ภาพ ก่อน-หลัง ปะการังเสียหาย ใน เกาะลอร์ด ฮาว โศกนาฏกรรมแห่งมหาสมุทร

ภาพ ก่อน-หลัง ปะการังเสียหาย ใน เกาะลอร์ด ฮาว โศกนาฏกรรมแห่งมหาสมุทร

ภาพถ่าย ก่อน-หลัง จากเนชั่นเนล จีโอกราฟฟิก ได้แสดงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรกับ “ แนวปะการัง เกาะลอร์ด ฮาว ” ในโลกที่ร้อนขึ้น

ภาพถ่ายพิเศษก่อนและหลังเหล่านี้เผยให้เห็นว่า แนวปะการังที่อยู่ใกล้กับ เกาะลอร์ด ฮาว ของออสเตรเลียได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แม้แต่เกาะทะเลที่ห่างไกลก็ยังไม่ปลอดภัยจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

.
เกาะลอร์ด ฮาว (Lord Howe Island) แห่งนี้ใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบิน 2 ชั่วโมง และเป็นที่ตั้งของแนวปะการังที่อยู่ทางใต้สุดของโลก อันเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองให้เป็นแดนสรรค์สำหรับสัตว์ทะเล

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
11 พฤษภาคม 2567: ปะการังที่มีสุขภาพดีและเรืองแสงอัลตราไวโอเลตเหล่านี้เติบโตในบริเวณน้ำตื้นในทะเลสาบเกาะลอร์ดฮาว ใกล้ๆ กันนั้น คือปะการังที่ป่วยและตายจนขาดสีสัน จากกอุณหภูมิสูงน้ำทะเลที่สูงเป็นประวัติการณ์จนกระทบเขตอนุรักษ์ทางทะเลแห่งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

แต่ในปีนี้ นักวิจัยรู้สึก “เสียใจ” อย่างยิ่ง เมื่อแนวปะการังอันบริสุทธิ์ของภูมิภาคต้องเจอกับโศกนาฏกรรมซ้ำซ้อน จากอุณหภูมิมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้นและระดับน้ำลดต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งได้ทำลายปะการังที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้จำนวนมาก

.
“มันแสดงให้เห็นอย่างแท้จริงว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น มีผลต่อระบบนิเวศทางทะเลของเราในวงกว้างเพียงใด” บิล เลกกัตต์ (Bill Leggatt) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย กล่าว

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
11 พฤษภาคม 2567: ปะการังที่มีสุขภาพดีและเรืองแสงอัลตราไวโอเลตเหล่านี้เติบโตในบริเวณน้ำตื้นในทะเลสาบเกาะลอร์ดฮาว ใกล้ๆ กันนั้น คือปะการังที่ป่วยและตายจนขาดสีสัน จากกอุณหภูมิสูงน้ำทะเลที่สูงเป็นประวัติการณ์จนกระทบเขตอนุรักษ์ทางทะเลแห่งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ปะการังฟอกขาวคืออะไร?

ปะการังนั้นแท้จริงแล้วเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์อันดีและมีประโยชน์ร่วมกับสาหร่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า ‘ซูแซนแทลลี’ (zooxanthellae) สาหร่ายเหล่านี้จะอาศัยอยู่ภายในปะการังและจัดหาอาหารให้กับมันเพื่อแลกกับการหลบภัย ซูแซนเทลลา เหล่านี้เองที่ทำให้ปะการังมีสีสันสวยงาม

.
แต่ความสัมพันธ์เปราะบางอย่างยิ่ง เมื่อน้ำอุ่นเกินไปแม้แค่ 1-2 องศา สาหร่ายตัวเล็กก็จะผละออกมาและทำให้ปะการังเป็นสีขาว

.
“ปะการังไม่เหมือนเรา พวกเขาไปหาหมอไม่ได้ ไม่สามารถแสดงอุณหภูมิหรือไอได้ หากปะการังเกิดความเครียด พวกมันจะสูญเสียสาหร่าย และนั่นคือสิ่งที่เรียกว่าปะการังฟอกขาว” เลกกัตต์ กล่าว

