เยี่ยมบ้าน แกรนด์ไซโก้ เรือนเวลาอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น

เยี่ยมบ้าน แกรนด์ไซโก้ เรือนเวลาอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น

Partner Content

เยี่ยมบ้าน แกรนด์ไซโก้ เรือนเวลาอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น

อะไรที่ทำให้นาฬิกาแบรนด์หนึ่งครองใจลูกค้าทั่วโลกมาอย่างยาวนาน? อะไรคือดีเอ็นเอหรือหัวใจของเรือนเวลา แกรนด์ไซโก้ (Grand Seiko)?

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำถามที่คณะสื่อมวลชนไทยได้ร่วมกันหาคำตอบ ด้วยการร่วมทริปเดินทางสู่บ้านของนาฬิกา แกรนด์ไซโก้ ที่ประเทศญี่ปุ่น

“ความเที่ยงตรง (precision) ความงาม (aesthetics) ความชัดเจนหรือมองเห็นได้ง่าย (legibility) การสวมใส่ที่ให้ความรู้สึกเหนือคำบรรยาย และการเป็นเรือนเวลาอันเป็นที่รักอย่างยาวนานหรือคลาสสิก” คือคำบอกเล่าจากปากของ Mr. Kosugi นักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแกรนด์ไซโก้

แกรนด์ไซโก้
Mr. Kosugi นักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแกรนด์ไซโก้

นาฬิกาแกรนด์ไซโก้รุ่นแรกถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1960 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสุดยอดแห่งเรือนเวลา (“best of all watches”) ดังสะท้อนเห็นได้จากการเลือกสัญลักษณ์สิงโต ผู้เป็นราชันแห่งผืนป่า เป็นโลโก้ของแบรนด์

แม้แกรนด์ไซโก้จะเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ไซโก้ (ชาวญี่ปุ่นออกเสียง “เซโกะ” หรือ “เซโก้” ชื่อที่แปลว่า เที่ยงตรง) เรือนเวลาเก่าแก่อายุกว่าร้อยปีของญี่ปุ่น ทว่าในปัจจุบัน แกรนด์ไซโก้ได้วางตำแหน่งของตนเองและทำการตลาดในฐานะ luxury brand นาฬิกาชั้นนำอย่างเป็นเอกเทศ

แกรนด์ไซโก้
นาฬิกาแกรนด์ไซโก้รุ่นแรก ปี 1960 (บนและล่าง) ภาพถ่ายที่พิพิธภัณฑ์ไซโก้ (The Seiko Museum)

เพื่อให้คณะสื่อมวลชนไทยได้สัมผัสและเข้าถึงจิตวิญญาณของแกรนด์ไซโก้ ทีมงานแกรนด์ไซโก้ทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่นจึงเปิดโอกาสให้คณะได้ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของไซโก้และแกรนด์ไซโก้ เช่น อาคาร Wako Department Store ซึ่งเป็นของไซโก้ และปัจจุบันถือเป็นสัญลักษณ์ของย่านกินซ่า อาคารเก่าแก่กว่า   80 ปีหลังนี้ไม่เพียงเป็นห้างสรรพสินค้าระดับหรูที่ขายนาฬิกาหลากหลายแบรนด์ แต่ยังเป็นศูนย์รวมคอลเล็กชั่นของนาฬิกาไซโก้และแกรนด์ไซโก้ นอกจากนี้ คณะยังได้เยี่ยมชมร้านนาฬิกา stand-alone ของแกรนด์ไซโก้อีกด้วย

แกรนด์ไซโก้
อาคาร Wako ด้านบนคือหอนาฬิกาไซโก้ ภายในคือห้างสรรพสินค้าจำหน่ายนาฬิกาหรูจากทั่วโลก รวมถึงคอลเลกชั่นนาฬิกาไซโก้และแกรนด์ไซโก้ อาคารประวัติศาสตร์หลังนี้มีอายุย้อนกลับไปในทศวรรษ 1930 ปัจจุบันเป็นสัญลักษณ์ของย่านกินซ่า ย่านช็อปปิ้งหรูหรากลางกรุงโตเกียว
แกรนด์ไซโก้
คอลเลกชั่นนาฬิกาไซโก้และแกรนด์ไซโก้ภายในห้าง Wako
แรกนด์ไซโก้
Grand Seiko Shop ในย่านกินซ่าของกรุงโตเกียว (บน) และคอลเล็กชั่นนาฬิกาแกรนด์ไซโก้ (ล่าง)

