มองโกเลีย ประเทศที่กลายมาเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์รากเหง้าของชนพื้นเมืองของโลกได้อย่างไร?

มองโกเลีย ประเทศที่กลายมาเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์รากเหง้าของชนพื้นเมืองของโลกได้อย่างไร?

ไขที่มาด้านการอนุรักษ์ของชาวมองโกล ประเทศซึ่งเคยยิ่งใหญ่ในอดีตในยุคของ เจงกิสข่าน หรือชื่อเดิมคือ เตมูจิน และทายาทของเขาสามารถบุกตะลุยพิชิตกว่าครึ่งโลก ตั้งแต่เอเชียไปจนถึงยุโรป จนถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งนักรบผู้ยิ่งใหญ่

มองโกเลีย ประเทศขนาดกลางในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน สร้างความสนใจให้กับคนทั่วโลกจากชุดยูนิฟอร์มสุดสวยในกีฬาโอลิมปิก 2024 ที่ปารีส จนกลายมาเป็น Soft power อันทรงพลัง แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ บรรดาลูกหลาน เจงกิสข่าน ใช้วิธีไหนในการรักษาเอกลักษณ์ของ วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา อาหาร เครื่องแต่งกาย เอาไว้ได้อย่างแข็งแรง

ทั้งนี้ ผู้เฒ่าชาวมองโกเลียให้เครดิตชนพื้นเมืองที่ให้ความสำคัญเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติซึ่งรากฐานในการปกป้องดินแดนรวมถึงรากเหง้าของพวกเอาไว้ ไม่ให้ถูกกลืนหายไปจนเกือบหมดเหมือนชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ อย่าง อินเดียนแดง อินคา อะบอริจิน หรือ เมารี เป็นต้น

จากจักรวรรดิมองโกล อดีตอันเรืองรองสู่เขตปกครองตนเองแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน

อดีตที่ผ่านมา ในยุคหนึ่งชาวมองโกลก่อนที่จะลดขนาดเหลือเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ พวกเขาเคยยิ่งใหญ่มากในยุคของ เจงกิสข่าน หรือชื่อเดิมคือ เตมูจิน และทายาทของเขาสามารถบุกตะลุยพิชิตกว่าครึ่งโลก ตั้งแต่เอเชียไปจนถึงยุโรป จนถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ชนเผ่าที่ขี่ม้ารวมถึงยิงธนูเก่งที่สุดในโลก ก่อนจะค่อยๆ เสื่อมสลายลงตามยุคสมัย

นอกจากนี้ ชาวมองโกลยังเป็นที่มาของคำเรียกชื่อ คนเชื้อสายมองโกลอยด์ (การผสมคำระหว่างคำว่า มองโกล  กับ ออยเดส หรือ อิเดส ในภาษากรีกโบราณ) อย่าง มองโกลอยด์เหนือ ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ ชาวทิเบต ชาวจีน ชาวญี่ปุ่น และชาวเกาหลี และ มองโกลอยด์ใต้ คือประชากรที่อยู่ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ ชาวไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งชนกลุ่มน้อยแถบภูเขาในประทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของเอเชียตะวันออก

ทว่าปัจจุบัน สถานะของพวกเขาคือ เขตปกครองตนเองของสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มชาติพันธุ์มองโกลในเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ของภูมิภาคเอเชียเหนือและประเทศมองโกเลีย  โดยปี ค.ศ.1911 คือจุดเริ่มต้นที่มองโกเลียเข้ามาในอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศจีน และ ปี ค.ศ.1952 มีการสถาปนาเมืองฮูเหอเฮ่าเท่อ หรือ ฮูฮอต (Hohhot) เป็นเมืองหลวงแห่งแรก เขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้กำหนดให้ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันระลึกถึงชนชาติมองโกเลีย

