การเมืองเรื่องน้ำ: ปัญหาการจัดการน้ำในเมืองไทย

การเมืองเรื่องน้ำ: ปัญหาการจัดการน้ำในเมืองไทย

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา การสร้างเขื่อน อ่างเก็บนํ้า และโครงสร้างทางวิศวกรรมสารพัด ทำให้ประเทศไทยมีเครื่องมือบริหารจัดการนํ้ามากมาย แต่คำถามคือ เพราะเหตุใด หลายพื้นที่ยังประสบปัญหานํ้าซํ้าซากแทบทุกปี ถ้าไม่แล้งจัดก็นํ้าท่วมหนัก นํ้าขังระบายช้า ยังไม่รวมถึงปัญหานํ้าเค็มที่รุกเข้ามาทางปากนํ้าต่างๆ ตลอดจนการกัดเซาะชายฝั่งอันเนื่องมาจากตะกอนปากแม่นํ้าลดลง

ปัญหาน้ำท่วม, ภูเขาหัวโล้น, จังหวัดเลย
ภูเขาหัวโล้นในเขตอำาเภอภูหลวง จังหวัดเลย เกิดจากการบุกรุกป่าเพื่อแผ้วถางเป็นพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยว พื้นที่ป่า ที่แปรสภาพไปเป็นต้นเหตุของหลายปัญหา ทั้งอุทกภัย ดินโคลนถล่ม  ตะกอนชะลงสู่แหล่งน้ำ และภัยแล้งซ้ำซาก

หลายฝ่ายผู้หน่ายการเมืองเชื่อว่า การเปลี่ยนขั้วรัฐบาลบ่อยครั้งทำ ให้นโยบายบริหารโครงการนํ้าไม่เคยมีความต่อเนื่อง การบริหารจัดการไร้ประสิทธิภาพแบบ “ต่างคนต่างทำ” ระบบราชการครํ่าครึที่ยังติดระเบียบและโครงสร้างยุ่งเหยิง (เป็นต้นว่า แม่นํ้าสายเดียวมีหน่วยงานรับผิดชอบสามถึงสี่หน่วยงาน แถมยังแยกกันทำงาน) การเมืองแทรกแซง และแสวงหาประโยชน์ นโยบายรัฐบาลไม่ชัดเจน ตลอดจนฝนฟ้าผิดปกติจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นเดียวกับที่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายมองว่า จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การบุกรุกแผ้วถางป่า และการแปรสภาพพื้นที่ทางนํ้าเป็นที่อยู่อาศัย ทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงขึ้น เข้าทำนองมีคนที่ไหนมีปัญหาที่นั่น

กระทั่งเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในที่ลุ่มภาคกลางเมื่อปี พ.ศ. 2554 จนสร้างความเสียหายนับแสนล้านบาทในเวลาเพียงไม่กี่เดือน เรื่องราวของนํ้าจึงถูกปัดฝุ่นขึ้นมาอีกครั้ง รัฐบาลฟาก “เสรีนิยม” เสนอแผนโครงการบริหารจัดการนํ้าที่ใช้เงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท โครงการนี้เต็มไปด้วยแผนการก่อสร้างสุดโต่งที่แทบไม่เคยมีนักวิชาการด้านนํ้าคนใดในประเทศคิดมาก่อน เช่น การสร้างคลองผันนํ้า (บางคนเรียกว่า “แม่นํ้าสายใหม่”) ข้ามลุ่มนํ้าเพื่อช่วยระบายนํ้าในฤดูอุทกภัย โครงการ (ปัดฝุ่น) สร้างเขื่อนในพื้นที่ป่าหลายแห่งที่คาราคาซังมาหลายสิบปี รวมทั้งการจัดสรรอำนาจการบริหารจัดการนํ้าไว้แบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ

ปัญหาน้ำท่วม
ช่างเทคนิคกำลังเร่งมือติดตั้งอุโมงค์ยักษ์เพื่อระบายน้ำในเขตรัชดาฯ-สุทธิสารฯ อุโมงค์ยักษ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางห้าเมตร ระยะทางหกกิโลเมตรนี้ จะช่วยระบายน้ำท่วมขังจากคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2559 อุโมงค์ยักษ์เป็นวิธีระบายน้ำอย่างหนึ่งของกรุงเทพฯ ซึ่งมีพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเล และมักประสบปัญหานำ้าท่วมขังเสมอเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน

ฝ่ายสนับสนุนเชื่อว่านี่คือการฉีกกรอบการบริหารจัดการนํ้าแบบเดิมๆที่เคยเป็นปัญหาเรื่อยมา แต่ฟากต่อต้านชี้ว่า โครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงตามมา ทั้งระบบนิเวศล่มสลาย ทำลายทรัพยากรท้องถิ่น ตอกลิ่มความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน และเอื้อต่อการทุจริตครั้งมโหฬาร แน่นอนว่าท่ามกลางมรสุมทางการเมือง มหากาพย์ความขัดแย้งเรื่องนํ้าจึงปะทุขึ้น และแบ่งแยกความเห็นออกเป็นสองขั้ว เหมือนทุกความขัดแย้งในสังคมไทย

โครงการบริหารจัดการนํ้า 3.5 แสนล้านบาทยกนํ้าท่วมใหญ่ครั้งนั้นมาเป็นจุดขาย แนวคิดเบื้องต้นของโครงการนี้คือเร่งเดินหน้าก่อสร้างโครงการทางวิศวกรรมหลายแห่งในเวลาเพียงห้าปี แม้รัฐบาลจะชี้ว่าเป็นเสมือนการลงทุนทำประกันชีวิตสุขภาพประเทศจากภัยพิบัติ แต่ความรีบร้อนและวิธีการดำเนินงานแบบ “ทำไป ศึกษาไป” ก็ทำให้นักวิชาการด้านนํ้าหลายคนสุดจะทน

“ผมพูดเสมอว่ารัฐบาลใจร้อนเกินไป แล้วกำลังหลงทางเสียด้วยครับ” ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทานและนักวิชาการด้านนํ้ากล่าวและเสริมว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่เคยมีนโยบายด้านนํ้าที่ชัดเจนจากรัฐบาลชุดใดๆ และไม่มีแม้กระทั่งหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพด้านนํ้า ต่างคนต่างทำงานในกรอบอำนาจแบบราชการไปวันๆ รวมทั้งแผนบริหารจัดการที่ใช้งบมหาศาลเร่งด่วนนี้ก็ขาดการวิเคราะห์รอบด้าน ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหานํ้าเรื่องอะไร เงินแก้ปัญหาไม่ได้ทุกเรื่องเสมอไปหรอกนะครับ”

ปัญหาน้ำท่วม, แม่แจ่ม, เชียงใหม่
ชาวบ้านแม่ซา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เดินป่าเพื่อทำแผนที่สำหรับใช้เป็นหลักฐานกำหนดแนวเขตพื้นที่ทำกินและเขตป่าของชุมชน

การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่ยังเป็นที่กังขาว่าสามารถช่วยแก้ปัญหานํ้าได้อย่างยั่งยืนจริงหรือ โดยเฉพาะในภาวะที่ภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง โครงการที่เคยศึกษากันมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วอาจต้องคิดใหม่

“การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คาดหวังไม่ได้ครับว่าจะแก้ปัญหานํ้าได้ เพราะจะมีนํ้าเต็มเขื่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฝนจะตกที่เหนือเขื่อนหรือเปล่าก็ตอบไม่ได้” รองศาสตราจารย์ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว “ตอนนี้เราต้องคิดแล้วครับว่า ระหว่างสร้างราคาหมื่นล้านตัวเดียวกับร้อยล้านร้อยตัว อันไหนคุ้มกว่ากัน อันไหนกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่ากัน”

(อ่านต่อหน้า 3)

Recommend