ปัจจุบันองค์กรธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับโลกต่างมีเป้าหมายการไปสู่ความเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 เป้าหมายนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากองค์กรนั้นมีแผนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายทางสู่มือผู้บริโภคอย่างจริงจัง
เช่นองค์กรอย่างเอสซีจีที่เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด จึงเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้การวางโร้ดแมปจากนี้ไปถึงวันข้างหน้าชัดเจน ด้วยกรอบการดำเนินงานที่มีหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากล และยังเพิ่มเติมมิติอื่นๆ ให้ครอบคลุมอีกด้วย
อย่างแนวทางของเอสซีจีที่ไม่เพียงคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environmental) เท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงสังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance) อีกด้วย ตามแนวคิด ESG 4 Plus “มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ” เพื่อแก้วิกฤตสู่โลกที่ยั่งยืน เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด สร้างสรรค์นวัตกรรมรักษ์โลก ลดสังคมเหลื่อมล้ำ ด้วยความเชื่อมั่นโปร่งใส
แผนงานภาพรวมสู่ NET ZERO
ก่อนจะไปถึงปี 2050 เอสซีจีวางแผนงานเป็นลำดับขั้น เป้าหมายแรกคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ภายในปี 2030 โดยที่กระบวนการผลิตยังดำเนินไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในทุกส่วนธุรกิจ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามแผนงาน และมีส่วนร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำในภาพรวม
แผนการจัดการด้านพลังงาน
การจัดการพลังงานคือปัจจัยสำคัญ พลังงานหลักในการผลิตปูนซีเมนต์คือถ่านหิน หลายปีที่ผ่านมาเอสซีจีได้บริหารจัดการพลังงานใหม่ ทำให้สามารถลดการใช้ถ่านหินลงถึง 35 % โดยใช้เชื้อเพลิงทางเลือกทั้ง เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) และ เชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) ซึ่งเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน รวมถึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการนำพลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิตหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยเดินหน้าเปลี่ยนผ่านพลังงานให้เข้ามาทดแทนถ่านหินเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนจากโซลาร์เซลล์ เพื่อทดแทนการซื้อพลังงานไฟฟ้าในโรงงานอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ขณะเดียวกันก็มีแผนมองหาโอกาสจากพลังงานอื่นอีก เช่น พลังงานลม ที่กำลังศึกษาอยู่ โดยต้องวางแผนร่วมกับทางภาครัฐ และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ
แผนธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม
เอสซีจีได้พัฒนาแนวทางการก่อสร้างที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ 3 แนวทางคือ
- Green Product ศึกษาและพัฒนาซีเมนต์และคอนกรีตที่มุ่งลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- Green Solution ที่ใช้เทคโนโลยี และระบบดิจิทัล ในการจัดการโปรเจค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้าง
- Green Circularity ซึ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการแปลงของเหลือทิ้งให้มีมูลค่า
โดยเอสซีจี ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เช่น ปูนไฮบริด ที่เป็นปูนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแรกของไทย ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลและการใช้ลมร้อนเหลือทิ้ง ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตได้ถึง 05 ตัน ต่อซีเมนต์ 1 ตัน และยังมีคอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค สูตรรักษ์โลกที่ลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูงสุด 16 กก. ต่อ คอนกรีต 1 คิว
- การรับรองสินค้าและบริการด้วยฉลาก SCG Green Choice เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ทั้งการลดโลกร้อน การลดการใช้ทรัพยากร และการส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี
- รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามา เช่น ‘CPAC Drone Solution’ ที่ควบคุมการก่อสร้างหน้างานให้มีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดต่างๆ ‘CPAC BIM’ ที่ใช้ข้อมูลมาออกแบบการก่อสร้างอย่างแม่นยำผ่านแพลตฟอร์มที่ดึงการทำงานร่วมกันของทั้งสถาปนิก วิศวกร ผู้ก่อสร้าง และเจ้าของโปรเจค รวมถึง ‘CPAC 3D Printing Solution’ นวัตกรรมก่อสร้างด้วย 3D Printing ที่ช่วยลดวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการก่อสร้าง
ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แผนการดูดซับคาร์บอนด้วยธรรมชาติและเทคโนโลยี
นอกจากการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมแล้ว สิ่งที่จะทำให้การชดเชยคาร์บอนได้ผลที่สุดก็คือการเพิ่มพื้นที่ป่า โดยในปี 2564 เอสซีจีได้ร่วมมือกับเครือข่ายปลูกต้นไม้ ทั้งป่าปก ป่าชายเลน และหญ้าทะเลในพื้นที่ต่างๆ ไปมากกว่า รวมกว่า 160,000 ต้น ในพื้นที่ 700 ไร่ และคิดเป็นการดูดซับคาร์บอน (Carbon Sink) ไปได้ 10,000 ตัน* และจะเดินหน้าเพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอนอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมปลูกป่า สร้างฝายเพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวซึ่งเอสซีจีทำมาอย่างต่อเนื่อง
ไม่เพียงการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านป่า เอสซีจียังศึกษาเทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization, and Storage) เพื่อเผยศาสตร์การดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากคาร์บอนในสายการผลิตซีเมนต์ นี่เป็นงานใหญ่ที่เอสซีจีกำลังศึกษาร่วมกับหลายภาคส่วน ซึ่งเมื่อทำสำเร็จในอนาคตจะมีส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างมีนัยยะสำคัญ
นอกจากนั้น เพื่อเร่งสู่ความสำเร็จ เอสซีจีทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย อาเซียน และระดับโลก พัฒนาองค์ความรู้ วิธีปฏิบัติ และพัฒนาแผนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งทั้งหมดนี่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่จะมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
เอสซีจีทุ่มเทเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการดำเนินธุรกิจ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับมาตรฐานวงการก่อสร้างในประเทศไทยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งกระบวนการที่เชื่อมโยงกันจนถึงปลายทางสู่ผู้บริโภค ผ่านแผนงานที่จะไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ NET ZERO ภายในปี 2050