(แมว) สยามเปลี่ยนสี! แมววิเชียรมาศ สร้างสีที่โดดเด่นได้อย่างไร

(แมว) สยามเปลี่ยนสี! แมววิเชียรมาศ สร้างสีที่โดดเด่นได้อย่างไร

” แมววิเชียรมาศ ” สร้างสีที่โดดเด่นไม่เหมือนใครได้อย่างไร? คำตอบคือ ‘ยีนหิมาลายัน’

แมววิเชียรมาศ – การเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในตัวยีนที่เรียกว่า ‘ยีนหิมาลายัน’ ทำให้ขนของสายพันธุ์นี้มีความไวต่ออุณหภูมิเป็นพิเศษ และทำให้พวกมันต้อง “เสี่ยง” ต่อปัญหาสุขภาพบางอย่าง
.
มีแมวกว่า 73 สายพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมแมวนานาชาติ (International Cat Association) ซึ่งส่วนใหญ่คล้ายกันจนยากที่จะแยกแยะแมวบางสายพันธุ์ออกจากกัน
.
แต่ปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นกับแมววิเชียรมาศ (Siamese cats)
.
ด้วยใบหน้าสีเข้มที่ถูกล้อมรอบด้วยสีอ่อนกว่า อุ้งเท้าและหางสีเข้ม ราวกับถูกแต้มไว้ มาพร้อมกับลำตัวสีครีมและดวงตาสีฟ้าเป็นประกาย เราทุกคนจึงเห็นแมววิเชียรมาศมาแต่ไกล ซึ่งโดดไม่เหมือนใครราวกับเป็นเครื่องหมายการค้าประจำตัว
.
สิ่งนี้มีต้นกำเนิดมาจาก “ยีนหิมาลายัน” ซึ่งถูกค้นพบในสายพันธุ์นี้เมื่อปี 2005 โดยถือว่าเป็น “ยีนด้อย” ที่ถูกส่งต่อมาจากทั้งพ่อและแม่ ทำให้ขนมีความไวต่ออุณหภูมิจนเปลี่ยนสีได้
.
เมื่ออยู่ในครรภ์ ลูกแมววิเชียรมาศจะมีอุณหภูมิประมาณ 101 องศาฟาเรนไฮต์ (หรือ 38 องศาเซลเซียส) ซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติของแมว
.
ลูกแมวจะเกิดมาพร้อมสีขาวล้วน จากนั้นบริเวณปลายของแต่ละส่วนเช่น หาง ขา หู และใบหน้าจะเริ่มเย็นลง กระตุ้นให้ยีนหิมาลายันทำงานส่งผลให้เมลานินในร่างกายเปลี่ยนแปลง
.
“คุณจะเห็นว่ามันเปลี่ยนไป” เบ็ตซี่ อาร์โนลด์ (Betsy Arnold) สัตวแพทย์ผู้เลี้ยงแมวในเมืองโรเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก กล่าว ซึ่งเธอเริ่มเพาะพันธุ์แมววิเชียรมาศตั้งแต่ตอนที่เธอยังเป็นวัยรุ่น
.
อาร์โนลด์ระบุว่าเมื่ออายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ เฉดสีเข้มจะเริ่มแพร่กระจายไปยังขาของแมว จากนั้นเมื่ออายุได้ 1 เดือน สีสุดท้ายก็จะปรากฎขึ้นในหลาย ๆ จุด ไม่ว่าจะเป็นอุ้งเท้า หาง จมูก และหู
.
เลสลี่ ลีออนส์ (Leslie Lyons) นักพันธุศาสตร์แมว จากมหาวิทยาลัยมิสซูรีกล่าวว่า การกลายพันธุ์ของยีนหิมาลายันนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติในแมวบ้านที่เอเชียใต้ โดยเขาเป็นคนแรกที่บ่งชี้การกลายพันธุ์ในแมววิเชียรมาศได้
.
