World Update: นาซายืนยัน ‘พบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยพบมา’

World Update: นาซายืนยัน ‘พบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยพบมา’

World Update: นาซายืนยัน ‘พบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยพบมา’

นักดาราศาสตร์ เปโดร เบอร์นาร์ดดิเนลลิ (Pedro Bernardinelli) และ เกรี่ เบอรน์สไตน์ (Gary Bernstein) ได้ค้นพบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยสังเกตกันมา โดยนาซาได้ยืนยันขนาดของมันอย่างเป็นทางการแล้ว ประเมินว่ามีมวลราว 500 ล้านล้านตันและนิวเคลียส (หรือแก่นกลางของแข็ง) ของดาวหางนั้นกว้างประมาณ 137 กิโลเมตร

ในตอนแรกมันถูกตรวจพบเมื่อปี 2010 แต่ยังไม่มีการยืนยันถึงขนาดของมันจนวันนี้ “เราสงสัยมาตลอดว่าดาวหางดวงนี้จะต้องมีขนาดใหญ่เพราะมันสว่างมาก” เดวิด เจวิตต์ (David Jewitt) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (UCLA) กล่าว

นาซาบรรยายถึงดาวหางดวงนี้ไว้ว่าเป็นก้อนน้ำแข็งใหญ่ยักษ์ที่สกปรกเย็นยะเยือก ทำให้มันมีชื่อเล่นว่า “ก้อนหิมะสกปรก” (dirty snowball) ในขณะที่ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “Bernardinelli-Bernstein” เป็นดาวหางที่ประกอบไปด้วยหิน น้ำแข็ง และเศษฝุ่นอื่นๆ มีอุณหภูมิ -211 องศาเซลเซียส โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างราว 1.6 ถึง 3.2 พันล้านกิโลเมตรด้วยความเร็วประมาณ 35,405 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

“ดาวหางดวงนี้เปรียบได้เป็น ‘ยอดภูเขาน้ำแข็ง’ อย่างแท้จริงสำหรับดาวหางหลายพันดวงที่สลัวเกินกว่าจะมองเห็นได้ในส่วนที่ห่างไกลของระบบสุริยะ” ศาสตราจารย์ เจวิตต์ กล่าว คาดกันวันว่า “ก้อนหิมะสกปรก” นี้มีจุดกำเนิดจากหมู่เมฆออร์ต (Oort cloud) ที่เป็นบริเวณอันห่างไกลที่สุดของระบบสุริยะและเป็นแหล่งที่อยู่ของดาวหางหลายดวง

เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ยักษ์เช่นดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี อีกทั้งยังอาจถูกรบกวนจากดวงดาวนอกระบบสุริยะ ส่งผลให้มันโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรียาว 3 ล้านปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ “มันถูกขับออกจากระบบสุริยะอย่างไม่เป็นระเบียบเหมือนการเล่นเกมพินบอลแรงโน้มถ่วงท่ามกลางดาวเคราะห์นอกระบบขนาดใหญ่” นาซาอธิบาย 

นักดาราศาสตร์หวังว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับดาวหางดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมานี้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมันกลายเป็น “วัตถุที่น่าอัศจรรย์” ตามคำกล่าวของ มานทู ฮุย (Man-To Hui) จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเก๊า หนึ่งในผู้เขียนรายงาน

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

Photograph by NASA, ESA, MAN-TO HUI (MACAU UNIVERSITY OF SCIENCE  

ที่มา

https://www.space.com/hubble-space-telescope-largest-comet-nucleus-bernardinelli-berstein

https://iopscience.iop.org/article/10.3847/2041-8213/ac626a

https://www.bbc.com/news/science-environment-61097826

Recommend