ไมโคพลาสมา แบคทีเรียก่อโรค คล้ายหวัด ปอดอักเสบ ที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไมโคพลาสมา แบคทีเรียก่อโรค คล้ายหวัด ปอดอักเสบ ที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไมโคพลาสมา เชื้อ แบคทีเรียก่อโรค ในคนคล้ายหวัดและปอดอักเสบ ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไมโคพลาสมา(Mycoplasma pneumoniea) เป็นเชื้อ แบคทีเรียก่อโรค ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่สามารถสร้างการติดเชื้อในส่วนต่างๆ ของร่ายกายได้ ไม่ว่าจะเป็น ปอด ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ หรือแม้แต่ระบบสืบพันธุ์ ขึ้นอยู่กับชนิดเชื้อ แต่ส่วนใหญ่จะโจมตีที่ปอด ทำให้ผู้ติดเชื้อหลายคนเกิดอาการปอดอักเสบ หรือปอดบวม

อาการติดเชื้อของ ไมโคพลาสมา

อาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อไมโคพลาสมาจะคล้ายไข้หวัด เช่น ไข้สูง 38 องศาเซลเซียส, ไอแห้งอาจมีเสมหะขาว ผู้ป่วยหลายคนมีอาการไอบ่อย จนทำให้เจ็บกล้ามเนื้อหน้าอก, เจ็บคอ คันคอ, เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ, ปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจพบผื่นแดง โดยหลายคนสามารถหายได้เอง

ไมโคพลาสมา, แบคทีเรียก่อโรค, แบคทีเรีย, เซลล์
ภาพขยายของเซลล์ Mycoplasma pneumoniae ที่มา cdc.gov

ขณะเดียวกัน บางคนอาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและภูมิคุ้มกันที่ทำการตอบสนอง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Mycocarditis) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการหมดสติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ หรือเกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้เช่นกัน, ภาวะสมองอักเสบ (meningoencenphalitis) ทำให้เกิดไข้สูง ชัก หรือหมดสติ

คนเราติดเชื้อ ไมโคพลาสมา ได้อย่างไร?

แบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่เชื้อได้เช่นเดียวกับหวัดด้วยการหายใจสูดเอาละอองเข้าไปจากคนสู่คน โดยเฉพาะในพื้นที่ปิดและผ่านคนในครอบครัว ในประเทศไทย เคยมีรายงานการระบาดที่ จ.อุตรดิตถ์ แล้วเมื่อปี 2012 โดยผู้ติดเชื้อเป็นทหารเกณฑ์ผลัดหนึ่ง ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ปอดอักเสบ และแพร่ระบาดภายในกลุ่ม

จากการสอบสวนโรคพบว่ามีผู้ป่วย 96 รายซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ทั้งหมด ในจำนวนนี้มี 15 รายที่มีอาการรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

ไมโคพลาสมา, แบคทีเรียก่อโรค, แบคทีเรีย
ภาพประกอบ http://www.lymeticks.org/

นอกจากนี้เมื่อปี 1988 เคยมีรายงานว่าพบผู้ป่วย 1 รายที่เกิดอาการหัวใจช็อก เป็นเด็กชายไทยอายุ 14 ปีและเข้ารับการรักษาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาฯ

โดยแพทย์วินิจฉัยกรณีนี้ว่าเกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อยึดลิ้นหัวใจที่มาจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเชื่อว่าเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมาทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ยืนยันถึงความคิดนี้ รวมทั้งไม่มีการรายงานว่าเสียชีวิตหรือไม่

โดยการพยากรณ์โรคพบว่าผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติได้ แต่บางรายยังคงภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย และบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็พบได้น้อยมาก

ไมโคพลาสมา
Mycoplasma pneumoniae

การรักษา

โดยปกติแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม ‘Marcrolides’ หรือ ‘Doxycycline’ และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ ยกเว้นรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง กระนั้นก็มีเชื้อบางชนิดที่ดื้อยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ขณะเดียวกันก็ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน

การป้องกัน

เช่นเดียวกับโรคหวัดและโควิด-19 การใส่หน้ากากป้องกันจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก รวมถึงล้างมือบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด เป็นต้น

ที่มา
.
https://www.bbc.com/thai/articles/cy0k5kjjln3o
https://www.cdc.gov/pneumonia/atypical/mycoplasma/about/prevention.html
https://www.webmd.com/a-to-z-guides/mycoplasma-infections
https://www.tnnthailand.com/news/health/135466/
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1046840
https://www.tnnthailand.com/news/health/135448/

อ่านเพิ่มเติม ความรู้ประจำวัน : 20% ของอากาศที่เราหายใจมาจากแบคทีเรีย

Recommend