เราอาจได้ยินเรื่องคนหน้าเหมือนที่ไม่มีความเกี่ยวข้องมาไม่น้อย และวิทยาศาสตร์ก็อธิบายว่าทำไมบางคนหน้าเหมือนกันจนน่าประหลาดใจได้โดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย ซึ่งเรียกกันว่า doppelgängers กระบวนการเหล่านั้นคืออะไรและมันเกิดขึ้นได้อย่างไร? หากคำตอบได้ในบทความนี้
ชาวอินเตอร์เน็ตมักมีมุกเกี่ยวกับคนหน้าเหมือนมาแซวกันอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะคนมีชื่อเสียงหลายคนที่มักจะมีหน้าตาเหมือนกับคนไทยด้วยกันเอง หรือเหมือนกับดาราต่างประเทศจนหลายครั้งต้องจัดงานประกวดคนหน้าเหมือนกันอย่างสนุกสนานซึ่งสร้างสีสันให้กับชุมชนออนไลน์อย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตามทำไมถึงมีคนมากมายที่หน้าตาคล้ายกันมากราวกับเป็นฝาแฝดกันทั้งที่พวกเขาไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลยในทางเครือญาติ? เรื่องนี้วิทยาศาสตร์อธิบายว่า คนหน้าเหมือนเหล่านั้นมีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน แม้จะไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกันเลยก็ตาม ดังนั้นบนโลกใบนี้คุณอาจมี ‘แฝดที่ไม่ฝา’ อยู่ที่ใดสักแห่งหนึ่งก็เป็นไปได้
ความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมระหว่างคนสองคนที่หน้าตาคล้ายกัน
ในช่วงปี 1999 มาเนล เอสเตเยร์ (Manel Esteller) นักพันธุศาสตร์โมเลกุลจากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสเปน ได้ทดสอบความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมระหว่างคนที่หน้าตาคล้ายกันที่ปรากฏในซีรีส์ของ ฟร็องซัว บรูเนลล์ (François Brunelle) ช่างภาพชาวฝรั่งเศส-แคนาดาที่ชื่อว่า “I’m not a look-alike!” และเขาก็พบอะไรบางอย่าง
“พวกเขาคิดว่าผมบ้าไปแล้ว เพราะปกติแล้วศิลปินจะไม่สนใจนักวิทยาศาสตร์” เอสเตเยร์ เล่าว่า บรูเนลล์ ได้แนะนำเขาให้รู้จักแฝดที่ ‘แปลกหน้า’ จากภาพถ่ายของเขาในทั่วทุกมุมโลก ซึ่งส่งตัวอย่างพันธุกรรมให้กับนักวิจัยในรูปแบบของสำลีเช็ดปาก
จากนั้น เอสเตเยร์ และทีมของเขาใช้เวลากว่า 4 ปีในการรวบรวมและเชื่อมโยงทุกอย่างก่อนจะเผยแพร่ผลออกมาในปี 2022 โดยในขั้นแรก พวกเขาได้รับุว่าคนหน้าเหมือนกันคนใดที่ดูคล้ายกันมากที่สุด
“มันเป็นเรื่องที่เป็นกลางมาก” เอสเตเยร์ กล่าว “คนเหล่านี้ถูกทดสอบโดยอัลกอริทึมในหน้า 3 แบบ ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ตำรวจและในสนามบินใช้” และคนที่อัลกอริทึมไม่สามารถแยกแยะได้จากฝาแฝดที่เหมือนกันจริง ๆ ก็ถูกเลือกมาศึกษาเพิ่มเติม
จีโนมของคู่แฝด(ที่ไม่แท้)เหล่านี้ถูกนำมาเปรียบเทียบโดยตรงพร้อมกับเอพิจีโนม (Epicgenome การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดีเอ็นเอที่ส่งผลต่อการแสดงออก)และไมโครไบโอม
ข้อสรุปของ เอสเตเยร์ คือ แม้ว่าเอพิจีโนมและไมโครไบโอของพวกเขาจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่คนหน้าเหมือนกันที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้นจริง ๆ แล้วแบ่งปันการแสดงออกทางพันธุกรรมบางอย่างร่วมกัน โดยพวกเขาอธิบายต่อว่า ลำดับพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ เช่น โครงสร้างกระดูก การสร้างเม็ดสีผิว และการกักเก็บน้ำนั้นล้วนส่งผลต่อลักษณะใบหน้าของมนุษย์
