มาชม เทศกาลโอบง ประเพณีของญี่ปุ่นกันเถอะ

มาชม เทศกาลโอบง ประเพณีของญี่ปุ่นกันเถอะ

มาชม เทศกาลโอบง ประเพณีของญี่ปุ่นกันเถอะ

ทุกช่วงฤดูร้อน หมู่บ้านชาวประมงอันเงียบเหงาของฮิเมะชิมะจะมีการต้อนรับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้กลับมาที่บ้าน  สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว เทศกาลโอบง ประจำปีมีความสำคัญในฐานะเทศกาลต้อนรับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้กลับมาสู่โลกมนุษย์อีกครั้ง  ความเชื่อเกี่ยวกับความผูกพันระหว่างคนที่มีชีวิตอยู่กับคนที่เสียชีวิตไปแล้วมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าการเฉลิมฉลองนี้มีพื้นฐานมาจากพระสูตรอุลัมพนสูตร (Urabon-kyō) ในศาสนาพุทธ

จากในพระไตรปิฎก หนึ่งในสาวกของพระพุทธเจ้าไปพบแม่ของเขาอยู่ในดินแดนของปีศาจหิวโหยในที่ที่วิญญาณต่างๆ ทุกข์ทรมานจากความหิวและความกระหายที่ไม่รู้จักพอในชีวิตหลังความตาย เมื่อเขาเอาชามข้าวไปหาแม่ของเขา มันก็กลายเป็นเปลวไฟ พระพุทธเจ้าจึงสอนกับเขาให้นำอาหารและเครื่องดื่มไปให้พ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และไปตักบาตรให้พระสงฆ์ในวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู และความเคารพ รวมถึงปลดปล่อยพวกเขาออกจากความทุกข์ระทม

เทศกาลโอบง
เด็กแต่งตัวเป็นคิซึเนะ หรือปีศาจสุนัขจิ้งจอกไปหาเพื่อนที่บ้านระหว่างเทศกาลโอบง คิซึเนะเป็นอีกตัวละครหนึ่งที่โด่งดังในความเชื่อของคนญี่ปุ่น ที่ลือกันว่ามีพลังวิเศษและสามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้
เทศกาลโอบง
เด็กหญิงทาสีหน้าแต่งเป็นท่านหญิงชิสุกะ ซึ่งเป็นหนึ่งในนางรำชิราเบียวชิที่โด่งดังที่สุดในญี่ปุ่นช่วงศตวรรษที่ 12
เทศกาลโอบง
ฮิเมะชิมะ มีความหมายว่า เกาะเจ้าหญิง ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆห่างจากชายฝั่งเกาะคิวชูในจังหวัดโออิตะ
เทศกาลโอบง
ผู้หญิงคนหนึ่งสวดมนต์ในสถานที่เก็บศพทางศาสนาพุทธในศาลากลางจังหวัดโออิตะในช่วงหลังจากเทศกาลโอบง

ความจริงในทางหลักการ หลายครอบครัวทั่วทั้งญี่ปุ่นได้กลับมาที่บ้านเกิดของตนช่วงวันที่ 13 ถึง 15 สิงหาคม (บางภูมิภาคก็ประมาณเดือนกรกฎาคม) เพื่อจะทำพิธีกรรมและ การเฉลิมฉลอง ซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และปลดปล่อยวิญญาณต่างๆ ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก

เทศกาลโอบงมีการเฉลิมฉลอง 3 วัน เริ่มมีการจัดขึ้นกันตามประเพณีด้วยมุคาเอะบิ (ไฟอวยพร) เป็นการจุดไฟต้อนรับดวงวิญญาณกลับเข้าบ้าน ซึ่งการเฉลิมฉลองในแต่ละที่จะมีลักษณะหลากหลายและแตกต่างกันออกไป ครอบครัวส่วนใหญ่จะจัดเตรียมผลไม้และดอกไม้รวมถึงจุดธูปบูชาให้กับบรรพบุรุษของตนและวิญญาณอื่นที่ยังไม่ไปสู่สุขติ นอกจากนี้ก็ยังการประกอบพิธีกรรมอื่นๆอีกด้วย เช่นโอฮาคามาอิริ ซึ่งเป็นการทำความสะอาดและตกแต่งหลุมศพของบรรพบุรุษ มีการสวดมนต์ที่วัด และจัดเตรียมอาหารมื้อพิเศษ

(ประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซียก็มีเทศกาลเเห่งความตายเหมือนกันนะ) 

เทศกาลโอบง
เด็กๆ แต่งเป็นตัวละครดังอย่าง คิซึเนะ (ปีศาจสุนัขจิ้งจอก) เกอิชา และทานุกิตามประเพณีความเชื่อญี่ปุ่น ในช่วงเทศกาลโอบง

นอกจากนี้ในบางที่ยังมีการจัดงานบง โอโดริ ซึ่งเป็นการเต้นตามประเพณีในชุมชนนั้นๆ เสมือนเป็นการเลี้ยงฉลองต้อนรับดวงวิญญาณบรรพบุรุษให้เกิดความครื้นเครงเมื่อได้กลับมาที่บ้านของตน ถือได้ว่าเป็นประเพณีที่ได้รับความนิยมสูง ท่าเต้นเป็นท่าง่ายๆ ทุกคนจึงสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้ แม้ไม่มีทักษะการเต้นใดๆ คนที่เต้นจะแต่งตัวทาสีเป็นตัวละครดังตามวัฒนธรรมความเชื่อของญี่ปุ่น และตั้งแถวเป็นวงกลมรอบเวทีซึ่งจะมีนักดนตรีและคนตีกลองไทโกะทำเสียงดนตรีประกอบการแสดงอีกด้วย คืนสุดท้ายของเทศกาลโอบงจะมีการจุดไฟเป็นรูปอักษรภาพขนาดใหญ่และมีการลอยโคมไฟขึ้นเพื่อส่งวิญญาณให้กลับสู่ภพหน้า

บันทึกเก่าแก่ที่สุดระบุว่า การจัดเทศกาลโอบงมีขึ้นในยุคอาซุกะ ต่อมามีแนวโน้มว่าเริ่มเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 12 พร้อมกับการเติบโตและการเผยแผ่ศาสนาพุทธ ปัจจุบันนี้ ยังคงมีการจัดเทศกาลโอบงตามชุมชนคนญี่ปุ่นทั่วโลก

เรื่องโดย กุลนาซ ข่าน

ภาพถ่ายโดย เอมิลิโอ เอสเปเจล

เทศกาลโอบง
เด็กๆ ทาสีแต่งตัวเป็นชาวประมงตามประเพณีความเชื่อญี่ปุ่น
เทศกาลโอบง
เด็กๆแต่งเป็นชาวประมงออกไปเล่นข้างนอกระหว่างเทศกาลโอบงช่วงฤดูร้อน
เทศกาลโอบง
กลุ่มคนที่แต่งกายเป็นคิซึเนะเต้นตามเสียงกลองในการแสดงการเต้นของงานเทศกาลโอบง ปกติแล้วผู้คนจะรวมตัวกันเพื่อร้องรำทำเพลงตามแบบฉบับของประเพณีโอบงในการเฉลิมฉลองการต้อนรับดวงวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้าน
เทศกาลโอบง
เด็กหญิงแต่งกายเป็นเกอิชายืนเข้าแถวในช่วงก่อนที่จะจัดแสดงการเต้นของเทศกาลโอบงบนเกาะฮิเมะชิมะ
เทศกาลโอบง
คนที่แสดงการเต้นในงานแต่งตัวเป็นชาวประมงในระหว่างเทศกาลโอบงช่วงฤดูร้อน

 

 

อ่านเพิ่มเติม

จาก ตรุษจีน ถึง เช็งเม้ง : แนวคิดชีวิตหลังความตายของชาวจีน

Recommend