ทำไม “ น้องหมา ” ถึงช่วยให้คุณสบายใจมากกว่ามนุษย์บางคน?

ทำไม “ น้องหมา ” ถึงช่วยให้คุณสบายใจมากกว่ามนุษย์บางคน?

นักจิตวิทยาอธิบายเหตุผลว่าทำไมสุนัขถึงช่วยลดความวิตกกังวล ลดความกดดัน และปรับอารมณ์ได้ดีกว่ามนุษย์ แม้พวกมันจะพูดไม่ได้ก็ตาม หากคุณรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่กับ น้องหมา แสดงว่าคุณทั้งสองเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน

“ น้องหมา สุนัขคู่หูของเราสามารถคาดเดาได้ง่ายและเชื่อถือได้ ความรักแบบไม่มีเงื่อนไขที่เราได้รับจากสุนัขของเราทำให้เรารู้สึกปลอดภัย” อีวานเกไลน์ วีวเลอร์ (Evangeline Wheeler) ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโทวซัน ในรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกากล่าว

“สุนัขไม่ตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์คุณ พวกเขาแค่นั่งอยู่ที่นั่นและมองคุณด้วยสายตาที่เปี่ยมไปด้วยความรัก” เธอเสริม การให้กำลังใจของสุนัขแบบเงียบๆ นี้สามารถส่งผลให้เกิดความสงบเมื่อคุณวิตกกังวลหรืออยู่ภายใต้ความกดดัน บางครั้งก็มากกว่าการที่มนุษย์หรือคู่รักอยู่กับคุณเลยด้วยซ้ำ

มีงานวิจัยที่มากขึ้นเรื่อย ๆ พบว่าเมื่อเจ้าของสุนัขต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด ร่างกายของพวกเขา (เจ้าของสุนัข) มีแนวโน้มที่จะมีปฏิกิริยาทางร่ายกางน้อยลงเมื่อมีสัตว์เลี้ยงอยู่ด้วย การสนับสนุนจากพวกมัน (สัตว์เลี้ยง) อย่างไม่มีเงื่อนไข ส่งผลกระทบทางจิตใจและพื้นฐานทางสรีรวิทยาอย่างชัดเจน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่เผยให้เห็นว่าสุนัขสามารถปลอบโยนผู้คนได้ ช่วยสงบสติอารมณ์ที่สับสน เป็นผู้ฟังที่ดี และให้การสนับสนุนที่มีคุณค่าในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งพิสูจน์ว่าบางครั้งคำพูดก็ไม่จำเป็น

สุนัข VS การสนับสนุนจากมนุษย์

เมื่อผู้คนถูกจัดให้อยู่ในสถานการณ์ที่พวกเขาถูกขอให้นึกถึง หรือทนต่อการทดสอบ ‘ความเย็น’ โดยที่มือของพวกเขาจุ่มลงในน้ำแข็ง ผู้ที่มีสุนัขอยู่ด้วยจะมีความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผู้ที่มีคู่สมรสหรือเพื่อนอยู่ด้วย

การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ในวารสาร Emotional ฉบับปี 2023 ที่ให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับงานที่สร้างความเครียดเช่น การบวกตัวเลขที่ฉายอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ให้โต้ตอบกับสุนัขที่เลี้ยงไว้ ระบายสีในสมุด หรือรอเงียบ ๆ 10 นาที ทีมวิจัยพบว่าผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขจะมีอารมณ์ดีขึ้น และลดความวิตกกังวลได้มากกว่าผู้ที่รออยู่เฉย ๆ หรือพยายามคลายเครียดด้วยการระบายสี

“สุนัขของคุณให้การสนับสนุนทางสังคมโดยไม่ตัดสิน คุณรู้ว่าสุนัขของคุณไม่ได้ตำหนิที่คุณเครียดหรือทำตัวไร้สาระ” ฮันนาห์ ไรลา (Hannah Raila) ผู้เขียนการศึกษาร่วม นักจิตวิทยาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยซานตาครูซ กล่าว “ถ้าสุนัขของคุณนั่งกระดิกหางอยู่ตรงนั้น คุณก็สามารถรับรู้อารมณ์เชิงบวกจากสุนัขได้”

ในขณะเดียวกัน การศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร ‘Society & Animals’ นักวิจัยได้ทดสอบความตึงเครียดทางสังคมในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 223 คน ซึ่งกำหนดให้ผู้เข้าร่วมต้องนำเสนอผลงาน จากนั้นจึงทำแบบทดสอบเลขในใจต่อหน้ากลุ่มคนที่แสดงออกว่าไม่ได้คาดหวัง ไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือให้กำลังใจ

เมื่อกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบนี้ต่อหน้าสุนัขที่เป็นเพื่อนของพวกเขาก็มีระดับความเครียดลดลง โดยวัดจากความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งหมายความว่ามีความวิตกกังวลน้อยลง ในแง่นี้มันบอกว่าสุนัขสามารถมอบความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ในระดับที่มนุษย์คนอื่นไม่สามารถทำได้

“คุณจะมีความซื่อสัตย์กับสุนัขของคุณ ซึ่งไม่สิ่งนี้สามารถมีกับมนุษย์คนอื่นได้ตลอดเวลา” ลอรี โคแกน (Lori Kogan) นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์ในภาควิชาวิทยาศาสตร์คลินิกที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด กล่าว “เรายอมรับพวกเขาอย่างสมบูรณ์ในแบบที่เป็น และพวกเขาก็ทำแบบเดียวกันเพื่อเรา และพวกเขาก็มีความสม่ำเสมอในเรื่องนี้”