สำหรับบนจีโนมมนุษย์ลำดับเหล่านี้รวมถึงไซต์พอลีมอร์ฟิก (polymorphic sites) ซึ่งเป็นคู่เบสเดี่ยวของดีเอ็นเอที่มีรูปแบบแตกต่างกันทั่วทั้งประชากร และคนหน้าเหมือนกันเหล่านี้มีรูปแบบที่คล้าย ๆ กันเกิดขึ้น หรือกล่าวอีกอย่าง พวกเขามีความแปรผันเหมือนกัน
การเปรียบเทียบทางพันธุกรรมดังกล่าวทำให้แน่ใจได้ว่า ‘สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันมาก’ ในการศึกษานี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันจริง ๆ และความคล้ายคลึงกันในรูปลักษณ์และจีโนมนั้นเป็นเพียงเรื่องบังเอิญเท่านั้นไม่มีอะไรอื่น ซึ่งในท้ายที่สุด เอสเตลเลอร์ชี้ให้เห็นว่ามีวิธีการต่าง ๆ มากมายที่สามารถเชื่อมโยงใบหน้าของมนุษย์เข้าด้วยกัน
“ขณะนี้โลกมีผู้คนจำนวนมากมาย ดังนั้นในที่สุดแล้วผู้คนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันก็จะมีจำนวนมากขึ้น” เขาอธิบาย
ด้วยการพิสูจน์ว่าผู้คนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนั้นมียีนบางอย่างร่วมกัน เอสเตลเลอร์ หวังว่าจะพัฒนาวิทยาศาสตร์การวินิจฉันโดยใช้การจดใจใบหน้าเพื่อวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในเด็กที่หายากได้เร็วขึ้น
กล่าวโดยสรุปอีกครั้ง คนที่หน้าเหมือนกันมักจะมี ‘ความแปรปรวน’ ทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเช่น โครงสร้างกระดูกหรือสร้างเม็ดสีผิว คล้าย ๆ กัน ทำให้พวกเขาดูเหมือนกัน แม้จะไม่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดก็ตาม
พื้นฐานทางพันธุกรรมของบุคลิกภาพ
แนนซี ซีเกล (Nancy Segal) นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่ใช้โครงการภาพถ่ายของ บรูเนลล์ เป็นพื้นฐานในการสืบสวนเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดย แนนซี เป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ฟุลเลอร์ตัน และเป็นผู้อำนวยการกับผู้ก่อตั้ง ‘ศูนย์ศึกษาฝาแฝด’ (Twin Study Center) ซึ่งเชื่อว่าโครงการของ บรูเนลล์ อาจเป็นโอกาสที่ดีในการยุติการโต้เถียงทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนานแต่ไม่ชัดเจนสักที
“(นักวิทยาศาสตร์บางคน)เชื่อว่าความคล้ายคลึงกันของบุคลิกภาพฝาแฝดนั้นไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมที่เหมือนกัน แต่เกิดจากการที่ผู้คนปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนกันโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอก” ซีเกล กล่าว และว่า เมื่อนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นพูดถึงคนหน้าเหมือนกันที่ไม่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ แต่ควรจะมีบุคลิกภาพคล้ายคลึงกันเท่ากับฝาแฝดที่ถูกเลี้ยงแยกกัน”
ซีเกลได้คัดเลือดฝาแฝดที่หน้าตาเหมือนกันจากกลุ่มของ บรูเนลล์ รวมถึงคู่อื่น ๆ ที่เธอบังเอิญเจอในชีวิตจริง ในมหาวิทยาลัย และในงานประชุม พร้อมกับให้แบบสอบภาพบุคลิกภาพที่วัดการเปิดรับประสบการณ์ การมีจิตสำนึก ความเปิดเผย ความเป็นมิตร และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘Big Five’
