวิต หมาป่า ราว 12,000 ปีก่อน ชนเผ่าหาของป่าล่าสัตว์ในดินแดนที่เป็นประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ฝังศพผู้ตายร่างหนึ่งโดยให้มือข้างหนึ่งโอบลูกสุนัขไว้ ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าเป็นสุนัขหรือสุนับป่ากันแน่ อย่างไรก็ตาม การฝังศพลักษณะนี้ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานฟอสซิลยุคแรกๆ ที่แสดงว่ามีการนำสุนัขมาเลี้ยง

เรื่อง  คาเรน อี. แลงจ์
ภาพถ่าย  โรเบิร์ต คลาร์ก
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนมกราคม 2545

ภาพถ่าย: ริชาร์ด โอลเซนิอัส

นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า มนุษย์เริ่มเลี้ยงสุนัขเมื่อประมาณ 14,000 ปีก่อน แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่า ทำไปเพราะเหตุใด บ้างสันนิษฐานว่า มนุษย์นำลูกสุนัขป่ามาเลี้ยงโดยเลือกเอาตัวที่ดุน้อยกว่าและอ้อนขออาหารเก่งกว่า บ้างเห็นว่า สุนัขเข้ามาอยู่กับมนุษย์เอง โดยปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ นั่นคือ การกินขยะที่มนุษย์ทิ้งไว้ สัตว์ในตระกูลสุนัขที่กินของเหลือและไม่ค่อยตื่นคนเหล่านี้คุ้นเคยกับวิถีชีวิตใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ และรุ่นต่อๆมาก็เชื่องขึ้นเป็นลำดับ เรย์มอนด์ คอปพิงเจอร์ นักชีววิทยา กล่าวว่า “คุณสมบัติเดียวที่ทำให้สุนัขอยู่รอดคือ สามารถกินอาหารขณะอยู่ใกล้ๆ คนได้”

ในระดับโมเลกุล สุนัขไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก องค์ประกอบทางดีเอ็นเอของสุนัขป่าและสุนัขบ้านเหมือนกันแทบทุกกระเบียดนิ้ว

ชนิดเดียว แต่มีนับร้อยหน้าตา

จากซ้าย: บุลแมสทิฟ; ปอเมอเรเนียน; โอลด์อิงลิชชีปด็อก, พุดเดิล (ไซซ์เล็ก)
เกรตเดนและชิวาว่า (ขนสั้น)
บุลด็อก; เกรย์ฮาวด์; โดเบอร์แมนพินเชอร์; ดัชชุนด์ (ขนยาว); ไซบีเรียนฮัสกี

ไม่มีสัตว์ชนิดใดมีความหลากหลายเท่าสุนัข แต่สุนัขทุกสายพันธุ์ก็มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน เพราะต่างก็มีต้นกำเนิดเดียวกัน ขณะที่สัตว์ตระกูลสุนัขยุคแรกๆ ปรับตัวเข้ากับชุมชนมนุษย์ พวกมันก็เริ่มวิวัฒน์จนมีนิสัยเชื่องขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาคุณสมบัติที่เกี่ยวโยงกับพันธุกรรมอีกมากมาย อันได้แก่ การฝึกได้ การกระดิกหาง และมีขนหลายสี เมื่อไม่ต้องล่าสัตว์ใหญ่เป็นอาหารอีกต่อไป กะโหลกและฟันของสุนัขจึงค่อยๆ วิวัฒน์จนมีขนาดเล็กกว่าของสุนัขป่า เมื่อเทียบกับสัดส่วนร่างกายทั้งหมด และเมื่อเปลี่ยนจากการกินเนื้อมาเป็นเศษอาหาร สมองจึงเล็กลง ทำให้ต้องการโปรตีนและแคลอรีที่ใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอน้อยลง ในที่สุดก็มีหน้าตาอย่างสุนัขพันทางขนาดกลาง และมักมีขนสีทอง พวกมันอาจคุ้ยหาเศษอาหารกินตามกองขยะในย่านชานเมือง จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว คาดว่าสุนัขรุ่นแรกๆ เป็นสายพันธุ์ที่มนุษย์ไม่ค่อยเข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก โดยเลือกเฟ้นและเลี้ยงสุนัขเพราะความสามารถมากกว่า เช่น ให้เฝ้าบ้านหรือล่าสัตว์ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมยังมีส่วนในการพัฒนาสายพันธุ์แรกๆ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในที่ซึ่งอากาศหนาวเย็น สุนัขที่มีขนาดใหญ่กว่า และมีขนดกหนาจะมีโอกาสอยู่รอดจนได้ออกลูกออกหลานมากกว่า เป็นเวลานับร้อยๆ ปีที่มนุษย์เริ่มนำสัตว์ที่มีคุณสมบัติน่าพอใจมาผสมข้ามพันธุ์ กลายเป็นพันธุ์ผสม ทำให้มีรูปร่างหลากหลายกว่าที่เห็นหรือที่รอดชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ

รูปประกอบและภาพจากซีทีสแกนแสดงทางกายวิภาคเผยว่า มีการพลิกแพลงทำให้โครงกระดูกสุนัขป่าเปลี่ยนไป โดยที่กระดูกทุกชิ้นยังอยู่ครบ ความหลากหลายส่วนใหญ่ของสุนัขเกิดขึ้นได้เพราะยีนที่มีผลกระทบต่อช่วงเวลาของพัฒนาการในระยะตัวอ่อน และระยะที่เป็นลูกสุนัขซึ่งจะเปลี่ยนรูปร่างของสุนัขในระยะสุดท้ายได้มาก

สุนัขต่างจากแมว ตรงที่หัวของลูกสุนัขไม่เพียงมีขนาดเล็กกว่า แต่ยังมีสัดส่วนต่างของหัวของสุนัขโตเต็มวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กะโหลกของบูลด็อกซึ่งมีใบหน้าส่วนบนหดสั้นเข้าไปและมีขากรรไกรยื่น เพราะส่วนจมูกเริ่มเติบโตทีหลังอย่างช้าๆ กะโหลกส่วนที่เหลือมีรูปร่างรับกับจมูกที่สั้น ในทางกลับกัน สุนัขพันธุ์บอร์ซอยมีส่วนปากและจมูกที่ยาวแหลม เพราะจมูกเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ การก่อตั้งชมรมผู้เพาะพันธุ์สุนัขเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 ช่วยเร่งกระบวนการคัดสุนัขแบบฝืนธรรมชาติ โดยสนับสนุนให้มีการเพาะพันธุ์ใหม่ๆขึ้น สายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1900 เป็นต้นมามักเป็นไปเพื่อรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น

สัตว์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ (ของมนุษย์)

กะโหลกบอลซอย
กะโหลกบูลด็อก

 

 

 

 

สุนัขป่าสีเทา
เกรตเดน

 

 

 

 

 

ดัชชุนด์
พอเมอเรเนียน

 

 

 

 

 

 

รูปประกอบโดย อาร์ต แอนเดอร์สัน และ ไคล เคนนี ซีทีสแกน โดย บรูโน ฟรอห์ลิค สถาบันสมิทโซเนียน

ที่มา : บอนนี เจ. สมิท วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์แห่งเวอร์จิเนีย-แมริแลนด์

Recommend