อย่างไรก็ตาม เขตปกครองตนเองมองโกเลียก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1947 โดยรวมมณฑลของสาธารณรัฐจีนในอดีต คือ มณฑลซุยหย่วน มณฑลชาร์ฮาร์ มณฑลเร่อเหอ มณฑลเหลียวเป่ย์ และมณฑลซิงอาน รวมถึงส่วนเหนือของมณฑลกานซู่ และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ซึ่งเขตการปกครองตนเองมองโกเลียในนับเป็นเขตแรกของจีนที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตปกครองตนเอง ก่อนจะมีการย้ายเมืองหลวงมาเป็น อูลานบาตอร์

พื้นที่ของมองโกเลียในใหญ่เป็นอันดับที่ 3 เมื่อเทียบกับทุกๆ เขตปกครองระดับมณฑลของจีน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,183,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 12% ของพื้นที่พื้นดินทั้งหมดของจีน ส่วนภาษาทางการที่ใช้ เป็น ภาษาจีนกลาง และ ภาษามองโกเลีย โดยตัวอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย คือ อักษรมองโกเลียดั้งเดิม แต่ในประเทศมองโกเลียจะใช้อักษรซีริลลิกมองโกเลียในการเขียน

วิถีชีวิตแบบเร่ร่อนยังคงปฏิบัติอยู่ในพื้นที่ชนบทของประเทศในปัจจุบัน คนเร่ร่อนทำตามกิจวัตรประจำวันตามฤดูกาลเลี้ยงและผสมพันธุ์สัตว์เลี้ยง 5 ประเภทหลัก คือ แพะ แก ะวัว (รวมทั้งจามรี) อูฐและม้าโดยอพยพจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามทุ่งหญ้าและสถานที่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด

มรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น

ในฤดูใบไม้ร่วง บาซาร์ โลโซล คนเลี้ยงสัตว์ชาวมองโกเลียนำผู้เฒ่ากลุ่มเล็กๆ เดินทางผ่านเทือกเขาอัลไต ทิวทัศน์โดยรอบเต็มไปด้วยหน้าผาหิน งู นก ดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ ซึ่งทุกสิ่งได้รับความเคารพจากชาวมองโกลในฐานะผู้ส่งสารเชื่อมโยงมนุษย์กับสวรรค์ โลก และ ยมโลก ความงามของพื้นที่ Bayan-Undur คือ ภูเขาสูงอันอุดมสมบูรณ์ที่สร้างความตราตรึงให้กับนักเดินทางทั่วโลก

บาซาร์ โลโซล สวมเสื้อคลุมที่เป็นชุดพื้นเมืองที่มีลวดลายที่สลับซับซ้อนและแวววาวสีน้ำเงินเข้ม ท่าทางอันสง่างามของเขาและความเคารพอย่างสุดซึ้งต่อโลก พวกพขาเชื่อมโยง มนุษย์ ธรรมชาติ และวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน จากการทำงานอย่างหนักของกลุ่มชนพื้นเมืองจนมีการกำหนดให้ เมือง Bayan-Undur เมืองใหญ่อันอับ 2 ของ มองโกเลีย เป็นพื้นที่อนุรักษ์ เนื่องมีโบราณสถานและวัฒนธรรมที่สมบูรณ์

งานการอนุรักษ์ของประเทศมองโกเลียถือว่าก้าวหน้ากว่าชาติอื่นๆ 3 ทศวรรษที่แล้ว หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน มองโกเลียกลับคืนสู่รากเหง้าของชนพื้นเมืองและนำแผนบุกเบิกเพื่อปกป้องที่ดินของตนเอง พวกเขาได้รับการสนับสนุนความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ รวมถึงองค์การด้านเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ IMF World Bank และ ADB ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตั้งเป้ารักษาผืนดินและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูณ์ 30% ภายในปี 2030