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนจะคัดเลือกแมวที่มีสีอ่อนและจุดดำที่โดดเด่นกว่า และแมวเหล่านั้นก็จะส่งต่อยีนไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปรวมถึงสายพันธุ์อื่น ๆ ที่นำมาผสมพันธุ์ จนทำให้เกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมเพิ่มมากขึ้น
.
ดวงตาสีฟ้าสดใสเองก็เกิดจากยีนหิมาลายันเช่นเดียวกัน ยีนนี้ทำให้สีขนของพวกมันเข้มขึ้นตามอายุแมวที่มากขึ้นด้วย รวมถึงบาดแผลหรือการถูกตัดขนก็อาจทำให้สีเปลี่ยนไปด้วยเหมือนกันเช่นหากแมววิเชียรมาศได้รับการผ่าตัด ขนบริเวณที่ถูกโกนก็อาจจะกลับมาในแบบเข้มขึ้น เพราะขนเกิดใหม่จะเย็นลง
.
ในช่วงทศวรรษที่ 1920 แมววิเชียรมาศที่อาศัยอยู่ในมอสโก โดยแมวตัวนั้นสวมแจ็กเก็ตคลุมไหล่ที่ถูกโกน ขนกลายเป็นสีขาวทั้งหมดเนื่องจากบริเวณนั้นถูกทำให้อุ่นขึ้น แต่เวลาผ่านไปมันก็กลับมาเข้มขึ้นกว่าเดิมอีกครั้ง (เมื่อเจออากาศเย็นอีกครั้ง)
.
ลีออนส์กล่าวว่าการกลายพันธุ์ของยีนหิมาลายันนั้นพบในสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วยเช่นกันตัวอย่างเช่น หนูบ้าน กระต่ายหิมาลายัน มิงค์อเมริกัน หรือแม้แต่สุนัขพันธุ์ดัชชุนด์เองก็เคยมีรายงานว่าเกิดการกลายพันธุ์ของยีนตัวนี้
.
ซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่หาได้ยากมากสำหรับสุนัข โดยการกลายพันธุ์ในสัตว์อื่นเช่นนี้ ไม่มีทั้งประโยชน์ หรือสร้างการเสียเปรียบใด ๆ เป็นพิเศษ
.
แต่ลีออนส์ก็กล่าวว่า “มันมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่นกัน” รวมถึงปัญหาสายตาด้วย
.
แมววิเชียรมาศมักมีอาการตาเหล่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็นและการรับรู้เชิงลึก แม้ในบางตัวที่มีดวงตาอยู่ในแนวระดับเดียวกันก็อาจมีอาการตาสั่นได้ ซึ่งเป็นภาวะที่บางครั้งดวงตาจะเคลื่อนไปด้านข้างเล็กน้อยซ้ำ ๆ แบบไม่สามารถควบคุมได้
.
ภาวะนี้อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็นหรือแม้แต่ปัญหาการทรงตัว แต่อาร์โนลด์กล่าวว่าเธอไม่เคยเห็นอาการดังกล่าวในการฝึกฝนแมวของเธอ
.
ทั้งลีออนส์และอาร์โนลด์แนะนำว่าให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงรับแมววิเชียรมาศจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีมาตราฐาน หรือเลือกอุปถัมภ์รับเลี้ยง
.
แต่ไม่ว่าจะมาจากไหน พวกเขาทั้งสองคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่า “แมวสวมหน้ากาก” สายพันธุ์นี้ สามารถขโมยหัวใจของใครก็ได้ทั้งนั้น
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
.
ที่มา

อ่านเพิ่มเติม ทาสแมวตัวจริง! ทำไมคนบางคนถึงหลง “เจ้าเหมียวขนปุย” อย่างโงหัวไม่ขึ้น? วิทยาศาสตร์มีคำตอบหรือไม่?

แมวเหมียว
แมวเหมียว

Recommend