ซีเกลพบว่าคนที่หน้าเหมือนกัน ‘ไม่มีโอกาส’ ที่จะมีลักษณะบุคลิกภาพเหมือนกันเลย เมื่อเทียบกับฝาแฝดที่มีโอกาสทางสถิติมากกว่าที่จะมีลักษณะเหล่านี้เหมือนกัน คนหน้าเหมือนกันที่ไม่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ก็ไม่เหมือนกันในเรื่องความนับถือตนเองด้วยเช่นกัน
“คนหน้าเหมือนกันที่ไม่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้แตกต่างกันมาก” ซีเกล กล่าว
ความหลงใหลในคนที่หน้าตาคล้ายเรา
แม้ว่าซีเกลจะพิสูจน์แล้วว่าบุคลิกภาพของคนที่หน้าเหมือนกันนั้น ‘แตกต่าง’ กันมากกว่าบุคลิกของฝาแฝดแท้ ๆ แต่ ‘แฝดที่ไม่ฝา’ หรือฝาแฝดแปลกหน้าเหล่านี้ในงานวิจัยของ เอสเตลเลอร์ มีมากกว่าแค่หน้าตาที่เหมือนกัน เพราะยีนที่ควบคุมความยาวกระดูกทำให้ทั้งคู่มีท่วงท่าที่คล้ายคลึงกัน
ในความหมายก็คือ “ถ้าคนหนึ่งเป็นคนสูบบุหรี่ อีกคนก็อาจจะสูบบุหรี่” และในทางกลับกัน เพราะบุคลิกที่เสพติดคือหนึ่งในลักษณะทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับความถนัดและสายตาสั้น
แม้คนหน้าเหมือนจะมีการเดินหรือเสียงที่คล้ายกับคนดัง แต่เขาก็ไม่ได้มีเสน่ห์และพรสวรรค์ความสามารถเหมือนกันเสมอไป
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าจะสามารถหาคนที่หน้าตาเหมือนกันได้หรือไม่นั้นทั้ง ซีเกล และ เอสเตลเลอร์ เผยว่ามีแแพลดฟอร์มออนไลน์ที่สามารถตามหาคนที่เหมือนกันได้มากมายเช่น twinstrangers.net และ /r/Doppelgangers ของ Reddit
แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า “คนเหล่านั้นจำนวนมากมักจะผิดหวัง เพราะการที่คุณหน้าตาเหมือนใครสักคนก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะ ‘เป็น’ เหมือนกัน”
อย่างไรก็ตามแม้ผู้เข้าร่วมโครงการภาพถ่ายของ บรูเนลล์ จะได้พบกันแค่ในช่วงแรก แต่คนที่หน้าตาเหมือนกันที่เข้าร่วมงานวิจัยของ เอสเตลเลอร์ และ ซีเกล ที่พบกันแบบห่างไกลและความสัมพันธ์ของพวกเขาก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย แต่โดยทั่วไปแล้วมนุษย์มักจะถูกดึงดูดจากคนที่คล้ายตัวเอง
“ฉันคิดว่าสิ่งนี้บอกเราเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ที่ว่า เราทุกคนปรารถนาความคล้ายคลึงกัน” ซีเกล กล่าว “เราต้องการสิ่งที่คล้ายกับเรา เมื่อเด็กเล็ก ๆ มีเพื่อนในจินตนาการ พวกเขาก็จะเป็นแบบนั้นเสมอ”
เอสเตลเลอร์ ได้ยินมาว่าคนที่หน้าตาคล้ายกัน 2 คนจากโครงการภาพถ่ายของ บรูเนลล์ ได้กลายมาเป็นคู่รักและแต่งงานกัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าบางทีคนที่ไปเข้าร่วมงานประกวดคนหน้าเหมือนก็อาจได้รับรางวัลที่ดีกว่าเงินของผู้ชนะ
นั่นคือมิตรภาพนั่นเอง
สืบค้นและเรียบเรียง : วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
PHOTOGRAPH BY FRANÇOIS BRUNELLE, @FRANCOISBRUNELLE.DOUBLES
ที่มา
https://www.nationalgeographic.com/science/article/look-alikes-doppelganger-twin-stranger