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชาวมองโกเลียจากรุ่นสู่รุ่นช่วยกันขยายพื้นที่คุ้มครองด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมมากขึ้นทุกปี พวกเขามีแหล่งมรดกโลกทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติมากถึง 6 แห่งคือ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาออร์ค็อง , กลุ่มภาพบนแผ่นหินแห่งเทือกเขาอัลไตในมองโกเลีย , ภูเขาใหญ่บูร์คันคัลดุนและภูมิทัศน์ศักดิ์สิทธิ์โดยรอบ , โบราณสถานหินกวางและแหล่งยุคสำริดที่เกี่ยวข้อง , แอ่งน้ำอุฟส์นูร์

(ร่วมกับรัสเซีย) และ ภูมิทัศน์แห่งดาอูเรีย (ร่วมกับรัสเซีย) ซึ่งในอนาคตต้องการที่จะเพิ่มให้ถึง 11 แห่ง ทำให้มองโกเลียอยู่ในหมู่ผู้นำด้านการอนุรักษ์ของโลก

แม้ว่าพลังและกระแสแห่งโลกาภิวัตน์จะส่งผลกระทบต่อมองโกเลียไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ พวกเขาต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว ไม่ว่าจะเป็น การขุดแร่ การทำเหมือง และการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย แต่ชาวมองโกเลียก็ยังมั่นคงต่อวิถีบรรพบุรุษ ชาวมองโกลยอมรับคุณค่าดั้งเดิมของการตอบแทนซึ่งกันและกัน การเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ และการเคารพต่อทุกชีวิต ชนเผ่าพื้นเมืองรวมตัวกันอย่างแข็งขัน ทำให้ทุนนิยมที่เข้ามาไม่รุนแรงเท่าพื้นที่อื่นๆ ในโลก

ดินแดนแห่งเสือดาวหิมะ

บาซาร์ เจ้าภาพและมัคคุเทศก์ชาวมองโกล ดำรงตำแหน่งที่ได้รับความเคารพนับถือภายในสภาผู้สูงอายุของสหภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางจิตวิญญาณแห่งชนพื้นเมืองโลก ซึ่งเป็นพันธมิตรของผู้มีความรู้แบบดั้งเดิมที่ทำงานร่วมกันกับชุมชนในการปกป้องผืนดินเก่าแก่ สมาชิก WUISP กลุ่มเล็กๆ กำลังออกเดินทางแสวงบุญไปยังดินแดนแห่งเสือดาวหิมะ ภูเขาอันสวยงามในมองโกเลียยังคงถูกใช้เพื่อการรวมตัวกันเพื่อประกอบพิธีอุทิศเกียรติสูงสุดของกลุ่ม WUISP

ผู้เฒ่าในกลุ่มเลือกประติมากรรมหยกที่ตั้งชื่อว่า น้ำตาของเสือดาวหิมะ เพื่อมอบแสดงความขอบคุณต่อ ร็อดนีย์ แจ็คสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเสือดาวหิมะสัตว์สวยงามที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่ง ร็อดนีย์ อุทิศเวลากว่า 40 ปีในการทำงานศึกษาเสือดาวหิมะและศึกษาระบบนิเวศเพื่องานอนุรักษ์ ร่วมกับชุมชนและชนเผ่าพื้นเมืองใน 12 ประเทศที่มีเสือดาวหิมะอาศัยอยู่ รวมถึงในมองโกเลียด้วย

ขณะที่ Kiliii Yüyan ช่างภาพที่ร่วมขบวนแสวงบุญ จับภาพความงามอันลึกซึ้งและความสำคัญทางจิตวิญญาณของการเดินทาง แม้ว่าชุมชนบางแห่งจะซ่อนแนวคิดปฏิบัติอันศักดิ์สิทธิ์บางอย่างไว้ แต่ชนพื้นเมืองก็เปิดกว้างและการแบ่งปันพิธีกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเชื่อมโยงของมนุษยชาติกับธรรมชาติและส่งเสริมมุมมองใหม่ๆ กับคนต่างถิ่นมากขึ้น

