ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบออดิชั่น

ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบออดิชั่น

กลุ่มคนที่มีความสนใจด้านการทำธุรกิจเพื่อสังคมได้มารวมกันในรายการ Win Win WAR Season 2 เพื่อชิงตำแหน่งสุดยอดธุรกิจแบ่งปัน และเงินรางวัล 2 ล้านบาท ที่จะนำไปต่อยอดหรือสร้างธุรกิจเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นได้จริง

สัปดาห์นี้ ผู้เข้าแข่งขันที่ 4 ทีมที่ผ่านเข้ารอบออดิชั่น จะนำเสนอแผนธุรกิจและตัวอย่างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต่อคณะกรรมการทั้ง 4 ท่าน ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 ทีม ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกินหมุนเวียน นำผลิตเหลือใช้มาแปรรูปใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าใหักับสินค้า รวมไปถึงแอปพลิเคนชันที่ช่วยให้การเล่นเกมในโทรศัพท์มีประโยชน์ต่อโลกนี้มากขึ้น

ดลมณีคุณ เส้นใยของสายน้ำ หนังเทียมจากกล้วยและผักตบชวา – คุณอนุภา มณีจันทร์ ดลมณี

คุณอนุภาอาศัยอยู่ในชุมชนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทอผ้า รวมถึงยังมีกลุ่มผู้พิการในชุมชนร่วมด้วย สิ่งที่พบคือปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านในขณะนั้น ไม่มีช่องทางการยกระดับสินค้า หรือช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าหลังจากที่ทอผ้าเสร็จเรียบร้อย ทำให้เริ่มมีแนวคิดผลิตสินค้าจากผ้าทอมือ และเริ่มศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกลุ่มของผู้พิการก่อน

เวลาต่อมา คุณอนุภาสามารถพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้างานฝีมือ เน้นการออกแบบให้ร่วมสมัยมากขึ้น โดยอาศัยช่างที่มีความรู้ในชุมชนมารวมตัวกัน เพื่อผลิตผ้าทอให้เป็นกระเป๋าที่สวยงาม ภายใต้แบรนด์ “ดลมณี” (Don Manee)

และไม่เพียงแค่นั้น คุณอนุภายังมองเห็นถึงปัญหาการจัดการกับขยะทางการเกษตร โดยคนส่วนมากมักทิ้งลงแหล่งน้ำ ทำให้เกิดภาวะเน่าเสีย จึงอยากหาวิธีการแก้ปัญหาส่วนนี้ผ่านการทอผ้า จึงเกิดเป็นความคิดในการนำกล้วย และผักตบชวา มาทำเป็นหนังเทียม ลดการทิ้งขยะการเกษตร และสร้างวัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้หนังสัตว์จริง

ผลิตภัณฑ์จากแผ่นยางพารารองกรีด Least Studio – คุณธีรพล อัครทิวา

ด้วยแนวคิดในการสร้างความแตกต่างจากสิ่งของใช้งานใกล้ตัว คือแผ่นรองตัด (Cutting Mat Rubber) คุณธีรพลนำจึงนำมาประยุกต์สร้างสรรค์เป็นวัสดุใหม่ โดยเลือกใช้ยางพาราธรรมชาติ 100% เกิดเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติใหม่ กันรอยขีดข่วน กันน้ำ ทนความชื้น และมีน้ำหนักเบา เป็นวัสดุทดแทนใหม่ สามารถนำไปผลิตเป็นกระเป๋า และเฟอร์นิเจอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้หนังสัตว์แท้ และตอบโจทย์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนชาวสวนยาง

แผนงานที่หวังไว้ คุณธีรพลอยากพัฒนาวัสดุทดแทนชนิดใหม่นี้ให้ต่อยอดการใช้งานได้ในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ด้านสถาปัตยกรรม และเพื่อเป็นวัสดุส่งออกของไทย

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษผ้าอุตสาหกรรม – คุณชัชวาล บุสยาตรัส

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดสุรินทร์ นำโดยคุณชัชวาลย์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาขจัดความยากจน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ เสร็จจากการทำนาแล้วไม่มีอาชีพเสริม ทำให้รายได้น้อย เกิดปัญหาความยากจน จึงคิดส่งเสริมหารายได้เสริมให้กับชาวบ้านเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว โดยการนำเศษผ้าเหลือใช้จากโรงงาน มาผลิตเป็นพรมเช็ดเท้า และแปรรูปเป็นสินค้าอื่น เช่น กระเป๋า เสื้อคลุม นับเป็นการใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อไม่ให้เศษผ้าที่เหลือถูกทิ้งไปอย่างไร้คุณค่า

WildChain – คุณพชร ทวีสุข

แอปพลิเคชันนี้เกิดจากแนวคิดพื้นฐานว่า จะทำอย่างไรให้การปกป้องธรรมชาติและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ง่ายและสนุกเหมือนเกมจับโปเกมอน จึงเป็นที่มาของการพัฒนา เกมที่ทั้งสนุก และสร้างประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อมได้จริงๆ ด้วยลักษณะการเล่นที่คุ้นเคยเหมือนการเล่นเกมเลี้ยงสัตว์ในเครื่องเล่นเกมยุคก่อนหน้า ถูกยกระดับให้ทันกับยุคสมัย แทนที่จะเลี้ยงสัตว์ประหลาดตามการ์ตูน เปลี่ยนมาเลี้ยงสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ในโลกนี้ ทุกการเลี้ยงดู ทุกการเติบโตของสัตว์เลี้ยงในเกม จะเปลี่ยนเป็นเงินเข้ากองทุนเพื่อสัตว์ชนิดนั้นๆ และเปลี่ยนเป็นต้นไม้ที่ปลูกบนโลกจริงๆ

รายได้ของธุรกิจมาจากการขาย In-game item และพื้นที่โฆษณา เป้าหมายถัดไปของทีมคือหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาเกมต่อไป

อย่าลืมติดตามชมและให้กำลังผู้เข้าแข่งขั้นทั้ง 4 ทีมได้ ทางช่องอมรินทร์ทีวี 34 HD ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. และชมรายการย้อนหลังได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Win Win WAR Thailand

Recommend