แม้จะมีหลักฐานมากมายว่า สัตว์เลี้ยง ช่วยบรรเทาความเหงาและส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายได้ดี แต่ประโยชน์บางด้านก็อาจถูกกล่าวเกินจริงไปบ้าง
“หลังจากสามีของฉันจากไป สุนัขของฉันคือสุนัขที่ไว้ใจได้มากที่สุดในชีวิตของฉัน ช่วยให้ฉันผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้” แชรอน เรด์ (Sharon Reid) หนึ่งในเจ้าของสัตว์เลี้ยงจากสหรัฐอเมริกาเล่าถึงประสบการณ์เกิดขึ้น
เป็นที่รู้กันดีว่า การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น สามารถทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจผู้อื่น และส่งเสริมมิตรภาพ-ความสัมพันธ์ของผู้คนได้ รวมถึง “สามารถปกป้องผู้คนจากการถูกทำร้ายด้วยความเหงา” ศาสตราจารย์ อลัน เบ็ค (Alan Beck) ผู้อำนวยการศูนย์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดู กล่าว
ประโยชน์เหล่านี้สอดคล้องกับการสำรวจของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันที่ระบุว่าร้อยละ 86 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงนั้นรู้สึกว่ามีผลดีต่อสุขภาพจิต และอีกร้อยละ 90 ถือว่าสัตว์เลี้ยงตัวนั้นเป็นสมาชิกของครอบครัว
ทว่าประโยชน์อื่น ๆ บางอย่างอาจไม่ได้มีหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์มากพออย่างที่สังคมเชื่อ
ในด้านประโยชน์ที่มากมาย – การวิจัยแสดงให้เห็นชัดเจนว่า การเล่นกับสุนัขช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ การอ่านหนังสือให้สัตว์เลี้ยงฟังก็สามารถช่วยเด็ก ๆ ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ได้ สัตว์เลี้ยงสามารถลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกี่ยวกับความเครียดในเจ้าของได้ และสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายได้เช่นกัน
ไม่เพียงเท่านั้น สัตว์เลี้ยงยังช่วยผู้ที่ต้องรับมือกับสภาวะทางจิตในแบบเฉพาะเจาะจงได้ด้วย มีการศึกษาหนึ่งจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกันได้ชี้ให้เห็นว่า สุนัขบำบัดช้วยลดอาการอย่าง ๆ อย่างโรคสมาธิสั้น (ADHD) ในเด็ก และการสัมผัสสัตว์ช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล อีกทั้งยังเพิ่มกิจกรรมทางสังคมให้กับเด็กออทิสติก
หรือจะเป็นการศึกษาในปี 2022 ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วย ‘โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ’ (PTSD) ก็ได้รับกำลังจากสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน ช่วยให้แยกตัวจากสังคมน้อยลง และยืดหยุ่นต่อความเครียดได้ดีขึ้น
แม้จะมีประโยชน์อย่างที่กล่าวมามากมาย แต่บางกรณีก็ยังไม่ชัดเจน
กล่าวเกินจริง – ฮัล เฮอร์ซ็อก (Hal Herzog) ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นแคโรไลนากล่าวว่า คนที่เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ทำให้มีความสุขมากกว่าคนไม่เลี้ยง โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ไม่มีงานวิจัยใดแสดงให้เห็นว่า “กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์มีความสุขมากกว่าคนที่ไม่ได้เลี้ยง”
ขณะที่ประโยชน์เกินจริงที่พบบ่อยที่สุดคือ การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้าทางคลินิก โดยกว่า 18 งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ‘ไม่มีความแตกต่าง’ ระหว่างคนที่เลี้ยงสัตว์และไม่เลี้ยง
“การเลี้ยงสัตว์ไม่ได้ใช่เครื่องทำนายอาการซึมเศร้าที่เชื่อถือได้” เมแกน มุลเลอร์ (Megan Mueller) รองศาสตราจารย์ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ กล่าว หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า การเลี้ยงสัตว์ไม่ได้ทำให้คนมีภาวะซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นทุกคน
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่นักวิชาการเห็นตรงกันว่า สิ่งสำคัญคือการจับคู่สัตว์เลี้ยงให้เหมาะสมกับเจ้าของแต่ละคน มุลเลอร์อธิบายว่า ให้เลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมทั้งเป็นรายตัวและสายพันธุ์เฉพาะจากประเภทกิจกรรมที่เราชอบทำ มีใครในบ้านอีกบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากสัตว์ตัวดังกล่าว ต้นทุน และความสามารถใช้การใช้จ่าย เป้าหมายและวัตถุประสงค์ รวมถึงระยะเวลาที่ต้องใช้กับสัตว์เลี้ยง
“ถ้าคุณรักการเดินป่า บางทีคุณอาจเหมาะกับสุนัขที่มีพลังงานสูง” (เช่น บอร์เดอร์ คอลลี่ บ็อกเซอร์ หรือแจ็ครัสเซลล์ เทอร์เรีย) เธอกล่าว “แต่ถ้าคุณชอบออกไปเที่ยวข้างนอกแล้ว โซฟากับสัตว์เลี้ยงของคุณ คุณอาจเหมากับสุนัขที่พลังงานต่ำ แมว หรือสัตว์เลี้ยงตัวเล็ก เช่น หนูตะเภา มากกว่า”
แต่จงจำไว้ว่า เมื่อคุณตัดสินใจรับสัตว์มาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดไหนก็ตาม เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ควรละทิ้งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น “เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง” แนนซี่ จี (Nancy Gee) ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ กล่าวว่า “คุณจะต้องใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงของคุณและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่คุณทั้งคู่ชอบ”
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา https://www.nationalgeographic.com/premium/article/benefits-pet-dog-ownership-mental-health