พิธีกรรมทางจิตวิญญาณ และการเดินทางแสวงบุญ

บูยา ผู้นำในพิธีกรรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์ วิญญาณ และธรรมชาติ แม้ว่านักมานุษยวิทยาจะใช้คำว่า หมอผี ในการเรียกขนานคนกลุ่มนี้ แต่ในวัฒนธรรมมองโกเลีย ระบบความเชื่อดั้งเดิมจะเรียกผู้นำพิธีว่า Boo murgel ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสารกับวิญญาณ ธรรมชาติและบรรพบุรุษ เพื่อขอคำแนะนำต่างๆ รวมถึงการรักษาร่างกาย ซึ่ง Boo murgel ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ของชาวมองโกเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนเร่ร่อน ที่ยังคงเอกลักษณ์ในการสร้างบ้านแบบ เกอร์ (Ger) มีรูปทรงกลม โดยเอาไม้มาสานเป็นโครงแล้วนำหนังสัตว์มาคลุม ภายในเกอร์มีข้าวของเครื่องใช้เท่าที่จำเป็น สะท้อนความเรียบง่ายของชาวมองโกเลีย

ชาวมองโกลบูชาท้องฟ้าสีฟ้า หรือ ฟ้านิรันดร์ (Ethernal sky) ในฐานะเทพสูงสุดและพระแม่ธรณีในฐานะแหล่งกำเนิดของชีวิต แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆ แต่คนมองโกเลียเชื่อว่าไม่มีพระเจ้า พวกเขาต้องการเพียงอาศัยอยู่ใต้ฟ้ากว้าง และ ผืนดินอุดมสมบูณ์

ในส่วนของ บูยา วัย 39 ปีเป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้สูงอายุของ WUISP ได้นำการเดินทางของไปยังใจกลางอาณาเขตของเสือดาวหิมะ เพื่อขอพรที่จำเป็นสำหรับหยกชิ้นเล็กที่จะมอบเป็นของขวัญให้ชาวต่างชาติ เมื่อถนนสิ้นสุด พวกเขาต้องเดินเท้าและขี่ม้าต่อไป อุปสรรคสุดท้ายก่อนถึงที่ทำพิธีคือ ที่ราบสูงชัน ตณะต้องตั้งค่ายพักแรม ก่อนถึงยอดเขาน้ำแข็ง หนึ่งใน 12 ภูเขาที่รัฐมองโกเลียบูชา ซึ่งประธานาธิบดีจะจัดพิธีพิเศษสักการะทุกๆ 4 ปี

ท่ามกลางภูมิทัศน์อันน่าเกรงขาม บูยา ได้เปิดพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการอัญเชิญเทพประจำท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์แห่งภูเขาให้มาประทานพร ชาวคณะร่วมกันอธิษฐานให้ทุกชีวิตอยู่ดีมีสุข เสียงสวดภาวนาของชาวมองโกลลอยไปในอากาศ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อพระแม่ธรณี และแสวงหาความเมตตาจาก เทพเท็งกรี เทพแห่งท้องฟ้านิรันดร์

พิธีกรรมคือการอนุรักษ์ นี่คือจุดประสงค์และพลังของพวกเขา พิธีของ บูยา สร้างความสุขให้ทุกคนในคณะ จุดนี้แสดงให้เห็นถึงความจริงข้อว่า การโอบรับภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างชนพื้นเมืองกับคนต่างถิ่น สามารถปกป้องรากเหง้าและอนาคตที่มีร่วมกันของมนุษยชาติได้

 

เรื่องโดย Erjen Khamaganova เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน ปี 2024

ภาพจาก Kiliii Yüyan

แปลและเรียบเรียงโดย สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

 

ที่มา https://www.nationalgeographic.com/


อ่านเพิ่มเติม : อารยธรรมโรมัน จักรวรรดิศักดิ์สิทธิ์ที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจของโลก

 

Recommend