พบกับต้นไม้กินแมลงจอมเห็นแก่ตัว

พบกับต้นไม้กินแมลงจอมเห็นแก่ตัว

ต้นไม้กินแมลง
ทีมนักวิจัยยังพบอีกว่าดอกของหยาดน้ำค้างสายพันธุ์ Drosera tokaiensis หุบดอกเพื่อตอบสนองกับการสัมผัสที่อันตราย
ภาพถ่าย Kazuki Tagawa

พลังที่คาดไม่ถึงของดอกไม้

ดูเหมือนว่าหยาดน้ำค้างจะเชี่ยวชาญในการหากลยุทธ์มาช่วยให้มันอยู่รอด ในระหว่างการวิจัย Tagawa และทีมของเขายังค้นพบเพิ่มอีกว่าดอกไม้ของต้นหยาดน้ำค้างมีการตอบสนองเป็นพิเศษต่อการสัมผัสทางกายภาพ

“เราไม่เคยทราบมาก่อนว่าต้นไม้สามารถหุบดอกได้ด้วย ในฐานะปฏิกิริยาตอบสนองจากการถูกสัมผัส” Tagawa กล่าว และตัวเขาได้บันทึกภาพถ่ายของปฏิกิริยาตอบสนองจากดอกไม้เมื่อถูกสัมผัสมาให้ชมกัน

สำหรับพืชบางชนิด เป็นที่รู้กันดีว่าพวกมันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพอากาศ พวกมันอาจหุบดอกเมื่ออากาศมีความชื้นสูงขึ้นหรือมีอุณหภูมิลดลง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนหรือหิมะทำอันตรายต่ออวัยวะภายในดอก ซึ่งดูเหมือนว่าต้นหยาดน้ำค้างจะใช้เทคนิคเดียวกันนี้ในการปกป้องดอกของมันจากนักล่า โดยเฉพาะกับมอธ sundew plume จากรายงานที่เคยเผยแพร่ลงในวารสาร Plant Species Biology กลีบของต้นหยาดน้ำค้างสายพันธุ์ Drosera tokaiensis และ Drosera spatulate พับเก็บขึ้นภายใน 2 – 10 นาที หลังต้นของมันถูกจับเขย่าด้วยแหนบ

ต้นไม้กินแมลง
ชุดภาพถ่ายนี้แสดงให้เห็นว่าดอกของหยาดน้ำค้าง Drosera tokaiensis หุบอย่างไร
ภาพถ่าย Kazuki Tagawa

เจ้ามอธสายพันธุ์นี้มักแทะกินหยาดน้ำค้างเป็นดั่งขนมหวาน ดังนั้นแล้ว Tagawa เชื่อว่ากลยุทธ์พิเศษนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้มันปกป้องเซลล์สืบพันธุ์ภายในดอก ซึ่งในอนาคตทีมนักวิจัยจะหารายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองนี้

“การหุบกลีบดอกมีสิ่งที่ต้องแลก เนื่องจากแมลงที่ทำหน้าที่ผสมเกสรจะไม่สามารถเข้าถึงได้” Tagawa กล่าว แต่จะว่าไปแล้วเรื่องนี้ก็คล้ายๆ กับการขโมยเหยื่อ หากว่าหยาดน้ำค้างยังสามารถผสมเกสรให้ตนเองได้ ก็ไม่น่าเป็นกังวลเรื่องความอยู่รอดเท่าไหร่นัก

เรื่อง Sandrine Ceurstemont

 

อ่านเพิ่มเติม

ต้นไม้ในเมืองใหญ่

Recommend