สัตว์ทะเลตัวจ้อยอย่าง ‘เม่นทะเล’ ช่วยปกป้อง แนวปะการัง แต่พวกมันก็ต้องการปกป้องเช่นกัน
ภายใต้หนามแหลมของเม่นทะเล เปลือกแข็งทรงกลมที่เรียกว่า เทสต์ (test) คือความงามแห่งสีสัน ผิวสัมผัส และความสมมาตร เม่นทะเลมีหลายร้อยชนิด และพบได้ในทุกมหาสมุทรของโลก ตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงระดับความลึกกว่า 6,400 เมตร เมื่อปี 2018 อันเดรช ฮัลลัน ผู้ช่วยนักวิจัยที่พิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียในซิดนีย์ เริ่มถ่ายภาพเปลือกเม่นทะเลที่ถูกซัดขึ้นมาตามชายหาด หรือที่เก็บรวบรวมจากนักดำน้ำ ตลอดจนจากเรือประมงและเรือวิจัย เขาใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์เมื่อปีก่อนสร้างภาพคอมโพสิตทางซ้ายจากภาพถ่ายเดี่ยว 76 ภาพ
โครงการถ่ายภาพนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาวิกฤติสำหรับสัตว์เหล่านี้ ตั้งแต่ปี 2022 เม่นทะเลเผชิญภัยคุกคามจากสคูติโคซิเลียต (scuticociliate) จุลชีพเซลล์เดียวที่กัดกินเนื้อเยื่ออ่อนของเม่นทะเลและทำให้หนามหลุดร่วง การตายเป็นบริเวณกว้างที่เริ่มจากทะเลแคริบเบียนในปีนั้นแพร่ไปทางตะวันออก ซึ่งน่าจะรวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนีย ทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย
การอยู่รอดของเม่นทะเลนับว่าสำคัญยิ่งต่อสุขภาวะของแนวปะการัง ซึ่งพวกมันอาศัยกินสาหร่ายที่อาจงอกงามจนปกคลุมปะการัง นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ฮัลลันมุ่งมั่นบันทึกความงามของสัตว์ชนิดนี้
Stereocidaris granularis rubra
ฮัลลันมักถ่ายภาพเม่นทะเลจากด้านบนเพื่อแสดงความสมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) ด้านที่อยู่ตรงข้ามคือปาก ที่มีฟันห้าซี่ที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร เช่น สาหร่าย เคลป์ และแพลงก์อน ตลอดจนสลักซอกหลืบในหินเพื่อหลบสัตว์นักล่า
Coelopleurus maculatus
Phyllacanthus parvispinus
Parechinus angulosus
คำว่า “urchin” ในภาษาอังกฤษปรากฏครั้งแรกในศตวรรษที่สิบสี่โดยหมายถึง “เฮดจ์ฮอก” เช่นเดียวกับสัตว์บกที่มันได้ ชื่อมา เม่นทะเล (sea urchin) เป็นที่รู้จักจากหนามซึ่งมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น และใช้งานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า จนถึงการเคลื่อนที่ และรับสัมผัส ปกติหนามจะหลุดร่วงจากเปลือกเมื่อเม่นทะเลตายลง แต่เม่นทะเลทางขวาได้รับการรักษาสภาพเป็นพิเศษเพื่อเก็บหนามไว้
Colobocentrotus atratus
Plococidaris verticillata
Temnopleurus alexandri
Goniocidaris tubaria
Goniocidaris mikado
ภาพถ่าย อันเดรช ฮัลลัน
เรื่อง ฮิกส์ โวแกน
แปล กองบรรณาธิการ