ถือศีลอด ทำไม เดือนรอมฎอน จึงถือเป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในวัฒนธรรมอิสลาม การเห็นดวงจันทร์เสี้ยวใหม่ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของเดือนในการระลึกถึงความกตัญญู และไตร่ตรองตนเอง
ในช่วงเวลานี้ของทุกปี ชาวมุสลิมทั่วโลกต่างเฝ้ามองดวงจันทร์เสี้ยวครั้งใหม่ในเดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งหมายถึงการเป็นวันแรกของ เดือนรอมฎอน อย่างเป็นทางการ และเป็นช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวอิสลาม
ที่จริงแล้วการเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างในแต่ละปี เนื่องจากปฏิทินอิสลามทางจันทรคติซึ่งเป็นไปตามช่วงเวลาข้างขึ้นข้างแรม
โดยเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้นหลังจากเสี้ยวแรกของดวงจันทร์ในเดือนที่เก้าดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่เรื่องนี้ค่อนข้างยุ่งยากเนื่องจาก พระจันทร์เสี้ยวนั้นจางมากและมองเห็นได้เพียงประมาณ 20 นาทีเท่านั้น ไม่เพียงเท่านั้น ปรากฎการณ์ทางธรรมชาตินี้ยังมองเห็นได้ยากและอาจถูกบดบังด้วยหมอกควันหรือเมฆ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการคำนวณทางจันทรคติเพื่อทำนายว่าดวงจันทร์จะอยู่เป็นอย่างไรบนท้องฟ้า ไปพร้อมๆ กับการเฝ้าดูดวงจันทร์ โดยในปี 2024 นี้เดือนรอมฎอนได้เริ่มขึ้นในประเทศไทย 12 มีนาคม
ต้นกำเนิดของ เดือนรอมฎอน
ชื่อของเดือนนั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับว่า ar-ramad ซึ่งหมายถึงความร้อนที่แผดเผา โดยเริ่มต้นจากความเชื่อของชาวมุสลิมในปีค.ศ. 610 ที่ว่าทูตสวรรค์ได้ปรากฏต่อศาสดามูฮัมมัด และได้เปิดเผยคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของศาสนาอิสลามแก่เขา
การเปิดเผยนั้นชาวมุสลิมถือกันว่าเป็น ‘คืนแห่งอำนาจ’ หรือ Laylat Al Qadar ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอม ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถือศีลอดในเดือนนั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์นี้
“การถือศีลอดเป็นเกราะป้องกัน ดังนั้นผู้ที่ถือศีลอดควรหลีกเลี่ยงการพูดคำหยาบและพฤติกรรมที่โง่เขลา หากผู้ใดข่มเหงเขาหรือทะเลาะกับเข้า เขาก็ควรตอบด้วยการกล่าวว่า ‘ฉันกำลังถือศีลอด, ฉันกำลังถือศีลอด’” เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ (Saheeh Al-Bukhari) กล่าว
รอมฏอนสังเกตอย่างไร
ในช่วงรอมฎอนนั้น ชาวมุสลิมนั้นมีเป้าหมายในการเติบโตทางจิตวิญญาณและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับพระเจ้า ด้วยการสวดภาวนาและอ่านอัลกุรอาน กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความตั้งใจและไม่เห็นแก่ตัว รวมถึงละเว้นจากการนินทา การโกหก และการต่อสู้ต่าง ๆ
ชาวมุสลิมทุกคนต้องถือศีลอดตั้งแต่ช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือน ยกเว้นผู้ป่วย สตรีที่ตั้งครรภ์ การเดินทาง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประจำเดือน สำหรับวันที่พลาดการถือศีลอดสามารถชดเชยได้ในตลอดทั้งปีที่เหลือ โดยใช้ทั้งหมดในคราวเดียวหรือแยกกันในแต่ละวันก็ได้เช่นกัน
เมื่อถึงมื้ออาหารก็เป็นโอกาสที่ชาวมุสลิมจะรวมตัวกับคนอื่น ๆ ในชุมชนที่เหลือและละศีลอดด้วยกัน โดยมื้ออาหารจะถูกเรียกว่า suhoor ซึ่งแยกเป็นมื้อเช้าก่อนรุ่งสางซึ่งเรียกแยกได้ว่า fajr มักจะเกิดขึ้นในเวลา 04.00 น. ซึ่งจะเป็นช่วงก่อนการละหมาดแรกของวัน ในส่วนของมื้ออาหารเย็นซึ่งเรียกว่า iftar สามารถเริ่มต้นได้เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดหลังดวงอาทิตย์ตก หรือช่วงประมาณ 19.30 น.
โดยชาวมุสลิมมักจะรับประทานอินทผาลัมเป็นอาหารทั้งในมื้อเช้าและมื้อหลังดวงอาทิตย์ตกดิน เนื่องจากเป็นอาหารหลักของชาวตะวันออกกลาง ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหาร ย่อยง่าย และช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำตาลหลังจากอดอาหารมาทั้งวัน
เมื่อเสร็จสิ้นวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ชาวมุสลิมจะเฉลิมฉลองการสิ้นสุดด้วย ‘Eid al-Fitr’ ซึ่งเป็น ‘เทศกาลแห่งการละศีลอด’ ที่เริ่มต้นด้วยการละหมาดร่วมกันในช่วงรุ่งสางตลอด 3 วัน ผู้เข้าร่วมจะรวมตัวกันเพื่อสวดมนต์ รับประทานอาหาร แลกเปลี่ยนของขวัญ และแสดงความเคารพต่อญาติผู้ล่วงลับ บางเมืองมีการจัดงานคาร์นิวัลและงานสวดมนต์ขนาดใหญ่ด้วย
แต่ไม่ว่าผู้ถือศีลอดจะวางแผนการณ์ไว้อย่างไรสำหรับมื้ออาหาร suhoor หรือการละศีลอดในประเพณีของแต่ละพื้นที่ แต่จิตวิญญาณในวัฒนธรรมประเพณีที่มีมานานหลายศตวรรษนี้จะยังคงเหมือนเดิมคือเป็นช่วงเวลาแห่งการรำลึกถึงการกตัญญู และการไตร่ตรองตนเอง
ที่มา
https://www.nationalgeographic.com/culture/article/ramadan