และเพื่อให้เข้าใจถึงเอกลักษณ์ของนาฬิกาแกรนด์ไซโก้ อันได้แก่ ศาสตร์และศิลป์ที่มาบรรจบกันอย่างลงตัวระหว่างนวัตกรรม เทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส และงานฝีมือชั้นสูงของญี่ปุ่น คณะจึงได้รับโอกาสที่หาได้ยากยิ่งในการเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตนาฬิกาแกรนด์ไซโก้ถึงสองแห่ง ได้แก่

โรงงาน Morioka Seiko ณ เมืองโมริโอกะ คือศูนย์รวมการผลิตกลไกของแกรนด์ไซโก้ ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องจักร และการประกอบกลไกด้วยมือ จุดเด่นที่สำคัญอีกประการของที่นี่คือ Shinzu-Ishi Watch Studio ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ผลิตนาฬิกากลไกระดับโลกที่มีความแม่นยำสูงและดีไซน์สง่างาม ช่างฝีมือที่ทำงานในสตูดิโอแห่งนี้เป็นผู้ดูแลทั้งเรื่องดีไซน์ การผลิต การประกอบชิ้นส่วน ปรับแต่ง รวมไปถึงตรวจสอบกลไกต่างๆ ของนาฬิกา ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมของบรรดาช่างฝีมือที่คว้ารางวัลมาแล้วมากมายทั้งในระดับประเทศและสากล

แกรนด์ไซโก้
โรงงาน Morioka Seiko ณ เมืองโมริโอกะ คือศูนย์รวมการผลิตกลไกของแกรนด์ไซโก้ โรงงานตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้ร่มรื่น
แกรนด์ไซโก้
Shinzu-Ishi Watch Studio ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ผลิตนาฬิกากลไกระดับโลกที่มีความแม่นยำสูงและดีไซน์สง่างาม เป็นส่วนหนึ่งของโรงงาน Morioka Seiko
แกรนด์ไซโก้
ช่างฝีมืออันดับหนึ่งของแกรนด์ไซโก้ขณะทำงานใน Shinzu-Ishi Watch Studio แกรนด์ไซโก้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะช่างผู้ชำนาญการ โดยเน้นการถ่ายทอดทักษะจากรุ่นสู่รุ่น และส่งเสริมให้พัฒนาฝีมือด้วยการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

โรงงาน Seiko Epson Corporation ณ เมืองชิโอจิริ เป็นอีกที่หมายถึงที่คณะได้ไปเยี่ยมชม ที่นี่คือต้นกำเนิดนวัตกรรมสำคัญยิ่งของไซโก้ ได้แก่ นาฬิกาควอตซ์ และกลไกอันเป็นเอกลักษณ์ของแกรนด์ไซโก้และคิดค้นโดยไซโก้ เรียกว่า Spring Drive (ลักษณะเด่นคือการหมุนของเข็มนาฬิกาที่ลื่นไหลราวกับสายน้ำ ชมภาพเคลื่อนไหวความแตกต่างระหว่างระบบ mechanical และ Spring Drive ได้ที่นี่) โรงงานแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ Shinshu Watch Studio อันเป็นจุดบรรจบระหว่างเทคโนโลยีเวิลด์คลาสกับงานหัตถศิลป์ชั้นครูของญี่ปุ่น จึงได้รับมอบหมายให้ประกอบกลไกชั้นสูงอย่าง Spring Drive และทำงานเชิงฝีมือ เช่น การขัดเงาแบบซารัตซึ (Zaratsu) สร้างขอบเรียบคมและพื้นผิวเงาราวกับกระจก (mirror effect) ไร้รอยต่อ รวมถึงพื้นผิวที่เรียกว่า hairline อันเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของแกรนด์ไซโก้

