ภาพแสดงความเป็นอยู่แปลกๆ ของ หมีขั้วโลก ในกรงเลี้ยง
ช่วงฤดูหนาวอันโหดร้ายของปี 2014 ในชิคาโก Sheng Wen Lo ช่างภาพ ได้รับทราบข้อมูลว่า สภาพอากาศเช่นนี้หนาวเกินไปสำหรับ หมีขั้วโลก ในสวนสัตว์ลินคอล์นที่จะออกมาเดินข้างนอก มันดูเหมือนเป็นเรื่องตลกเฝื่อนๆ แต่มันคือเรื่องจริง หมีขั้วโลกที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีความทนทานต่ำกว่าหมีขั้วโลกที่อยู่ตามธรรมชาติ ชั้นผิวหนังของพวกมันบางกว่า และไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศหนาวจัดได้
Lo ใช้เวลาถ่ายภาพหมีขั้วโลกในกรงเลี้ยงมาเป็นเวลากว่าสามปี จากสวนสัตว์ 25 แห่งและสถานที่เพาะเลี้ยงต่างๆ ทั้งในจีนและยุโรป ภาพถ่ายชุด White Bear ของเขา เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของหมีขาว เพื่อแสดงให้เห็นถึงสวัสดิภาพของสัตว์ในถิ่นอาศัยที่มนุษย์สร้างขึ้น
เป็นความลำบากใจอยู่ไม่น้อยที่จะมองผลงานของ Lo ในแง่การต่อต้านการเลี้ยงหมีขั้วโลกในสวนสัตว์ ในทางกลับกัน หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่มีเอกลักษณ์ เปรียบเหมือนพระเอกในสวนสัตว์ เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว หมีขั้วโลกเป็นตัวแทนของความปัจเจกและระบบนิเวศอันไกลโพ้น และพวกมันก็ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ Lo พยายามปลุกเตือนด้วยคำถามที่ว่าสัตว์ชนิดใดที่เหมาะและไม่เหมาะจะอยู่ในสวนสัตว์
Lo ก้าวเข้ามาสู่เรื่องสัตว์ในกรงเลี้ยงด้วยวิธีการเดียวกับที่เข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสาขาที่เขาใช้จบปริญญาโท แต่ก่อนที่เขาเริ่มถ่ายภาพแรก เขาได้ปรึกษากับสัตวแพทย์ท่านหนึ่ง ถึงการอ่านพฤติกรรมของหมีขั้วโลก (เช่น การเดินไปมาแสดงถึงความเครียดของสัตว์เสมอไปหรือไม่) หลังจากนั้น ขณะที่เขาถ่ายภาพไปเรื่อยๆ เขาได้เชิญนักสัตววิทยาเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในงานของเขา เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของหมีขั้วโลกที่แสดงออกในกรงเลี้ยง
แต่ช่างภาพชาวไต้หวันคนนี้เล่าว่า “ผมชอบที่จะทำความเข้าใจว่าผมเกี่ยวข้องกับสัตว์อย่างไร” Lo กล่าว “ชีวิตผมล้อมรอบด้วยสัตว์นานาชนิดในสิ่งแวดล้อม… ผมมองเห็นสัตว์ ผมบริโภคเนื้อสัตว์ ผมดื่มนมวัว สรรพสัตว์ล้วนแต่เชื่อมโยงมาถึงผม และผมรู้สึกว่า ยังมีเรื่องราวซ่อนเร้นอยู่ในสัตว์ที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย”
การอ่านเรื่องสั้นของ Franz Kafka เรื่อง “A Report of an Academy” ถือเป็นการจุดความสร้างสรรค์ในจิตส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ของ Lo ให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ และการเพาะเลี้ยง เรื่องของ Kafka เล่าเกี่ยวกับเอปในกรงเลี้ยงที่พยายามสอนตัวเองเป็นมนุษย์แทนที่จะหนีไป โดยการสำรวจสิ่งต่างๆ ในกรง ทั้งที่อยู่ของมนุษย์รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกลักษณ์ การแสดงออก และความกลมกลืน จากวรรณกรรมข้างต้น ทำให้ Lo เกิดสงสัยว่า จะเป็นอย่างไรถ้าเขาสำรวจพฤติกรรมซับซ้อนเหล่านั้นผ่านภาพถ่าย
