โลกร้างใบจิ๋ว

โลกร้างใบจิ๋ว

เรื่อง เจเรมี เบอร์ลิน
ภาพถ่าย ลอรี นิกซ์ และ แคทลีน  เกอร์เบอร์

เมืองที่กลายเป็นซากปรัก รถไฟจอดนิ่งสนิทอยู่บนราง โรงเรียนที่เงียบสงัด ห้องสมุด และเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ทรุดโทรมผุพังไปตามกาลเวลา  ผู้คนอันตรธานไป

นี่คือจุดจบของโลกที่เรารู้จักแต่ลอรี นิกซ์ กลับรู้สึกสบายดี อันที่จริงเธอและแคทลีน เกอร์เบอร์ ซึ่งเป็น คู่หูทั้งในเรื่องศิลปะและชีวิตจริง คือสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังฉากสิ้นโลกเหล่านี้ วันฟ้าหม่นวันหนึ่งในฤดูหนาวทั้งคู่ กำลังทำงานอยู่ในห้องเช่าซึ่งเป็นทั้งที่พักและที่ทำงาน พวกเธอกำลังบรรจงสร้างฉากจำลองสามมิติของหายนะ

นิกซ์และเกอร์เบอร์ใช้มาตราส่วนแตกต่างกันไปในแต่ละฉาก พวกเขาเริ่มจากวัตถุชิ้นหนึ่ง จากนั้นสร้างฉากรอบๆ ขึ้นมา สำหรับห้องสมุดที่มีมอสส์เกาะอยู่ตามฝาผนัง และร่มเงาของต้นเบิร์ชทาบลงบนหนังสือนี้ วัตถุชิ้นนั้นคือลูกโลกใบเล็กทางซ้ายมือ

นิกซ์เล่าว่าเป้าหมายของพวกเธอคือการสร้างและ ถ่ายภาพ “เรื่องราวที่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป นั่นคือแบบจำลองของเมืองยุคไร้มนุษย์ หลังเกิดภัยพิบัติปริศนาทำลายล้างทุกสิ่ง” เพื่อ “ปลดปล่อย กระตุกต่อมคิด และปลุกเร้า” จินตนาการของผู้ชม “เราต้องการ[ให้ผู้ชม] ใคร่ครวญถึงปัจจุบันเราจะยังมีอนาคตอยู่หรือ ไม่ เราจะสามารถปกป้องตัวเองได้หรือเปล่า”

นิกซ์ได้ความคิดส่วนใหญ่ในการรังสรรค์ผลงานอันสลับซับซ้อนนี้จากการนั่งรถไฟใต้ดิน หรือไม่ก็การเปิดหนังสือ ท่องเที่ยวต่าง ๆ แรงบันดาลใจอื่น ๆ มาจากความทรงจำในอดีตของเธอ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตขึ้นในพื้นที่ที่เกิด พายุทอร์นาโดช่วงทศวรรษ 1970 หรือจากภาพยนตร์แนว ภัยพิบัติและแฟนตาซีอย่าง ตึกนรก (The Towering Inferno) และ กำเนิดพิภพวานร (Planet of the Apes) ทุกวันนี้เธอเรียกตัวเองว่า “ช่างภาพภูมิทัศน์จำาลอง”

เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญตั้งเรียงรายทรุดโทรม ผุพัง ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นต้นเหตุอย่างนั้นหรือ “ผู้คนมองว่ายุคสมัยของเรากำลัง อยู่ในช่วงขาลง” นิกซ์กล่าว “แต่เราเริ่มรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า เราจะไม่สามารถรักษา สิ่งต่างๆ รวมถึงตัวเราได้อีกต่อไป”

แต่ “แทนที่จะออกเสาะหาภูมิทัศน์ที่สมบรูณ์แบบ ฉันกลับสร้างมันขึ้นเองบนโต๊ะทำางานในห้องพักนี่เอง”นั่นเป็นจุดที่เกอร์เบอร์ก้าวเข้ามา เธอมีประสบการณ์ ทำงานเกี่ยวกับงานชุบโลหะและเป่าแก้วซึ่งช่วยให้เธอสร้าง ใส่อารมณ์หดหู่และความเก่าเข้าไปในชิ้นงานได้

