การมองย้อนกลับไปในกาลเวลาเผยให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์การแพทย์ เชื่อมโยงกับพันธกิจของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกอย่างไร
นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก แสวงหาการค้นพบสิ่งที่เราไม่ล่วงรู้มาช้านานแล้ว ด้วยการเติมเต็มพื้นที่ว่างในแผนที่ต่างๆ และช่องว่างทางความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา
ในฉบับเดือนมีนาคม ปี 1900 นายแพทย์ใหญ่กองทัพบกสหรัฐฯ จอร์จ เอ็ม. สเติร์นเบิร์ก เขียนสารคดีเกี่ยวกับการแพทย์เรื่องแรก “ประวัติศาสตร์และการกระจายตัวเชิงภูมิศาสตร์ของกาฬโรคต่อมนํ้าเหลือง” ให้นิตยสาร
ในข้อเขียนดังกล่าว สเติร์นเบิร์ก พูดถึงความลังเลในการรับเขียนงานชิ้นนี้โดย อธิบายว่า รายละเอียดว่าด้วยประวัติศาสตร์ ของโรค “อาจทำให้หลายคนเหนื่อยหน่ายและบางคนอาจถึงกับสะอิดสะเอียน”
หลายปีหลังจากนั้น วงการแพทย์ได้ช่วยเหลือนักสำรวจหลายคน ซึ่งในทางกลับกันก็ช่วยขยายพรมแดนความรู้ของวิทยาศาสตรแขนงนี้ด้วย การออกสำรวจครั้งต่างๆ เช่น การเดินทางอันอับโชคไปยังขั้วโลกใต้ของ นาวาเอก โรเบิร์ต ฟอลคอน สกอตต์ มีแพทย์ประจำคณะคอยติดตามดูแลสุขภาพของนักสำรวจ นำไปสู่ความเข้าใจในกลไกทางสรีรวิทยาของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมสุดขั้ว เมื่อโจเซฟ ร็อก เดินทางสู่มณฑลยูนนานของจีนในปี 1924 เขานำบันทึกวิธีรักษาและตำรับยาแผนโบราณกลับมาด้วย ตั้งแต่นั้นมา การแพทย์แผนจีนก็เป็นที่ยอมรับในวงกว้างของแพทย์ชาวตะวันตก
เรื่องราวเกี่ยวกับผู้บุกเบิกและความ ก้าวหน้าทางการแพทย์มักปรากฏในหน้านิตยสารอยู่เสมอ ล่าสุด นวัตกรรมการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้าปรากฏในสารคดีจากปก ฉบับเดือนกันยายน 2018
เรื่อง ลีห์ มิตนิก