แกรนด์ไซโก้
โรงงาน Seiko Epson Corporation ณ เมืองชิโอจิริ
ช่างผู้ชำนาญของแกรนด์ไซโก้ ณ โรงงาน Seiko Epson ตรวจชิ้นงานการขัดเงาแบบซารัตซึ (Zaratsu) อันเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของแกรนด์ไซโก้
แกรนด์ไซโก้
ชิ้นส่วนนาฬิกาแกรนด์ไซโก้ที่มีนวัตกรรม Spring Drive
แกรนด์ไซโก้
เรือนเวลาแกรนด์ไซโก้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดรุ่นหนึ่งในปัจจุบัน จุดเด่นคือความงามอันลงตัวด้วยพื้นผิวหน้าปัด Snowflake ที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติอันงดงามของญี่ปุ่น และนวัตกรรม Spring Drive ของแกรนด์ไซโก้

จุดหมายสุดท้ายที่คณะสื่อมวลชนไทยได้ไปเยี่ยมชม คือพิพิธภัณฑ์ไซโก้ (The Seiko Museum) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่เพียงบอกเล่าประวัติความเป็นมาของแบรนด์นาฬิกาอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น แต่ยังรวบรวมประวัติศาสตร์ของการบอกเวลา คอลเล็กชั่นนาฬิกาโบราณแบบต่างๆ จากทั่วโลกและของญี่ปุ่น ตลอดจนวิวัฒนาการของนาฬิกาผ่านยุคสมัย และเรือนเวลาปฏิวัติวงการรุ่นต่างๆ ของ Seiko และ Grand Seiko

แกรนด์ไซโก้
พิพิธภัณฑ์ไซโก้ก่อตั้งเมื่อปี 1981 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของไซโก้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://museum.seiko.co.jp
แกรนด์ไซโก้
หนึ่งในห้องจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ไซโก้ ด้านหน้าคือเรืองราวของ Kintaro Hattori ผู้ให้กำเนิดนาฬิกาไซโก้ จากจุดเริ่มต้นของร้านขายและซ่อมนาฬิกาเล็กๆ สู่เจ้าของฉายา “ราชาเรือนเวลาแห่งโลกตะวันออก” (Oriental King of Timepieces)
แกรนด์ไซโก้
ส่วนหนึ่งของคอลเล็กชั่นนาฬิกาโบราณของญี่ปุ่นและจากทั่วโลกภายในห้องจัดแสดงวิวัฒนาการของการบอกเวลา (Evolution of Time Keeping)
แกรนด์ไซโก้
“The Laurel” ปี 1913 คือนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของญี่ปุ่น ผลงานของไซโก้ กระทั่งถึงปี 1924 แบรนด์ SEIKO จึงเริ่มใช้เป็นครั้งแรก

เรื่องราวของแกรนด์ไซโก้คือเรื่องราวของความพยายามอันไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์เรือนเวลาที่เที่ยงตรงงดงามไร้กาลเวลา และด้วยคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุด หลอมรวมความเป็นเลิศทั้งทางเทคโนโลยี งานฝีมือชั้นครู ปรัชญาความงาม และการใส่ใจในทุกรายละเอียดของวัฒนธรรมญี่ปุ่น  สมดังปณิธานและวิสัยทัศน์ของ Kintaro Hattori ชายผู้ให้กำเนิดไซโก้เมื่อกว่าร้อยปีก่อนที่ว่า “Always one step ahead of the rest.” หรือ เราต้องก้าวล้ำหน้าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ  พบเรื่องราวของแกรนด์ไซโก้ เรือนเวลารุ่นต่างๆ และสถานที่จัดจำหน่ายในประเทศไทย ได้ที่  https://www.grand-seiko.com/th-th

ส่วนหนึ่งของเรือนเวลา “แกรนด์ไซโก้” ปัจจุบันแบ่งเป็น 3 คอลเล็กชั่นหลัก ได้แก่ Heritage, Elegance และ Sport

Recommend