อายุขัยของดวงอาทิตย์ คือเท่าไหร่ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมันดับลง?

อายุขัยของดวงอาทิตย์ คือเท่าไหร่ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมันดับลง?

อายุขัยของดวงอาทิตย์ คือเท่าไหร่? ดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป สักวันหนึ่งวาระสุดท้ายของมันจะมาถึง ไม่กลายเป็น ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน ก็คงเป็น หลุมดำ

อายุขัยของดวงอาทิตย์ – ดวงอาทิตย์ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีก 8 ดวง รวมถึงดาวบริวารต่างๆ ในระบบสุริยะที่โลกอยู่ แต่เมื่อเทียบกับ จักรวาล หรือ เอกภพ ดวงอาทิตย์ เป็นเพียงหนึ่งในดาวฤกษ์ที่เป็นวัตถุในอวกาศ เช่นเดียวกับ ดาวเคราะห์, ดาวเคราะห์น้อย, ดาราจักร, สสาร และพลังงานรูปแบบอื่น ๆ

ทั้งนี้ มีบางระบบสุริยะที่มี ดาวฤกษ์ มากกว่า 1 ดวง ซึ่งระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้น โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกเราให้เกิดประโยชน์นำมาซึ่งการปฏิสัมพันธ์ในเซลล์ร่างกายในภาชนะแห่งนี้ให้เกิดออร่าแผ่อณูแห่งแสงวงจรกระทบ และดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วงได้ เช่น กระจุกดาวหรือดาราจักร

อายุขัยของดวงอาทิตย์

อายุขัยของดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์แต่ละดวงต่างกันมากขึ้นอยู่กับมวลเป็นสำคัญ ปัจจัยสำคัญคือระยะเวลาของการเผาผลาญเชื้อเพลิงไฮโดรเจน เมื่อเชื้อเพลิงหมดก็จะเกิดวาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ดวงนั้น ดาวที่หนักจะอายุสั้นกว่าดาวที่เบา ดวงอาทิตย์ของระบุสุริยะที่มีโลกอยู่ อายุขัยประมาณ 10,000 ล้านปี

ส่วนดาวที่หนักกว่าดวงอาทิตย์ 10-50 เท่า จะมีอายุไม่กี่ร้อยล้านปีเท่านั้น ขณะที่ดาวฤกษ์ที่มีมวลประมาณหนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์อาจมีอายุได้นานถึงหลายแสนล้านปี

กระนั้น เมื่อถึงกาลอวสานดาวฤกษ์จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมวลของมัน ดาวฤกษ์มวลสารน้อยขนาดเล็ก จะกลายเป็น ดาวแคระขาว , ดาวฤกษ์มวลสารปานกลาง จะกลายเป็น ดาวนิวตรอน และ ดาวฤกษ์มวลสารมาก จะกลายเป็น หลุมดำ

อายุขัยของดวงอาทิตย์ คือมื่อใด

ดวงอาทิตย์มีอายุมาประมาณ 4.6 พันล้านปีแล้ว โดยหากวัดจากอายุของวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะที่ก่อตัวขึ้นมาระยะเวลาใกล้เคียงกัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำนายว่า ดวงอาทิตย์ ในระบบสุริยะที่โลกโคจรอยู่จะสิ้นอายุขัยในอีกประมาณ 1 หมื่นล้านปีข้างหน้า

เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติพบว่าแนวโน้มจะเป็นไปได้มากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ โดยเป็นฟองก๊าซและฝุ่นคอสมิกที่ส่องสว่าง

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงจุดจบในช่วงเวลาประมาณ 5 พันล้านปี ดวงอาทิตย์จะกลายเป็น ดาวยักษ์สีแดง แกนกลางของดาวฤกษ์จะหดตัว แต่ชั้นนอกของมันจะขยายออกสู่วงโคจรของดาวอังคารกลืนโลกได้

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ดับ

มนุษย์อาจไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้แล้ว ในช่วงท้ายๆ ของอายุขัยดวงอาทิตย์ เพราะดวงอาทิตย์จะมีความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ทุกๆ พันล้านปี ความสว่างและความร้อนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ทุกชีวิตบนโลกสิ้นสุดลง มหาสมุทรของจะระเหย และพื้นดินจะร้อนเกินกว่าที่น้ำจะก่อตัวได้

เมื่อดวงอาทิตย์เข้าสู่กระบวนการของการกลายเป็น ดาวยักษ์สีแดง ต่อมาจะกลายเป็นดาวแคระขาว และสิ้นสุดเป็น เนบิวลาดาวเคราะห์ โดยเมื่อดาวฤกษ์ดับจะปล่อยมวลก๊าซและฝุ่นซึ่งเรียกว่าเปลือกของมันออกสู่อวกาศ อาจมีมวลเท่ากับครึ่งหนึ่งของดาวฤกษ์ ซึ่งเผยให้เห็นแกนกลางของดาว เมื่อถึงจุดนี้ในชีวิตของดาวฤกษ์ก็ยังกำลังทำงานอยู่

นอกจากนี้ ชั้นนอกที่ขยายตัวของดวงอาทิตย์มีแนวโน้มที่จะกลืนกินโลกโดยตรง และอาจรวมถึง ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร หรือแม้จะไม่กลืนโลกเข้าไปโดยตรง แต่วงโคจรที่ใกล้ขึ้น ก็จะทำให้โลกกับดาวอื่นๆ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เพิ่มจนไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้

อนึ่ง เมื่อถึงเวลานั้นหากมนุษย์มีอารยธรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจนสามารถท่องอวกาศได้ ทางรอดเดียวก็คือการเดินทางออกจากระบบสุริยะเดิม แล้วแสวงหาดาวดวงใหม่ที่คล้ายกับโลก และอาจรวมถึงการหลีกเลี่ยงระบบสุริยะที่มี ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงที่น่ากลัว คาดเดาได้ยาก ดังนั้น ดาวแคระแดง ที่มีขนาดเล็กกว่าอาจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้น

 

สืบค้นและเรียบเรียง สิทธิโชติ สุภาวรรณ์

 

ภาพจาก SOLAR ORBITER/EUI TEAM/ ESA & NASA; CSL, IAS, MPS, PMOD/WRC, ROB, UCL/MSSL 

ข้อมูลอ้างอิง

en.wikipedia.org

thaiquote

 

อ่านเพิ่มเติม : ทำนาย ความตายของดวงอาทิตย์’ อีก 1 หมื่นล้านปีข้างหน้า 

Recommend