17 ตุลาคม 2563: ระบบนิเวศทางทะเลของเกาะลอร์ดฮาวมีความเป็นเอกลักษณ์ โดยมีการผสมผสานระหว่างสายพันธุ์เขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่น่านน้ำเหล่านี้ก็มีความเปราะบางและอุ่นขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ในช่วงน้ำลงฤดูใบไม้ผลิ เจ้าหน้าที่อุทยานทางทะเล เคทลิน วูดส์ สำรวจชุมชนสาหร่ายทะเลที่เติบโตและเบ่งบานในพื้นที่ที่เรียกว่า เดอะ พอทโฮลส์
แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
6 พฤษภาคม 2567: ในช่วงวันแรกของการเผชิญกับน้ำลง ปะการังที่โผล่พ้นน้ำจากทะเลสาบแสดงให้เห็นถึงสีเข้ม หมายถึงความว่าพวกมันสบายดี แนวปะการังเพิ่งรอดพ้นจากคลื่นความร้อนในทะเลที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์
แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
8 พฤษภาคม 2567: แต่อีกเพียงสองวันต่อมา การสัมผัสกับอากาศซ้ำๆ ทำให้ปะการังเครียดจนมีสีซีดจางลง ช่วงบนสุด 8 นิ้ว ของกอปะการังกิ่งขนาดใหญ่สกุล Acropora จะไม่สามารถรอดชีวิตได้ในที่สุด
แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
24 เมษายน 2567: ปะการัง Montipora ที่มีลักษณะต่ำและแบนนี้ ปกติมีสีน้ำตาลเข้ม กลับกลายเป็นสีฟ้าสว่างเรืองแสงหลังจากสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ ในขณะที่ปะการังส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อเครียด แต่ก็มีบางชนิดปล่อยสีสะท้อนแสงที่หลากหลาย หากเซลล์ปะการังยังคงทำหน้าที่ปกติได้บ้างในระหว่างการฟอกขาว ระดับแสงภายในที่เพิ่มขึ้นจะกระตุ้นการผลิตเม็ดสีที่มีสีสันสดใส ซึ่งปกป้องปะการังจากความเสียหายจากแสงโดยการสร้างชั้นครีมกันแดดชนิดหนึ่ง ช่วยให้สาหร่ายกลับมาอยู่อาศัยได้

เหตุการณ์ฟอกขาวที่น่าสะเทือนใจ

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2024 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลทั่วโลกได้เตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้น เสริมด้วยรูปแบบสภาพอากาศเอลนีโญที่ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น

ความร้อนดังกล่าวทำให้เกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ของโลก โดยแนวปะการังเกรทแบริเออร์รัฟ และแนวปะการังทั่วฟลอริดา แคริเบียน แปซิฟิกใต้ ทะเลแดง และอ่าวเปอร์เซียล้วนประสบกับการฟอกขาว

อ่านเพิ่มเติม 

ปะการังฟอกขาว เกิดจากอะไร และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลอย่างไร

สัญญาณเตือนหายนะโลก! ” ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ครั้งที่ 4″

เกรตแบริเออร์รีฟ กำลัง ฟอกขาว จนกลายเป็นหลุมฝังศพให้สิ่งมีชีวิต

ปะการัง ที่ตระการตาที่สุดในโลก และโลกสีครามมหัศจรรย์ ใต้ภัยคุกคามจากมนุษย์

นักวิจัยบนเกาะลอร์ดฮาวระบุว่าพวกเขามองเห็นปราฏกการณ์นี้กำลังลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคดังกล่าว การดำน้ำตื้นบนแนวปะการังลึก 1 ถึง 3 เมตรช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเพื่อศึกษาแนวปะการัง ‘ก่อน’ ‘ระหว่าง’ และ ‘หลังการฟอกขาว’ ได้

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
13 สิงหาคม 2565 — 3 สิงหาคม 2566: ปะการังในแนวน้ำตื้นฟอกขาวและตายหลังจากสัมผัสแสงแดดและอากาศในช่วงน้ำลง เกือบหนึ่งปีต่อมา ด้านบนของแนวปะการังเดียวกันถูกปกคลุมด้วยสาหร่ายขนาดใหญ่ ความผิดปกติของน้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นนอกชายฝั่งเกาะลอร์ดฮาวเนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งในกระแสน้ำตะวันออกของออสเตรเลีย กระแสน้ำนี้พัดพาน้ำอุ่นจากเกรทแบร์ริเออร์รีฟลงมาตามชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ซึ่งแยกออกจากแผ่นดินใหญ่และไหลออกสู่ทะเลที่ละติจูดใกล้เคียงกับเกาะลอร์ดฮาว
แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
7 พฤษภาคม 2567: สองปีต่อมา แนวปะการังเดียวกันได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำลงอีกครั้ง แม้ว่าแนวปะการังบางแห่งจะสามารถรอดพ้นจากคลื่นความร้อนได้ แต่เหตุการณ์น้ำลงเหล่านี้สามารถฆ่าปะการังที่อยู่ในภาวะเครียดอยู่แล้วได้