ประโยชน์ของการพูดคุยกับ ‘เจ้าเพื่อนยาก’

เป็นเรื่องปกติที่ผู้คนจะพูดคุยกับสุนัขตลอดทั้งวันเกี่ยวกับสิ่งที่ทำด้วยกัน หรือความน่ารัก ขี้เล่น และซุกซนของลูกสุนัข สิ่งเหล่านี้เป็นการเตือนใจอย่างอ่อนโยนว่าทั้งหมดมีความมากแค่ไหน

“เมื่อคุณพูดคุยกับสุนัข คุณจะเข้าใจได้ว่านี่คือเหตุผลว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในที่ทำงานหรือแม้แต่กับการเงินก็ตาม สุนัขของคุณจะยังคงรักคุณและต้องการคุณ และนั่นทำให้คุณรับรู้ได้ถึงเป้าหมาย” แลร์รี ยัง (Larry Young) ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเกี่ยวกับความผูกพันทางสังคม และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเอมอรี กล่าว

งานวิจัยพบว่า การพูดคุยกับสุนัขของคุณเกี่ยวกับปัญหาที่เต็มไปด้วยอารมณ์สามารถเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการศึกษาจาก Anthrozoös ฉบับปี 2018 ระบุว่าผู้คนเต็มใจที่จะวางไว้วางใจสุนัขของตนเกี่ยวกับอารมณ์ที่ยากลำบากเช่น ความหดหู่ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล การถูกละเลย และความกลัว มากกว่าที่จะคุยกับเพื่อนหรือคู่รัก

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่มีสมมติฐานหนึ่งคือ “สัตว์เลี้ยงเป็นผู้ฟังที่ดี และไม่ตัดสินเพราะพวกเขาไม่ขัดจังหวะหรือตอบกลับ” แดเนียล มิลส์ (Daniel Mills) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมททางสัตวแพทย์ กล่าว “สุนัขจะไม่พยายามแก้ไขปัญหาแบบที่บางคนทำ”

การแสดงอารมณ์อย่างเดียวก็มีคุณค่าโดยเฉพาะอารมณ์ที่ยากลำบาก การวิจัยพบว่าเมื่อผู้คนแสดงอารมณ์ออกมาเป็นคำพูด ความรู้สึกเชิงลบจะรุนแรงน้อยลงทั้งทางจิตใจและทางระบบประสาท โดยเกิดจากการตอบสนองของ ‘อะมิกดาลา’ (Amygdala) ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลความกลัว ความวิตกกังวล และอารมณ์ที่รุนแรงอื่น ๆ

“มนุษย์จำเป็นต้องพูดคุยและแสดงออกถึงความรู้สึกของคุณ ซึ่งค่อนข้างสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในความรู้สึก” มิลส์ กล่าว “ด้วยการพูดออกมา คุณจะสามารถเริ่มเข้าใจมันได้ แทนที่การปล่อยมันให้ลอยอยู่ในหัวของเรา การแสดง (ความรู้สึกเหล่านั้น) ช่วยให้คุณก้าวข้ามอดีตไปสู๋อนาคตได้ และมีการปล่อยวางที่มาพร้อมกัน”

ข้อดีอีกอย่างที่ซ่อนอยู่ : สุนัขของคุณจะไม่มีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่กวนใจคุณ ซึ่งอาจทำให้คุณครุ่นคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ พวกเขามีแนวโน้มที่จะกวนใจคุณมากขึ้น “สุนัขใช้กลยุทธ์บิดเบือนอารมรณ์” มิลส์ เสริม “ความปราถนาที่จะเล่นของพวกเขาไม่สอดคล้องกับการที่คุณถูกทำให้สงบหรือโกรธอยู่”

เมื่อคุณมีปฏิสัมพันธ์ คุณทั้งคู่จะได้รับออกซิโทซินเพิ่มขึ้น (ซึ่งมักเรียกกันว่าฮอร์โมนแห่งความรัก หรือฮอร์โมนของการกอด) ซึ่งจะช่วยลดความเครียดได้ในระยะสั้น ๆ กระบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากงานวิจัยในวารสารนานาชาติด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขฉบับปี 2022 ที่พบว่าเมื่อผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขของพวกเขาขณะที่ทำงานทางไกล จะช่วยเติมเต็มได้อย่างมาก

มันช่วยให้ผู้คนกำกับดูแลตัวเองได้ดีขึ้น มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเล็ก ๆ น้อยๆ เช่นเลี้ยงลูกสุนัข อีกทั้งยังผ่อนคลายและฟื้นฟูร่างกายได้ในแบบที่การปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวทำแบบนั้นไม่ได้

“สุนัขอ่านใจของเราได้อย่างยอดเยี่ยม พวกมันรับรู้ได้เมื่อเราอารมณ์เสีย และพวกมันก็อ่านใจของเราได้ดีกว่าคนบางคนด้วยซ้ำ” โคแกน กล่าว “เพราะสุนัขมีสัญชาตญาณอ่านใจของเราได้ดี เราจึงควบคุมตัวเองเพื่อไม่ให้สุนัขของเราอารมณ์เสีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับเราเช่นกัน” มันคือวงจรการตอบรับเชิงบวก

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา
.
https://www.nationalgeographic.com/premium/article/dog-ease-stress-anxiety-mental-health


อ่านเพิ่มเติม สุนัข ‘ร้องไห้’ เมื่อพบกับเจ้าของคนโปรดอีกครั้ง

Recommend