อเล็กซานเดรีย วิลลาซียอร์ อายุ 14 ปี ชาวสหรัฐฯ
“คุณต้องรับฟังข้อเท็จจริงและวิทยาศาสตร์ เพราะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเห็น”
อเล็กซานเดรียเป็นนักกิจกรรมอายุ 14 ปี ที่ทำการประท้วงหน้าสำนักงานสหประชาชาติเพื่อให้โลกสนใจกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เธอเป็นผู้จัดกิจกรรม Fridays For Future องค์กรของเด็กนักเรียนที่รวมตัวกันประท้วงทุกวันศุกร์ทั่วโลก และเธอเป็นผู้ก่อตั้ง Earth Uprising องค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่เยาวชนทั่วโลกจะลุกขึ้นเพื่อหาทางต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Xiuhtezcatl Martinez อายุ 19 ปี ชาวสหรัฐฯ
“พ่อของผมสอนให้มองเห็นเวทมนต์ในทุกสิ่ง ดังนั้นเมื่อโตขึ้น ผมก็เห็นเวทมนต์ในยามที่พระอาทิตย์ขึ้น ในยามฝนตก และในทุกการแสดงออกของชีวิตไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ผมคิดว่านั่นเป็นหนึ่งในปัญญาอันมีค่าที่สร้างตัวฉันขึ้นเมื่อครั้งเป็นยังเด็ก มันทำให้ผมมีมุมมองในการเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความผิดปกติของสังคม โลกของเราที่แตกสลาย ระบบนิเวศที่กำลังจะตาย และผู้นำที่ฉ้อฉล”
Xiuhtezcatl เริ่มพูดถึงเรื่องราวของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ตอนนี้เขาเป็นนักกิจกรรมชนพื้นเมือง และ นักดนตรีวัย 19 ปี เขาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการด้านเยาวชนขององค์กร Earth Guardians ที่ทำหน้าที่ให้ความรู้เยาวชนทั่วโลกในการมีส่วนร่วมภาคพลเมืองและศิลปะ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และในฐานะศิลปินเพลงฮิปฮอป Xiuhtezcatl มักใช้ดนตรีเพื่อแสดงออกสารอันทรงพลังในเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และเขาไม่เกรงกลัวที่จะเผชิญหน้ากับรัฐบาล เขาเป็นหนึ่งในโจทย์ 21 คนที่ฟ้องรัฐบาลของมลรัฐท้องถิ่นที่ไม่มีมาตรการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างเพียงพอ
มาริเนล อูบัลโด อายุ 21 ปี ชาวฟิลิปปินส์
THIS is what courage looks like: Marinel Ubaldo, super-typhoon Haiyan survivor, is back in front of the Shell headquarters in Manila demanding #ClimateJustice.
Stand with her >> https://t.co/h82q3wWkG4#ClimateEmergencyHour#ClimateStrike pic.twitter.com/eXADmzqljI
— Greenpeace Philippines ? (@gpph) September 19, 2019
มาริเนล อูบัลโด วัย 21 ปี เป็นผู้รอดชีวิตพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองจากบันทึกของพายุไต้ฝุ่นที่พัดเข้าโจมตีฟิลิปปินส์ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3,976 คน เธอได้ต่อต้านการใช้พลังงานฟอสซิลของบรรดาบริษัทใหญ่ระดับโลกเพื่อส่งให้เกิดวิกฤตด้านภูมิอากาศ และเธอได้เป็นพยานในการสอบสวนด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องความรับผิดชอบขององค์กรขนาดใหญ่ที่มีมีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทน้ำมันระดับโลกหลายบริษัท เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2017 และในปีนี้ เธอได้พูดเรื่องราวการรอดชีวิตเธอที่ในงานสัปดาห์ด้านภูมิอากาศที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้รับเสียงปรบมือล้นหลาม
“ฉันอยู่ตรงหน้าพวกคุณ ซึ่งฉันไม่ใช่ข้อมูลสถิติทางสภาพภูมิอากาศที่คุณเห็นในข่าว แต่ฉันเป็นมนุษย์ที่หวังให้พวกคุณตระหนักว่า พวกเราล้วนต้องให้ความสำคัญกับการมีชีวิต เรื่องราวของฉันเป็นแค่เพียงในเรื่องของคนอีกหลายคน ฉันมาพูดที่นี่ในฐานะตัวแทนของกลุ่มคนจากชุมชนชายและชุมชนอันอ่อนแอ ฉันหวังว่าเสียงของพวกเราจะมีผู้รับฟัง”
ระริน สถิตธนาสาร (ลิลลี่) ชาวไทย อายุ 11 ปี
“เราต้องเปลี่ยนโลกเรา เพราะว่าโลกเรากำลังถูกทำร้ายอยู่ค่ะ”
ลิลลี่เริ่มเป็นนักเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยแนวทางการเคลื่อนไหวของเธอคล้ายกับ เกรตา ทูนแบร์ก เธอเคยยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการของไทยบรรจุวิชา eco education หรือการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาบังคับของเด็กไทยทุกระดับชั้น และเรียกร้องให้ภาคเอกชนมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และเสนอให้มีการลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง
นอกจากนี้ ลิลลี่เป็นตัวตั้งตัวตีในการรณรงค์ การประท้วงหยุดเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Strike for Climate) ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ร่วมกับเยาวชนนับล้านคนทั่วโลกเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา
จากผลงานการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เมื่อเดือนมิถุนายน 2019 ลิลลี่ได้รับรางวัล Yunus & Youth Environment Ambassador รางวัลที่ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนูส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากผลงานการขจัดความยากจนในบ้านเกิดอันโดดเด่น
แหล่งข้อมูล
15 youth climate activists you should be following on social media
5 young activists who inspired us this year
คนรุ่นใหม่ กับ วาระสิ่งแวดล้อมที่รออยู่
ความหวังพึ่งได้! น้องลิลลี่ นักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์ด้านสิ่งแวดล้อม