ข้อมูลระบุว่าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลรอบ ๆ เกาะลอร์ดฮาวมีค่าเฉลี่ยประมาณ 16 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว และเพิ่มขึ้นเป็น 26 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน แต่ทว่าพวกเขากลับทำลายสถิติอุณหภูมิที่ 29 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อนล่าสุดของออสเตรเลีย
.
ในช่วงปลายเดือนมกราคม ก่อนที่อุณหภูมิในฤดูร้อนจะพุ่งสูงขึ้น แนวปะการังยังคงสภาพสมบูรณ์ไว้ได้ “สีสันน่าทึ่งมาก” เพจ ซอว์เยอร์ส (Paige Sawyers) นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ผู้สำรวจแนวปะการัง กล่าว “นั่นคือสิ่งที่ฉันจินตนาการถึงเกรทแบริเออร์รีฟไว้เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว”
.
แต่แล้วทีมงานก็ต้องตกใจเมื่อกลับมาอีกครั้งในอีก 1 เดือนต่อมาและพบว่าแนวปะการังเปลี่ยนไปจนจำไม่ได้ “มันมีการฟอกขาวในทุกจุด” ซอว์เยอร์ส กล่าว “มันไม่ได้รู้สึกเหมือนเป็นแนวปะการังเดียวกัน”

29 ธันวาคม 2566: เคทลิน วูดส์ ตรวจสอบแพไข่ปะการังในทะเลสาบเกาะลอร์ดฮาว อีกสัญญาณหนึ่งของน้ำอุ่นคือ เหตุการณ์การสืบพันธุ์ของปะการังพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ มีการสังเกตเห็นแพไข่ปะการังเพียงสองวันหลังจากคืนวันเพ็ญในวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ทั้งที่คาดว่าการสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นหกถึงสิบวันหลังจากวันเพ็ญในต้นเดือนมกราคม 2567
10 เมษายน 2567: องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) วัดความเครียดจากความร้อนใกล้เกาะลอร์ดฮาว เพื่อให้ผู้ที่ทำงานกับระบบนิเวศแนวปะการังมีเครื่องมือในการเข้าใจและตอบสนองต่อเหตุการณ์การฟอกขาวครั้งใหญ่ ในภาพนี้ มาตรวัดแสดงให้เห็นว่าคลื่นความร้อนกำลังถึงจุดสูงสุด
แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
18 มกราคม 2563: เหตุการณ์การสืบพันธุ์ครั้งใหญ่ของปะการัง โดยน้ำที่อุ่นขึ้นทำให้เหตุการณ์การสืบพันธุ์เกิดขึ้นเร็วขึ้น เช่นเหตุการณ์การสืบพันธุ์ใกล้เกาะลอร์ดฮาวที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

ขณะที่พวกมันตาย ปะการังบางชนิดจะเรืองแสงเป็นสีชมพู สีม่วง และสีเขียว ราวกับเสียงร้องครั้งสุดท้ายเพื่อขอความช่วยเหลือ “มันเกือบจะเหมือนกับว่าพวกเขาเปิดไฟนีออนเลย” ซอว์เยอร์ส กล่าว
.
แต่ปะการังสามารถฟื้นตัวได้หากอุณหภูมิลดลงทันเวลา สาหร่ายก็จะกลับคืนสู่โฮสต์เมื่อฤดูร้อนสิ้นสุดและอุณหภูมิลดลง สิ่งต่าง ๆ ก็จะกลับมาดูสดใส “สัตว์บางชนิดที่ถูกฟอกขาวกำลังนำซูแซนเทลลากลับมา” ซอว์เยอร์ส บอก “ดูเหมือนทุกอย่างจะเรียบร้อยดี”

การโจมตีครั้งที่สอง

นั่นคือเวลาที่เกิดภัยพิบัติขึ้น ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เกาะแห่งนี้มีระดับน้ำต่ำลงมาจนทำให้ปะการังที่สูง 13 ถึง 15 นิ้วสัมผัสกับอากาศ ทำให้เกิดการฟอกขาวเพิ่มเติม และคร่าชีวิตปะการังที่ไม่ได้อยู่ใต้น้ำอีกต่อไป
.
“คุณสามารถมองเห็นเส้นที่ชัดเจนบนอาณานิคมปะการังบางแห่งตรงจุดที่น้ำหยุดนิ่ง” ซอว์เยอร์ส กล่าว

