เซลล์ประสาทและพื้นผิวทำงานอย่างไร เมื่อ ‘หมึกสาย’ ต้องพรางตัวอย่างแนบเนียน

เซลล์ประสาทและพื้นผิวทำงานอย่างไร เมื่อ ‘หมึกสาย’ ต้องพรางตัวอย่างแนบเนียน

ไขมายากลพรางกายของหมึกสายที่ซับซ้อน และคำถามที่ว่าหมึกสายฉลาดไหม?

“ในบรรดาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง หมึกสายเป็นสัตว์ที่ดูจะคล้ายเรามากที่สุด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิธีที่มันสบตากับคุณ ราวกับมันกำลังพินิจพิเคราะห์คุณ (การสบตาทำให้มันแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวนมากด้วย เช่น ปลาส่วนใหญ่จะไม่จ้องมองคุณ)…”

โอลิเวีย จัดสัน เขียนในสารคดี “นักมายากลแปดหนวด” ใน National Geographic ถึงหมึกสายหรือหมึกยักษ์ ที่เปลี่ยนรูปร่างและสีสันได้ตามต้องการ พ่นหมึก แทรกตัวหายไปในรอยแยกเล็กๆ และลิ้มรสด้วยปุ่มดูด แล้วเหตุใดมันจึงชวนให้เรานึกถึงตัวเราเอง

ความคล่องแคล่วทางกายภาพ หนวดทั้งแปดเส้นของหมึกสายมีปุ่มดูดนับร้อยปุ่มเรียงเป็นแถว ซึ่งช่วยให้มันจัดการวัตถุต่าง ๆ  ได ความคล่องแคล่วนี้ทำให้มันแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างโลมา ซึ่งแม้จะฉลาดมาก แต่ก็ถูกจำกัดด้วยลักษณะทางกายวิภาค

องค์ประกอบหลัก 3 ประการของการพรางตัว

1. สี หมึกสายสร้างสีด้วยระบบเซลล์สร้างสี และเซลล์สะท้อนแสง สารสีบรรจุอยู่ในถุงเล็กๆ นับพันถุงในผิวหนังชั้นบนสุด เมื่อถุงปิด พวกมันจะดูเหมือนจุดด่างเล็กๆ และเมื่อจะแสดงสี หมึกสายจะหดกล้ามเนื้อรอบถุง เป็นการดึงให้ถุงเปิดและเผยสีออกมา มันสามารถสร้างลวดลาย เช่น ลายแถบ ลายทาง หรือลายจุดได้ทันที ขึ้นอยู่กับว่าเปิดหรือปิดถุงชุดไหน

2. พื้นผิวของผิวหนัง ของการพรางตัวคือ  หมึกสายสามารถเปลี่ยนผิวหนังจากเรียบเป็นขรุขระ โดยการหดกล้ามเนื้อพิเศษ ผลที่ได้อาจสุดโต่ง อย่างหมึกสายสาหร่าย สามารถทำให้เกิดโครงสร้างเป็นเส้นๆ ขึ้นชั่วคราว ช่วยให้มันเหมือนสาหร่ายจริงๆ

3. การแสดงท่าทาง วิธีที่หมึกสายแสดงท่าทางของตัวเอง ทำให้มันเด่นชัดมากขึ้นหรือน้อยลงได้ ตัวอย่างเช่น หมึกสายบางชนิดจะพองตัวให้เหมือนก้อนปะการัง และใช้หนวดแค่สองเส้นคืบคลานช้าๆ ไปตามก้นทะเล (อย่า อย่า อย่ามองฉัน ฉันเป็นแค่ก้อนหิน…)

หมึกสายควบคุม 3 องค์ประกอบนี้โดยสมองที่สั่งการพรางกายราวกับใช้ผิวหนังสร้างภาพ 3 มิติของวัตถุรอบตัว ด้วยเซลล์ประสาทที่ประมวลผลผ่านการบัญชาการของสำนักงานงานใหญ่ (สมอง) เครือข่ายส่วนภูมิภาค (หนวด) และสำนักงานท้องถิ่น (ปุ่มดูด) ระบบประสาทของหมึกสายไม่เพียงประมวลผลข้อมูลในสมอง แต่ยังรวมถึงทั่วหนวดทั้ง 8 เส้นและปุ่มดูดที่เรียงบนหนวดด้วย

สำนักงานใหญ่ (สมอง)

สมองของหมึกสายประกอบด้วยเซลล์ประสาท 1 ใน 3 มีหน้าที่ดูแลการจัดการข้อมูลขั้นสูงต่างๆ เช่น การตัดสินใจ การเรียนรู้ และความจำ ตลอดจนประสานงานการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน

เครือข่ายส่วนภูมิภาค (หนวด)

เซลล์ประสาทส่วนใหญ่ของหมึกสายอยู่ในหนวด หนวดแต่ละเส้นมีศูนย์ควบคุมที่เชื่อมต่อกันเรียกว่า ปมประสาท (Ganglion) ซึ่งถ่ายทอดข้อมูลสู่สมอง และยังควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ เช่น ยืดหรือบิดหนวด

หมึกสายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เกือบทันทีทันใด สมองส่งสัญญาณให้ยุกปุ่มที่ผิวซึ่งมีลักษณะเหมือนหัวนมให้นูนขึ้น ทำให้ผิวจากเรียบๆ กลายเป็นขรุขระ ขยายเครือข่ายสีรงคพาหะ (Chromatopheore) สารสีบรรจุอยู่ในถุงเล็กๆ นับพันถุงในผิวหนังชั้นบนสุด เมื่อถุงปิด พวกมันจะดูเหมือนจุดด่างเล็กๆ และเมื่อจะแสดงสี หมึกสายจะหดกล้ามเนื้อรอบถุง เป็นการดึงให้ถุงเปิดและเผยสีออกมา มันสามารถสร้างลวดลาย เช่น ลายแถบ ลายทาง หรือลายจุดได้ทันที ขึ้นอยู่กับว่าเปิดหรือปิดถุงชุดไหน การทำงานร่วมกันระหว่าง 2 องค์ประกอบทำให้สีและพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป

หมึกสายและเครือญาติมีจำนวนเซลล์ประสาทมากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ อย่างมาก และทำให้สัตว์ฟันแทะ กบ และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ อีกมากมายต้องอับอาย

หมึกสายเก่งเรื่องนี้เพราะอะไร ?

คำตอบสั้นๆ คือวิวัฒนาการตลอดช่วงเวลาหลายสิบล้านปี หมึกสายตัวที่เก่งเรื่องการพรางตัว มีโอกาสหลบเลี่ยงสัตว์นักล่า และออกลูกหลานได้มากกว่าสัตว์มากมาย หมึกสายเปรียบเหมือนอาหารอันโอชะสำหรับนักล่า ไม่ว่าปลาไหล โลมา กั้ง นกกาน้ำ ปลาหลากหลายชนิด และแม้แต่หมึกสายต่างชนิดก็ล้วนโปรดปรานการกินหมึกสาย เนื่องจากหมึกสายไม่มีกระดูก สัตว์นักล่าจึงกินมันได้ทั้งตัว “สัตว์เหล่านี้เป็นก้อนเนื้อล้วนๆ ซึ่งเคลื่อนที่ไปมา พวกมันคือเนื้อสันดีๆ นี่เองครับ” มาร์ก นอร์แมน ผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์วิกตอเรีย เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย กล่าวไว้

หมึกสายมีระบบประสาทอันซับซ้อนแน่ๆ แต่มันฉลาดจริงหรือ การประเมินความฉลาดของสัตว์เป็นเรื่องยากเสมอ สิ่งบ่งชี้ความฉลาดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ความสามารถในการใช้เครื่องมือทำสิ่งต่างๆ มักไม่สัมพันธ์กับหมึกสาย เพราะทั้งตัวมันเป็นเครื่องมืออยู่แล้ว ไม่ต้องใช้เครื่องเพื่ออ้าฝาหอยนางรม มันก็แค่มุดเข้าไป

อย่างไรก็ตาม การทดลองที่เริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 แสดงว่าหมึกสายส่วนใหญ่เก่งเรื่องการเรียนรู้และความจำ อันเป็นคุณสมบัติ 2 ประกายที่เชื่อมโยงเข้ากับความฉลาด ที่จริง บริเวณหนึ่งในสอมงของหมึกสายคือกลีบสมองแนวตั้ง ทำหน้าที่ในงานนี้ หมึกสายต่างชนิดมีการจัดเรียงสมองแตกต่างกันบ้าง และเนื่องจากมีการศึกษาเพียงไม่กี่ชนิด จึงไม่มีใครทราบว่าหนึกสายทุกชนิดมีพรสวรรค์เท่ากันหนือไม่ รอย คอลด์เวลล์ นักวิจัยหมึกสายจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ บอกว่า “บางชนิดที่ผมมีในห้องปฏิบัติการดูทึ่มๆ เหมือนขนมปังปิ้งเลยครับ”

แต่บางทีไม่ว่ามันจะฉลาดหรือทึ่ม ไม่ว่ามันครุ่นคิดถึงปรัชญาหรืออาหารเที่ยง หรือไม่คิดอะไรเลย ก็มีความสำคัญน้อยกว่าความจริงที่ว่ามันทั้งน่าพิศวงทุกแง่มุมและมีเสน่ห์ยิ่งนัก

 

เรื่อง: โอลิเวีย จัดสัน

ภาพประกอบกายวิภาค: แฟร์นันโด จี. บัปติสตา, ชิซึกะ อะโอะกิ; เมซา ชูมาเกอร์

อ่านเพิ่มเติม

หมึกวงสายฟ้า หนึ่งในหมึกที่มีพิษร้ายแรงที่สุด

Recommend