‘อาการ เมารถ ‘ เกิดจากอะไร และเราจะป้องกันได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญแนะนำอย่างไรบ้าง
หลายครั้งการเดินทางด้วยเรือ รถยนต์ หรือแม้แต่ในโลกเสมือนจริงก็ทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายใจ ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำอย่างไรบ้างกับเรื่อง เมารถ
.
ต่อให้เป็นการล่องเรือคาตามารันในโออาฮู (Oahu), ฮาวาย (Hawaii) หรือการขี่อูฐผ่านทะเลทรายในโมร็อกโกก็ตงไม่ใช่ประสบการณ์การพักผ่อนที่น่าอิจฉาสำหรับนักท่องเที่ยวหลายคน เพราะพวกเขาพบกับอาการคลื่นไส้ วิงเวียน และเหงื่อออก
.
อาการแบบเมารถแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับเกือบทุกคน รวมทั้งเด็กและสุนัข หรือแม้แต่ผู้ที่เคยชินกับสถานที่นั้นอยู่แล้วก็ตาม การศึกษาชี้ว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ขับรถมีอาการเมา และการสำรวจล่าสุดโดยสมาชิกของกองทัพเรืออินเดีย, ชาวประมงไอซ์แลนด์ และนักชีววิทยาทางทะเลในเซาท์แคโรไลนา ระบุว่าร้อยละ 80 ของคนที่ทำงานบนเรือมีอาการเมาเรือในบางครั้ง
.
แล้วสาเหตุนั้นคืออะไร? นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจว่าทำไมบางคนจึงรู้สึกคลื่นไส้ในวินาทีที่ก้าวขึ้นเรือทันที แต่บางคนกลับอ่านนิยายเล่มใหญ่ได้อย่างมีความสุขแม้จะนั่งอยู่เบาะหลังสุดของรถ กระนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ทฤษฎีบางอย่าง
“มนุษย์ไม่ได้วิวัฒนาการมาเพื่อเดินทางในกระสวยอวกาศและเล่นเกมวิดีโอเสมือนจริง” มาร์เซลโล เชอร์ชี (Marchello Cherchi) นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นกล่าว
.
หลายคนเชื่อว่ามันเกิดจากการขัดแย้งกันของประสาทสัมผัสระหว่างสิ่งที่ผู้คนมองเห็นกับสิ่งที่ร่างกายประสบอยู่ เมื่อร่างกายรู้สึกถึงการกระเพื่อมของเรือข้ามฟากในมหาสมุทรหรือการโยกเยกของรถบัสที่ผ่านภูเขาอันคดเคี้ยว
.
ตา หู และประสาทสัมผัสอื่น ๆ ของคุณจึงตามไม่ทัน จึงส่งผลให้มีอาการปากแห้ง วิงเวียน ปวดท้อง หรือปวดหัวตุบ ๆ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าการเปลี่ยนวิธียืน นั่ง หรือเดินบนพาหนะที่เคลื่อนไหวอยู่จะช่วยได้ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่ชื่อว่า ‘ทฤษฎีเสถียรภาพของการทรงตัว’ โดย ทอม สตอฟเฟรเกน (Tom Stoffregen) ศาสตราจารย์ด้านกายวิภาพแห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซดา เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลัก
.
“บนเรือหรือเครื่องบิน คุณต้องเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหวในลักษณะที่ต่างออกไป เช่น กะลาสีที่ได้รับ ‘ขาทะเล’ หลังจากไม่กี่วัน” เขากล่าว “กุญแจสำคัญคือการควบคุมร่างกายของคุณ และบางคนปรับตัวได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ” แล้วสำหรับคนทั่วไปล่ะ?
.
วิธีที่ง่ายที่สุดในการต่อสู้กับอาการเมารถคือ เติมความชุ่มชื่นของอากาศบริสุทธิ๋ได้ไหลเวียนระหว่างการเดินทาง เช่นเปิดหน้าต่างในรถ เปิดช่องระบายอากาศเหนือตัวคุณบนเครื่องบิน หรือไปยังดาดฟ้าบนเรือสำราญ และระวังเรื่องการกิน ไม่ว่าจะน้อยหรือมากเกินไป เพราะอาจเพิ่มความปั่นป่วนในท้องไว้ รวมไปถึงวิวทิวทัศน์ที่คุณมองเห็นด้วย
.
“ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อให้แน่ใจว่ามสายตาของคุณจะไม่ถูกบดบัง” นาตาชา ทุซนิก (Natascha Tuznik) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินทางแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิสกล่าว “มองออกไปที่ขอบฟ้าถ้าคุณออกทะเล และนั่งที่เบาะหน้าของรถซึ่งคุณจะมองเห็นถนนและสิ่งที่กำลังจะมาถึง” การเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้ประสาทสัมผัสของคุณทำงานกับร่างกายส่วนอื่น ๆ ได้อย่างดีขึ้น
.
ขณะเดียวกัน งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายทั้งร่างกายและจิตใจ จะช่วยให้มีอาการเมารถน้อยลง เช่น การยืดเหยียดแบบโยคะในวิธีที่ชื่อว่า ‘Puma’ นอกจากนี้ยังใช้ยาได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านั้นจะใช้ได้กับเวลาสั้น ๆ เท่านั้น อุปกรณ์หลายอย่างที่บอกว่าช่วยอาการเมารถได้ก็ ‘ดูเหมือนว่า’ จะช่วยได้ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยจริงจังกับสิ่งของพวกนี้
.
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา
.