Partner Content
เยี่ยมบ้าน แกรนด์ไซโก้ เรือนเวลาอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น
อะไรที่ทำให้นาฬิกาแบรนด์หนึ่งครองใจลูกค้าทั่วโลกมาอย่างยาวนาน? อะไรคือดีเอ็นเอหรือหัวใจของเรือนเวลา แกรนด์ไซโก้ (Grand Seiko)?
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำถามที่คณะสื่อมวลชนไทยได้ร่วมกันหาคำตอบ ด้วยการร่วมทริปเดินทางสู่บ้านของนาฬิกา แกรนด์ไซโก้ ที่ประเทศญี่ปุ่น
“ความเที่ยงตรง (precision) ความงาม (aesthetics) ความชัดเจนหรือมองเห็นได้ง่าย (legibility) การสวมใส่ที่ให้ความรู้สึกเหนือคำบรรยาย และการเป็นเรือนเวลาอันเป็นที่รักอย่างยาวนานหรือคลาสสิก” คือคำบอกเล่าจากปากของ Mr. Kosugi นักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแกรนด์ไซโก้
นาฬิกาแกรนด์ไซโก้รุ่นแรกถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1960 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสุดยอดแห่งเรือนเวลา (“best of all watches”) ดังสะท้อนเห็นได้จากการเลือกสัญลักษณ์สิงโต ผู้เป็นราชันแห่งผืนป่า เป็นโลโก้ของแบรนด์
แม้แกรนด์ไซโก้จะเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ไซโก้ (ชาวญี่ปุ่นออกเสียง “เซโกะ” หรือ “เซโก้” ชื่อที่แปลว่า เที่ยงตรง) เรือนเวลาเก่าแก่อายุกว่าร้อยปีของญี่ปุ่น ทว่าในปัจจุบัน แกรนด์ไซโก้ได้วางตำแหน่งของตนเองและทำการตลาดในฐานะ luxury brand นาฬิกาชั้นนำอย่างเป็นเอกเทศ
เพื่อให้คณะสื่อมวลชนไทยได้สัมผัสและเข้าถึงจิตวิญญาณของแกรนด์ไซโก้ ทีมงานแกรนด์ไซโก้ทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่นจึงเปิดโอกาสให้คณะได้ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของไซโก้และแกรนด์ไซโก้ เช่น อาคาร Wako Department Store ซึ่งเป็นของไซโก้ และปัจจุบันถือเป็นสัญลักษณ์ของย่านกินซ่า อาคารเก่าแก่กว่า 80 ปีหลังนี้ไม่เพียงเป็นห้างสรรพสินค้าระดับหรูที่ขายนาฬิกาหลากหลายแบรนด์ แต่ยังเป็นศูนย์รวมคอลเล็กชั่นของนาฬิกาไซโก้และแกรนด์ไซโก้ นอกจากนี้ คณะยังได้เยี่ยมชมร้านนาฬิกา stand-alone ของแกรนด์ไซโก้อีกด้วย
และเพื่อให้เข้าใจถึงเอกลักษณ์ของนาฬิกาแกรนด์ไซโก้ อันได้แก่ ศาสตร์และศิลป์ที่มาบรรจบกันอย่างลงตัวระหว่างนวัตกรรม เทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส และงานฝีมือชั้นสูงของญี่ปุ่น คณะจึงได้รับโอกาสที่หาได้ยากยิ่งในการเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตนาฬิกาแกรนด์ไซโก้ถึงสองแห่ง ได้แก่
โรงงาน Morioka Seiko ณ เมืองโมริโอกะ คือศูนย์รวมการผลิตกลไกของแกรนด์ไซโก้ ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องจักร และการประกอบกลไกด้วยมือ จุดเด่นที่สำคัญอีกประการของที่นี่คือ Shinzu-Ishi Watch Studio ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ผลิตนาฬิกากลไกระดับโลกที่มีความแม่นยำสูงและดีไซน์สง่างาม ช่างฝีมือที่ทำงานในสตูดิโอแห่งนี้เป็นผู้ดูแลทั้งเรื่องดีไซน์ การผลิต การประกอบชิ้นส่วน ปรับแต่ง รวมไปถึงตรวจสอบกลไกต่างๆ ของนาฬิกา ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมของบรรดาช่างฝีมือที่คว้ารางวัลมาแล้วมากมายทั้งในระดับประเทศและสากล
โรงงาน Seiko Epson Corporation ณ เมืองชิโอจิริ เป็นอีกที่หมายถึงที่คณะได้ไปเยี่ยมชม ที่นี่คือต้นกำเนิดนวัตกรรมสำคัญยิ่งของไซโก้ ได้แก่ นาฬิกาควอตซ์ และกลไกอันเป็นเอกลักษณ์ของแกรนด์ไซโก้และคิดค้นโดยไซโก้ เรียกว่า Spring Drive (ลักษณะเด่นคือการหมุนของเข็มนาฬิกาที่ลื่นไหลราวกับสายน้ำ ชมภาพเคลื่อนไหวความแตกต่างระหว่างระบบ mechanical และ Spring Drive ได้ที่นี่) โรงงานแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ Shinshu Watch Studio อันเป็นจุดบรรจบระหว่างเทคโนโลยีเวิลด์คลาสกับงานหัตถศิลป์ชั้นครูของญี่ปุ่น จึงได้รับมอบหมายให้ประกอบกลไกชั้นสูงอย่าง Spring Drive และทำงานเชิงฝีมือ เช่น การขัดเงาแบบซารัตซึ (Zaratsu) สร้างขอบเรียบคมและพื้นผิวเงาราวกับกระจก (mirror effect) ไร้รอยต่อ รวมถึงพื้นผิวที่เรียกว่า hairline อันเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของแกรนด์ไซโก้
จุดหมายสุดท้ายที่คณะสื่อมวลชนไทยได้ไปเยี่ยมชม คือพิพิธภัณฑ์ไซโก้ (The Seiko Museum) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่เพียงบอกเล่าประวัติความเป็นมาของแบรนด์นาฬิกาอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น แต่ยังรวบรวมประวัติศาสตร์ของการบอกเวลา คอลเล็กชั่นนาฬิกาโบราณแบบต่างๆ จากทั่วโลกและของญี่ปุ่น ตลอดจนวิวัฒนาการของนาฬิกาผ่านยุคสมัย และเรือนเวลาปฏิวัติวงการรุ่นต่างๆ ของ Seiko และ Grand Seiko
เรื่องราวของแกรนด์ไซโก้คือเรื่องราวของความพยายามอันไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์เรือนเวลาที่เที่ยงตรงงดงามไร้กาลเวลา และด้วยคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุด หลอมรวมความเป็นเลิศทั้งทางเทคโนโลยี งานฝีมือชั้นครู ปรัชญาความงาม และการใส่ใจในทุกรายละเอียดของวัฒนธรรมญี่ปุ่น สมดังปณิธานและวิสัยทัศน์ของ Kintaro Hattori ชายผู้ให้กำเนิดไซโก้เมื่อกว่าร้อยปีก่อนที่ว่า “Always one step ahead of the rest.” หรือ เราต้องก้าวล้ำหน้าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ พบเรื่องราวของแกรนด์ไซโก้ เรือนเวลารุ่นต่างๆ และสถานที่จัดจำหน่ายในประเทศไทย ได้ที่ https://www.grand-seiko.com/th-th