บ่ายวันหนึ่งในปี 2011 ณ สวนสัตว์ Bronx นิวยอร์ก Lo ตัดสินใจได้ว่าจะสำรวจพฤติกรรมสัตว์ชนิดใด ในส่วนจัดแสดงหมีขั้วโลก สายตาของเขาจ้องอยู่ที่สิ่งปลูกสร้างสีขาวคล้ายหิมะ สีที่ทาไว้หลุดลอกเป็นบางจุด เผยให้เห็นคอนกรีตข้างใน Lo ฉุกคิดถึงการสร้างถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างจะมีผลอะไร ถ้าหมีขั้วโลกไม่เคยเห็นภูเขาน้ำแข็งหรือหิมะจริงๆ เลยสักครั้ง สิ่งนี้มีไว้เพื่อหมีหรือเพื่อผู้ชม
Lo ไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่ตั้งคำถามในวันนั้น ผู้ชมท่านหนึ่งข้างๆ เขาก็ตั้งคำถามออกมาอย่างเสียงดังเกี่ยวกับหมีขั้วโลกที่ชื่อ ทุนดรา สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของหมีขั้วโลกในอาร์กติก ซึ่งความแปลกที่แปลกทางนี้ ส่งผลให้หมีที่อยู่ในกรงแลดูเหงาเศร้า
ด้วยแรงจูงใจนี้ Lo จึงเริ่มถ่ายภาพหมีขั้วโลกในปี 2014 เขาใช้เวลาแรมเดือนที่สวนสัตว์ในยุโรป และเดือนต่อๆ มาในประเทศจีน เขาจำกัดเวลาเพียงสองวันต่อการถ่ายหมีขั้วโลกหนึ่งตัว และใช้เวลาช่วงที่สวนสัตว์เปิดให้บริการ นั่งอยู่หน้าส่วนจัดแสดงหมีขั้วโลกเพื่อเฝ้าดูพฤติกรรม เขาเล่าว่า เขาทานเฉพาะขนมปังกับแอปเปิ้ลในระหว่างการทำงาน ซึ่งเป็นโภชนาการสำหรับหมีขั้วโลก แต่สำหรับเขาเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย
Lo สังเกตเห็นพฤติกรรมที่ทั้งชวนขันและแปลกตา ในเมืองปักกิ่งวันที่อากาศร้อน เขาบันทึกภาพหมีขั้วโลกเพศเมียส่งเสียงร้องโหยหวย “หมีไม่ชอบความร้อนครับ” เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าทำไมหมีขั้วโลกจึงเหมาะกับสภาพอากาศหนาว ในสวนน้ำ Qujian Polar เมืองซีอาน ประเทศจีน หมีขั้วโลกอยู่ในกรงที่มีเนินดินร่วนๆ อยู่ภายใน ซึ่งเสี่ยงต่อการพังทลายมาก “มันทำให้ผมงงมากเลยครับ” Lo บอก ใน Wuhan Haichang Polar Ocean World หมีขั้วโลกที่จัดแสดงไม่ใช่หมีขั้วโลกสายพันธุ์แท้ แต่เกิดจากการผสมของหมีสีน้ำตาลและหมีขั้วโลก
หลังจากใช้เวลาเนิ่นนานกับสถานที่ปิดเป็นเวลา 10 ถึง 20 วันในสวนสัตว์ หรือบางครั้งใช้เวลาจนมืดค่ำ เขาพบว่าสภาพที่ต้องอยู่ในกรงเลี้ยงส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิต “ถ้ามีสักสองหรือสามวันที่ผมไม่ได้อยู่ในสวนสัตว์ ผมจะรู้สึกแปลกมากครับ”
ผลงานชุด “White Bear” จัดแสดงที่ Deda Gallery เมืองเดอร์บี ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึง 8 พฤษภาคม 2017 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพถ่าย FORMAT และจัดแสดงอีกครั้งในงาน Fotofeatival เมืองนาร์เดน ประเทศเนเธอแลนด์ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2017
เรื่อง ซาราห์ สเตกค์
อ่านเพิ่มเติม