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
14 มีนาคม 2567: แนวปะการังนี้เกือบทั้งหมดเป็นสีขาวเนื่องจากการฟอกขาวที่เกิดจากความร้อน
5 พฤษภาคม 2567: แนวปะการังเดียวกันกำลังแสดงสัญญาณของการฟื้นตัว สีน้ำตาลเข้มขึ้นบ่งชี้ว่าปะการังได้ดูดซับสาหร่ายที่อยู่ร่วมกันกลับเข้าไปแล้ว
แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
8 พฤษภาคม 2567: น้ำลงที่ผิดปกติทำให้แนวปะการังโผล่พ้นน้ำซ้ำๆ และปะการังส่วนที่สูงที่สุดแสดงสัญญาณของความเครียดจากการฟอกขาวอีกครั้ง ความร้อนที่สูงเป็นประวัติการณ์และน้ำลงต่ำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันพิสูจน์ว่าเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับปะการังจำนวนมาก

การรวมกันของการฟอกขาวและตามมาด้วยระดับน้ำลงที่ผิดปกติเหล่านี้ถือเป็น “เหตุการณ์ที่โชคร้ายต่อเนื่องกัน” เลกกัตต์ กล่าว ปะการังที่อยู่น้ำตื้นมากอยู่แล้วมักจะต้องเผชิญกับระดับน้ำลดลงเป็นปกติ แต่เนื่องจากน้ำที่ร้อนขึ้นทำให้เกิดความเครียด และความเครียดจากสิ่งแวดล้อมก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
.
ทีมงานกำลังวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูขอบเขตของการฟอกขาว แต่โชคดีที่ปะการังของเกาะลอร์ดฮาวไม่ได้สูญหายไปทั้งหมด
.
“เมื่อพวกเขาตาย พวกเขาก็ตายแบบที่ไม่มีทางกลับมาได้อีกแล้ว” ซอว์เยอร์ส กล่าว

แนวปะการังสามารถฟื้นตัวได้หรือไม่?

เมื่อฤดูหนาวมาถึง ผู้เชี่ยวชาญก็เริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวเมื่อปะการังกลับมาสีสันอีกครั้ง แต่เลกกัตต์ยังคงกังวลกับขอบเขตของการฟอกขาวเมื่อเร็ว ๆ นี้บนเกาะที่อยู่ห่างไกลจากผลกระทบอื่น ๆ ของมนุษย์

แนวปะการัง, เกาะลอร์ด ฮาว
6 มิถุนายน 2566: ลากูนบริเวณเกาะลอร์ดฮาวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลกยูเนสโก ตั้งอยู่ห่างจากเกรทแบร์ริเออร์รีฟไปทางใต้ เกือบ 1,000 กิโลเมตร แม้จะถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยทางทะเลที่ห่างไกล แต่การตายของปะการังที่นี่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่สภาพแวดล้อมที่ห่างไกลก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดเหตุการณ์ฟอกขาวที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบนิเวศอันล้ำค่าเหล่านี้จึงถูกคุกคาม การสูญเสียสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนที่ต้องพึ่งพาพวกเขาในด้านอาหารและวิถีชีวิต
.
แม้ว่าความพยายามในการฟื้นฟูระดับเล็ก ๆ จะสามารถช่วยได้ในระดับท้องถิ่น แต่ปัญหาก็กว้างใหญ่เกินกว่าที่การแทรกแซงเหล่านี้จะกลายเป็นวิธีแก้ปัญหาระดับโลกได้
.
“ถ้าคุณบอกกับคนอื่นว่า เราจะสูญเสียป่าแอมะซอนในอีก 10 ถึง 15 ปี วิธีแก้ปัญหาจะไม่อยู่ที่การพยายามสร้างต้นไม้และปลูกแอมะซอนขึ้นมาใหม่” เลกกัตต์ กล่าว “แต่ต้องมาจากการหยุดผลกระทบที่ใหญ่โต นั่นคือการหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา

https://www.nationalgeographic.com/environment/article/before-and-after-bleaching-lord-howe-coral-reef


อ่านเพิ่มเติม ปะการังฟอกขาว สัญญาณอันตรายของท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกเดือด

Recommend