แบบจำลองขนาดเล็กของพวกเธอมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางตั้งแต่ 50 เซนติเมตรถึง 3 เมตร สร้างจากวัสดุ ทั่วไปอย่างกระดาษและสีอะคริลิก กระดาษลูกฟูกและ ดินเหนียว โฟมสไตรีนและแผ่นพลาสติก ฉากแต่ละฉาก ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ 7 ถึง 15 เดือน นิกซ์ถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มขนาด 8 x 10 นิ้ว  กว่าจะได้ภาพสุดท้ายอาจใช้เวลา ถึงสามสัปดาห์  “คุณจะไม่รู้เลยว่าเป็นภาพถ่ายจากแบบ จำลองที่เราสร้างขึ้น” นิกซ์บอกส่วนเกอเบอร์ทิ้งท้ายว่า “เรามักจะถ่ายภาพที่ผสมผสานระหว่างอารมณ์ขันและ ความพรั่นพรึงเราพยายามเชื่อมโยงงานของเราไปถึงผู้ชม และกระตุ้นให้พวกเขาใช้ความคิดกับมัน”

การใช้ชีวิตวัยเด็กในเมืองเล็กๆ อย่างนอร์ตัน รัฐแคนซัส ทำให้นิกซ์ “เติบโตขึ้นท่ามกลาง อันตรายและภัยพิบัติ ทั้งสภาพอากาศเลวร้าย พายุหิมะ อุทกภัย แมลงระบาด และแน่นอนว่าต้องมีพายุทอร์นาโด” ภาพร้านเสริมสวยที่ย่อยยับจากพายุทอร์นาโดนี้ มีมือของเกอร์เบอร์โผล่เข้ามาในภาพ  เพื่อแสดงให้เห็นขนาดของรายละเอียดเล็กจิ๋ว

ลอรี  นิกซ์  และแคทลีน เกอร์เบอร์ ใช้เวลาเจ็ดเดือนในการสร้างแบบจำลองจิ๋ว ของรถไฟใต้ดินในนครนิวยอร์ก ตู้รถไฟที่มี ต้นวัชพืชขึ้นเป็นหย่อมๆและติดโปสเตอร์ โฆษณาที่เริ่มหลุดล่อน จอดนิ่งสนิทอยู่ กลางทะเลทรายและมีเมืองเป็นฉากหลัง

การใช้ชีวิตวัยเด็กในเมืองเล็กๆ อย่างนอร์ตัน รัฐแคนซัส ทำให้นิกซ์ “เติบโตขึ้นท่ามกลาง อันตรายและภัยพิบัติ ทั้งสภาพอากาศ เลวร้าย พายุหิมะ อุทกภัย แมลงระบาด และแน่นอนว่าต้องมีพายุทอร์นาโด” ภาพร้านเสริมสวยที่ย่อยยับจากพายุทอร์นาโดนี้ มีมือของเกอร์เบอร์โผล่เข้ามาในภาพ เพื่อ แสดงให้เห็นขนาดของรายละเอียดเล็กจิ๋ว

นิกซ์และเกอร์เบอร์แบ่งหน้าที่กันทำางาน สำหรับภาพห้องเรียนกายวิภาคศาสตร์ภาพนี้ นิกซ์เล่าว่า “ฉันสร้างพวกสิ่งของใหญ่ๆ อย่างตู้ ชั้นวางของ  ผนัง พื้น และเก้าอี้ ส่วนแคทลีนสร้างแบบจำลองกายวิภาคทั้งหมด เธอรับงานยากๆ ไปทำค่ะ”

เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญตั้งเรียงรายทรุดโทรม ผุพัง ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นต้นเหตุอย่างนั้นหรือ “ผู้คนมองว่ายุคสมัยของเรากำาลัง  อยู่ในช่วงขาลง” นิกซ์กล่าว “แต่เราเริ่มรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆว่า เราจะไม่สามารถรักษาสิ่งต่างๆรวมถึงตัวเราได้อีกต่อไป”

นิกซ์และเกอร์เบอร์ใช้มาตราส่วนแตกต่างกันไปในแต่ละฉาก พวกเขาเริ่มจากวัตถุชิ้นหนึ่งจากนั้นสร้างฉากรอบๆขึ้นมา สำหรับห้องสมุดที่มีมอสส์เกาะอยู่ตามฝาผนัง และร่มเงาของต้นเบิร์ชทาบลงบนหนังสือนี้ วัตถุชิ้นนั้นคือลูกโลกใบเล็กทางซ้ายมือ

นิกซ์และเกอร์เบอร์แบ่งหน้าที่กันทำางาน สำหรับภาพห้องเรียนกายวิภาคศาสตร์ภาพนี้ นิกซ์เล่าว่า “ฉันสร้างพวกสิ่งของใหญ่ๆ อย่างตู้  ชั้นวางของ ผนัง พื้น และเก้าอี้ ส่วนแคทลีนสร้างแบบจำลองกายวิภาคทั้งหมด เธอรับงานยากๆ ไปทำาค่ะ”

Recommend