ผลงานรางวัลชมเชย10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : “สองแคว” เมืองสีสันแห่งสายนํ้า

ผลงานรางวัลชมเชย10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9 : “สองแคว” เมืองสีสันแห่งสายนํ้า

ผลงานเข้ารอบ การประกวดภาพถ่ายสารคดี 10 ภาพเล่าเรื่อง Season 9

โดย พอ อังคุระษี

แนวคิดสารคดี

จังหวัดพิษณุโลกชื่อเดิมคือเมืองสองแคว เกิดจากแม่นํ้าน่านและแม่นํ้าแควน้อยไหลมาบรรจบกันจึงเป็นชื่อที่มาของเมืองสองแคว และมีแม่นํ้ายมไหลผ่าน จึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมและประเพณีของชาวพิษณุโลกที่เกี่ยวข้องกับแม่นํ้ามาโดยตลอด ยามหน้านํ้าหลากชาวบ้านก็พากันออกหาปลา พอนํ้าลด ก็ทำไร่ทำนา ทำสวน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพและปริมาณนํ้าในแต่ละปีด้วยความเคยชิน ซึ่งขัดแย้งกับ บางระกำโมเดล ที่เป็น วาทะกรรมของนักการเมืองที่โยนให้กับชาวบ้านว่าได้รับความเดือดร้อนจากนํ้าท่วมในแต่ละปีและต้องมีงบประมาณมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แต่ความเป็นจริงแล้ว ใครจะรู้ว่า ชาวบ้านเคยชินกับผืนแผ่นดินที่แห้งแล้งและนํ้าท่วมซํ้าซากทุกๆปีจนเป็นความเคยชิน นี่ต่างหากคือความจริง

เรือนแพริมแม่นํ้าน่านหน้าวัดจันทร์ตะวันออก การเจริญเติบโตของเมือง และการก่อสร้างตลิ่งคอนกรีต ทำให้เรือนแพโดนไล่ที่และบางส่วนหนีขึ้นไปปลูกบ้านบนบกแทน ตลิ่งฝั่งตรงข้ามกำลังโดนไล่ที่ทำตลิ่งคอนกรีต
คุณพ่อชาวเรือนแพ พาลูกชายตัวเล็กลงหัดเล่นนํ้าในแม่นํ้าน่าน เด็ก ๆ ที่อาศัยในเรือนแพมักจะว่ายนํ้าเป็นตั้งแต่เด็ก ๆ ต้องว่ายนํ้าได้ตั้งแต่ตัวยังเล็ก ๆ
เด็กน้อยพากันเดินข้ามสะพานไม้แห่งสุดท้ายบนแม่นํ้ายม เพื่อไปโรงเรียนที่อยู่บนอีกฝั่งแม่นํ้าแถวบ้านกำแพงดิน เขตติดต่อระหว่างพิษณุโลกกับพิจิตร สะพานนี้มีสัมปทานปีละ 5000 บาท เก็บค่าเดินข้ามคนละ 2 บาท และโดนนํ้าท่วมใหญ๋ในปี 2555 เจ้าของจึงเลิกกิจการ ปัจจุบันมีการสร้างสะพานคอนกรีตทำให้การเดินทางข้ามไปมาสะดวกขึ้น
การแข่งขันเรือยาว ประเพณีที่สำคัญของชาวพิษณุโลก ผู้ชายในแต่ละหมู่บ้านจะรวมตัวกันฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันเรือยาวประเพณีตามวัดต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในแถบ พิษณุโลกและพิจิตร ก่อเกิดความสามัคคีของคนในชุมชน
คนงานกำลังเก็บไข่เป็นไล่ทุ่งตอนตี 5 ก่อนที่จะปล่อยเป็นให้ออกไปหากินบนทุ่งนาที่มีนํ้าเจิ่งนอกและยังไม่ได้ทำนา เป็ดไร่ทุ่งสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับลุงเป้า เจ้าของคอกเป็ดจำนวนสองพันกว่าตัว จากบ้านวังเป็ด อ.บางระกำ
ป้าสุ ชาวบ้านอำเภอบางระกำ กำลังจัดวางปลาบนตะแกรงย่างรมควันที่บริเวณริมแม่นํ้ายมหลังบ้าน ย่างปลาช่วยแม่ตั้งแต่เป็นสาวอายุ 14 จนปัจจุบัน 64 ปี ย่างรมควันตอนบ่าย 3 โมงเย็น เสร็จประมาณ 5 โมงเย็น ตี 4 ก็ขนใส่ซาเล้งไปขายที่ตลาดรถไฟ ในตัวเมืองพิษณุโลก
แหล่งนํ้าหลายๆแห่งมักจะเป็นแก้มลิงที่รับนํ้ามาจากแม่นํ้ายมเพื่อระบายนํ้าไว้ใช้และเป็นที่มีการปล่อยพันธ์ุปลาแล้วมีการจัดงานหว่านแหจับปลาในรอบหลายๆปีทำให้ปลาที่จับได้มีขนาดใหญ่ มีทั้งปลาบึก ปลาสวาย ปลาเทโพ นับเป็นความอุดมสมบูรณ์ที่ก่อให้เกิดอาชีพและรายได้แก่ชาวบ้านในพื้นที่
แม่นํ้ายมยามหน้านํ้าหลาก ปริมาณนํ้าและแรงดันอันมหาศาล มักจะพัดพาหรือทำลายสิ่งกีดขวางในแม่นํ้าให้เสียหายไปได้ ในภาพเป็นสะพานแขวนข้ามแม่นํ้าที่เลิกใช้แล้ว
คุณลุงชาวบ้านชุมแสงสงครามต้องรีบเร่งเกี่ยวข้าวก่อนที่นํ้าจะท่วมต้นข้าวสูงไปกว่านี้ เกี่ยวใส่ในเรือแล้วพายไปตากที่ลานในหมู่บ้านเพื่อรอขาย คุณลุงบอกว่าชินแล้วกับการเกี่ยวข้าวตอนที่นํ้าท่วม บางหมู่บ้านนํ้าท่วมต้นข้าวก็ต้องดำนํ้าไปเกี่ยวข้าวกันเลยทีเดียว
ในบางปีนํ้าไหลท่วมบ้านและพื้นที่การเกษตรเสียหาย แต่สำหรับชาวบางระกำ เวลานํ้าท่วม พ่อแม่จูงลูกหลานมาเล่นนํ้า วัยรุ่นชวนกันมาเดินซื้อของกิน ชาวบ้านก็ตั้งโต๊ะขายของตรงที่นํ้าท่วม ก่อให้เกิดรายได้และกิจกรรมกับคนในชุมชน บ่งบอกว่า บางระกำโมเดล อาจจะเป็นแค่วาทกรรม แต่จริง ๆ แล้วชาวบ้านก็อยู่กันมาและเคยชินกับนํ้าท่วมมาแต่ใหนแต่ไร หรือนี่คือความจริง?

เจ้าของผลงาน : พอ อังคุระษี


อ่านเพิ่มเติม : พรมแดนสุดท้าย ในสายน้ำโขง

Recommend