วิถีชีวิตของชนเผ่าที่เปลี่ยนไปเพราะเขื่อน

วิถีชีวิตของชนเผ่าที่เปลี่ยนไปเพราะเขื่อน

วิถีชีวิตของชนเผ่าที่เปลี่ยนไปเพราะเขื่อน

พื้นที่ในหุบเขาโอโม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย เป็นบ้านของผู้คนจำนวน 200,000 คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตลอดริมแม่น้ำโอโม่ที่คดเคี้ยวเป็นระยะทาง 500 ไมล์ ผ่านที่ราบสูงไปสู่ทะเลสาบเทอร์คานา ในชายแดนเคนยา ทะเลสาบทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ภูมิภาคนี้เป็นพรมแดนสุดท้ายของแอฟริกาที่ยังไม่ถูกรุกรานโดยการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป ที่ซึ่งภาพลักษณ์ของชนเผ่าผู้แต่งแต้มสีทั่วตัวมาพร้อมกับพิธีกรรมสยองขวัญ ปัจจุบันกลับกลายเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสประสบการณ์ความเป็นแอฟริกา ซึ่งหาไม่ได้ในทวีปอื่น

ในปี 2008 โครงการก่อสร้างเขื่อนกิเกลกีเบ 3 เริ่มต้นขึ้น และเปลี่ยนชีวิตของเกษตรกร ฟาร์มปศุสัตว์และชาวประมงที่แต่เดิมพึ่งพาการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำโอโม่สำหรับการหาเลี้ยงชีพ ปัจจุบันพวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหารและความทันสมัยที่รัฐบาลมอบให้นี้กำลังคุกคามดินแดนของบรรดาชนเผ่า

เขื่อนมีความสูง 800 ฟุต (240 เมตร) และเป็นเขื่อนที่มีความสูงมากที่สุดในทวีปแอฟริกา โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ได้จากเขื่อนช่วยเพิ่มปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าของเอธิโอเปียขึ้นเป็น 2 เท่า เขื่อนเริ่มเปิดใช้งานจริงเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2015 การมีเขื่อนช่วยชะลอการไหลของแม่น้ำโอโม่ลง และยุติน้ำท่วมที่ปกติเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้งซึ่งส่งผลให้เกิดดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ เมื่อภัยแล้งเกิดขึ้นฝูงวัวถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน เพื่อหาทุ่งเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมแทน ด้านผลการเกษตรท้องถิ่นเองก็ลดลงในช่วงยากลำบากนี้

ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นกับฤดูฝนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง เขื่อนยังส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในทะเลสาบเทอร์นาคา และกระทบต่อการทำประมงท้องถิ่น

(รับชมค่านิยมความงามที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของชาวอะปาตานี)

เมื่อเขื่อนถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว รัฐบาลเอธิโอเปียเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่ของชนเผ่าเพื่อให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลและฝ้าย โรงงานผลิตน้ำตาล 4 แห่งมีกำหนดการเริ่มผลิตน้ำตาลจริงในปีนี้ ในขณะที่บางชนเผ่ามีแผนจะย้ายถิ่นฐาน

เจ้าของโรงงานเหล่านี้จ้างคนในหมู่บ้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะคนงานส่วนใหญ่เดินทางมาจากนอกหุบเขา ฟาอุสโต โปดาวินี ช่างภาพผู้อาศัยอยู่ในกรุงโรม ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอด 5 ปีที่ผ่านมาไว้ ในช่วงปี 2011 – 2016

โดย ลอร่า ปาร์คเกอร์

ช่างภาพ ฟาอุสโต โปดาวินี

ชนเผ่า
กลุ่มชายชาว Hamar พาฝูงวัวไปยังทุ่งเลี้ยงสัตว์ ใกล้หมู่บ้าน Turni ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน Karo ที่ดินบางส่วนของพวกเขาถูกเตรียมไว้สำหรับการทำไร่
ชนเผ่า
เด็กจากชนเผ่า Dassanech นั่งอยู่ริมแม่น้ำโอโม่ รอยแผลเป็นที่ไหล่เป็นวัฒนธรรมของชนเผ่าเมื่อเด็กถึงช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ รอยแผลเหล่านี้เกิดขึ้นจากการถูขี้เถ้าเข้าไปในแผลเปิด และจำนวนของมันยังบ่งชี้ถึงจำนวนของสัตว์ที่คนๆ นั้นล่ามาได้
ชนเผ่า
ชายชาว Hamar รวบรวมฟืนที่ใช้ปรุงอาหารและให้แสงสว่างหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว แม้จะตั้งอยู่ใกล้กับเขื่อนกีเบ 3 ก็ตาม แต่หลายหมู่บ้านยังคงขาดแคลนไฟฟ้า ในปี 2016
ชนเผ่า
ความภาคภูมิใจของชาวเอธิโอเปีย เขื่อนกีเบ 3 เปิดใช้งานในปี 2015 และเป็นหนึ่งในเขื่อนที่ตั้งอยู่ตามแนวแม่น้ำโอโม่ รัฐบาลมีแผนสร้างเขื่อนกีเบ 4 เพิ่มอีก ประกาศในปี 2016
ชนเผ่า
คนงานก่อสร้างกำลังทำงานภายในอุโมงค์ของเขื่อน เขื่อนกีเบ 3 มีมูลค่าในการสร้าง 1.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐและเป็นหนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ที่สุดของแอฟริกา
ชนเผ่า
หน่วยงานคาธอลิกเข้ามาติดตั้งแผงโซล่าเซลส์เพื่อผลิตไฟฟ้าให้แก่หมู่บ้าน Omorate ที่ตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนเคนยา
ชนเผ่า
หญิงชนเผ่า Borana กำลังร้องเพลง งานตักน้ำเป็นงานของชุมชน ที่ชายราว 50 คนจะผลัดกันส่งถังน้ำจากย่อไปยังหมู่บ้าน
ชนเผ่า
เด็กชายอุ้มน้อยหน่าไว้ในมือระหว่างเดินเท้ากลับหมู่บ้าน วิวทิวทัศน์ด้านหลังเผยให้เห็นเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ส่งกระแสไฟฟ้าข้ามหุบเขา
ชนเผ่า
เด็กชายโยนก้อนหินลงไปในทะเลสาบเทียมที่เกิดขึ้นจากเขื่อนกีเบ 3 หากมีน้ำเต็มเขื่อน ทะเลสาบแห่งนี้จะมีความยาว 150 กิโลเมตร และมีความกว้าง 211 ตารางกิโลเมตร

 

อ่านเพิ่มเติม

การต่อสู้ของชนเผ่าแอมะซอนเพื่อความอยู่รอดของชาติพันธุ์

Recommend