หมูอาจเป็นคำตอบของ การปลูกถ่ายอวัยวะ ต่างสปีชีส์

หมูอาจเป็นคำตอบของ การปลูกถ่ายอวัยวะ ต่างสปีชีส์

 การปลูกถ่ายอวัยวะ ต่างสปีชีส์นั้นอาจจะเป็นทางเลือกอีกทางของการปลูกถ่ายอวัยวะในมนุษย์ จากการรายงานของผลการทดลองล่าสุด

ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนประชากรชาวสหรัฐฯ ทั้งหมดกว่าร้อยละ 54 ที่ลงทะเบียนบริจาคอวัยวะ แต่ก็มีเพียงแค่ 1 ใน 3 ของประชากรในจำนวนนั้น ที่ผ่านเกณฑ์ หรือเสียชีวิตแล้วสภาพอวัยวะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ นั้นทำให้ผู้ป่วยทั้งหมดกว่า 100,000 รายยังคงต้องต่อคิวรอ การปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนที่จะได้รับ การปลูกถ่ายเสียอีก

มีตัวเลือกอื่นอีกไหม

โดยความต้องการของการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะนั้น มีจำนวนมากกว่าคนที่บริจาคมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าก็ยังคงเป็นเช่นนี้ไปอีกนาน ทำให้นักวิจัยต้องเบี่ยงเข็มไปที่ การปลูกถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์ (Xenotransplantation) แต่ว่าการทำเช่นนี้นั้นก็มีความเสี่ยงอยู่มาก และอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ในขณะการผ่าตัด ทำให้การกระทำเช่นนี้นั้นยังไม่เป็นที่นิยม และยอมรับมากนัก แต่การค้นพบครั้งนี้อาจทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะ นั้น เป็นเรื่องง่าย อีกทั้งยังไม่ต้องรบกวนผู้บริจาคอวัยวะอีกด้วย

แล้วจะใช้หัวใจสัตว์ชนิดไหน

ถึงแม้ว่าถ้ามองในเรื่องของการวิวัฒนาการนั้น ลิงแทบจะเปรียบเสมือนกับเป็นญาติสายเลือดเดียวกันของมนุษย์นั้น และสามารถเป็นตัวแทนของมนุษย์ได้แทบจะไร้ที่ติ แต่ทว่าการนำหัวใจของลิง มาปลูกถ่ายใส่ไว้ในตัวของมนุษย์นั้น ก็ยังเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่ต่อไป นั้นก็เป็นเพราะ การปลูกถ่ายอวัยวะจากลิงมาสู้ตัวมนุษย์นั้น อาจจะทำให้มนุษย์ที่ได้รับอวัยวะนั้นติดเชื้อได้ และเสียชีวิตได้ อีกทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์พวกนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก

การปลูกถ่ายอวัยวะ, การปลูกถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์, ลิงบาบูน
ลิงบาบูนนั้นสามารถเป็นตัวแทนของมนุษย์ในการทดลองปลูกถ่ายอวัยวะได้อย่างไร้ที่ติ

แต่ก็ยังมีสัตว์อีกหนึ่งชนิด ที่มนุษย์เราเพาะเลี้ยงกันเป็นประจำ และในจำนวนที่มาก อยู่แล้วอย่างหมู โดยหมูนั้นเป็นหนึ่งในสัตว์ที่สามารถปรับเปลี่ยนพันธุกรรมได้ง่าย และระบบการทำงานของอวัยวะนั้นก็มีความใกล้เคียงกับของมนุษย์อีกด้วย โดยนักวิจัยได้มองการปลูกถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์นั้น ให้เป็นตัวแทนของการปลูกถ่ายอวัยวะโดยมนุษย์ด้วยกันเอง แต่ร้อยละกว่า 60 ในการทดลองปลูกถ่ายหัวใจจากหมูสู่ลิงบาบูนนั้น ได้จบลงที่ลิงบาบูนใช้ชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 2 วัน

การทดลองครั้งนี้กับความหวังใหม่

การทดลองปลูกถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์ของ ดร. บรูโน ไรต์ชาท หัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ ของมหาวิทยาลัยมิวนิค ประเทศเยอรมัน สามารถทำให้สัตว์ที่ใช้ในการทดลองนั้น มีชีวิตอยู่ได้ยาวนานกว่าการทดลองครั้งอื่น ๆ ที่เคยมีมา โดยการทดลองครั้งนี้ใช้หัวใจของหมู เปลี่ยนถ่ายให้เข้าไปอยู่ในลิงบาบูน ซี่งโดยปกติ การปลูกถ่ายอวัยวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว การเปลี่ยนถ่ายหัวใจ เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะล้มเหลว เพราะการเต้นของหัวใจมีอัตราพุ่งขึ้นสูงขึ้นเกินกว่าปกติ จนทำให้หัวใจวายไปในที่สุด

การปลูกถ่ายอวัยวะ, การปลูกถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์
ดร. บรูโน่ ไรต์ชาทเป็นหมอคนแรกของเยอรมันที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายหัวใจให้คนไข้สำเร็จ

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การปลูกถ่ายอวัยวะต่างสปีชีส์อย่างต่อเนื่องกันมาถึง 25 ปีแล้ว แต่ 57 วันคือระยะเวลาที่นานที่สุดที่ลิงบาบูนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้หลังจากเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมาใช้หัวใจของหมูเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้ก็แสดงเห็นแล้วว่าการจะยืดระยะเวลาในการอยู่รอดนั้น มีความเป็นไปได้ โดยการแก้วิธีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ และการใช้เทคโนโลยีปรับแต่งยีนส์เอา โดยการทดลองครั้งนี้ สัตว์ที่ใช้ในการทดลองอย่าง ลิงบาบูน สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ถึง 6 เดือน

***แปลและเรียบเรียงโดย รชตะ ปิวาวัฒนพานิช
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย


บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : มารู้จักกับ งาช้าง และ ช้างเริ่มปรับตัวกันกับการล่าเอางาได้แล้ว

 

Recommend