ค้นพบไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ในอียิปต์

ค้นพบไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ในอียิปต์

ฟอสซิลค้นพบไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ในอียิปต์

มองไปที่ฟอสซิลของไดโนเสาร์คอยาวสายพันธุ์ Mansourasaurus shaninae แม้มันไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นหรือเป็นที่น่าจดจำนัก แต่สายพันธุ์ใหม่ของเซอโรพอดนี้กำลังเป็นที่สนอกสนใจของบรรดานักบรรพชีวินวิทยา

ฟอสซิลนี้ถูกค้นพบในอียิปต์ และเป็นหนึ่งในไม่กี่ฟอสซิลไดโนเสาร์จากปลายยุคครีเตเชียส ที่ถูกพบในทวีปแอฟริกา มันมีอายุราว 80 – 66 ล้านปีก่อน หรือในช่วงเวลาสุดท้ายของยุคไดโนเสาร์ก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เมื่ออุกกาบาตตกลงยังคาบสมุทรของรัฐยูกาตัง ในเม็กซิโกปัจจุบัน

(รู้หรือไม่หากอุกกาบาตตกไปยังพื้นที่อื่น ไดโนเสาร์อาจไม่สูญพันธุ์)

ในแอฟริกา ฟอสซิลของไดโนเสาร์จากปลายยุคครีเตเชียสถูกพบไม่มากเท่าไหร่นัก รายงานจาก Matthew Lamanna ผู้ร่วมวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Carnegie นั่นหมายความว่านักวิทยาศาสตร์เอก็ยังไม่แน่ใจว่าในช่วงเวลานั้นไดโนเสาร์อพยเดินทางข้ามทวีปไปมาหรือไม่ ตลอดจนมีจำนวนไดโนเสาร์มากน้อยแค่ไหน

นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัย Mansoura ในอียิปต์ ค้นพบฟอสซิลของเจ้าไดโนเสาร์ยักษ์ Mansourasaurus ตัวนี้ในทะเลทรายซาฮารา เมื่อปี 2013 โดยเป็นการทำงานวิจัยร่วมกับทีมของ Lamanna ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก รายงานการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่นี้ถูกเผยแพร่ลงในวารสาร Nature Ecology and Evolution

“ยุคสิ้นสุดของไดโนเสาร์ในทวีปแอฟริกาเป็นหนึ่งในพรมแดนสุดท้ายสำหรับบรรดานักบรรพชีวินวิทยา” Lamanna กล่าว “หลักฐานเหล่านี้จะช่วยฉายภาพให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตในยุคครีเตเชียสที่อาศัยในทวีปแอฟริกานั้นมีรูปลักษณ์เป็นอย่างไร”

 

เชื่อมต่อแผ่นทวีป

ย้อนกลับไปในช่วงแรกที่ไดโนเสาร์ปรากฏตัวขึ้นบนโลก ในตอนนั้นแผ่นดินทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นทวีปเดียว จนต่อมาเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว ไดโนเสาร์หลายชนิดก็ถูกแยกออกจากกันโดยมีผืนมหาสมุทรขวางกั้น

นักบรรพชีวินวิทยาจึงตั้งทฤษฎีว่า สิ่งมีชีวิตในทวีปแอฟริกายุคครีเตเชียสน่าจะเหมือนกันกับสิ่งมีชีวิตในทวีปออสเตรเลียปัจจุบัน นั่นคือพวกมันถูกแบ่งแยกและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นเองอย่างโดดเด่น ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็แย้งว่าทวีปแอฟริกาไม่ได้โดดเดี่ยวเช่นออสเตรเลีย และยังคงสามารถติดต่อกับแผ่นดินเพื่อนบ้านได้

Eric Gorscak นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ Field ชี้ว่า เจ้าไดโนเสาร์ Mansourasaurus มีรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับซอโรพอดที่พบในยุโรปและเอเชีย นั่นหมายความว่าเจ้าไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในอียิปต์นี้ ไม่ได้วิวัฒนาการขึ้นอย่างโดดเดี่ยวแต่อย่างใด

การค้นพบครั้งนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ในยุคครีเตเชียสอีกด้วย รายงานจาก Michael Habib นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์แคลิฟอร์เนีย ผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้นพบนี้กล่าว

(วิวัฒนาการของไดโนเสาร์เต็มไปด้วยเรื่องน่าฉงน เช่น แขนจิ๋วๆ ของทีเร็กซ์นี้ที่เป็นปริศนาว่าเอาไว้ทำอะไรกันแน่)

ในช่วงสุดท้ายของยุคครีเตเชียส หน้าตาของทวีปนั้นมีลักษณะที่ค้ลายกับโลกใหม่ ในปัจจุบันของเรา เพียงแต่ว่าระดับน้ำทะเลนั้นสูงกว่า จึงทำให้เป็นการยากที่สัตว์ดึกดำบรรพ์จะเดินทางข้ามทวีปได้

บางทีไดโนเสาร์ Mansourasaurus อาจเดินทางท่องโลกผ่านสะพานเชื่อมทวีปที่เกิดขึ้นตาธรรมชาติ หรือว่ายน้ำข้ามในระยะทางสั้นๆ เพื่อเดินทางจากยุโรปมายังเอเชีย ประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน

ไดโนเสาร์ยักษ์
ภาพกราฟฟิกของไดโนเสาร์ Mansourasaurus shahinae บนชายหาดเมื่อ 80 ปีก่อน ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ทะเลทรายทางตะวันตกของอียิปต์
ภาพกราฟฟิกโดย Andrew Mcafee, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Carnegie

 

ต้องขุดให้ลึก

ส่วนหนึ่งที่ฟอสซิลไม่ค่อยถูกพบในแอฟริกานั้น เกี่ยวข้องกับโชคชะตาด้วย Habib กล่าวเสริม

“คุณต้องเลือกหินและตำแหน่งให้ถูกต้อง ในการจะหาฟอสซิล” เขากล่าวเสริม โครงสร้างสาธารณูปโภคที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลให้เป็นเรื่องยากที่จะตามหาฟอสซิลไดโนเสาร์ในทวีปนี้

ทั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Mansoura และทีมของ Lamanna เองจะยังคงขุดค้นหาฟอสซิลในอียิปต์ต่อไป “ความเข้าใจของเราที่มีต่อสัตว์ต่างๆ จะลึกซึ่งยิ่งขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า” เขาคาดการณ์ “แต่กว่าจะไปถึงเรายังมีหลายอย่างมากที่ต้องทำ”

เรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์

 

อ่านเพิ่มเติม

ไดโนเสาร์มีขนพันธุ์ใหม่ มีสี่ปีกแต่บินไม่ได้

Recommend