เหตุใดแผนที่เก่าจึงเติมสิ่งแปลกๆ ลงในช่องว่าง

เหตุใดแผนที่เก่าจึงเติมสิ่งแปลกๆ ลงในช่องว่าง

เหตุใดแผนที่เก่าจึงเติมสิ่งแปลกๆ ลงในช่องว่าง

แผนที่โลกของ Caspar Vopel ในปี 1558 แสดงให้เห็นว่ามหาสมุทรอินเดียเต็มไปด้วยสัตว์ประหลาดน่าฉงน ปลาดาบขนาดใหญ่เตรียมปะทะเข้ากับเรือเดินสมุทร ถัดไปมีตัววอลรัสกำลังต่อสู้กับงูยักษ์ที่โผล่ขึ้นมาจากน้ำ และพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ขี่สัตว์ประหลาดหน้าหมูกำลังโบกสะบัดธง

Vopel นักเขียนแผนที่ชาวเยอรมัน ผู้อยู่เบื้องหลัง แผนที่เก่า ชิ้นนี้ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดเขาจึงวาดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา แต่เชื่อกันว่าเขาน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก horror vacui รูปแบบงานซิลปะหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อบรรดาศิลปินต่างรู้สึกไม่ชอบใจที่จะทิ้งพื้นที่ว่างในผลงานของพวกเขา Chet Van Duzer นักประวัติศาสตร์การเขียนแผนที่ค้นพบแผนที่ที่แตกต่างกันจำนวนหลายสิบแผ่น ทั้งหมดล้วนเติมเต็มพื้นที่ว่างด้วยภูเขาที่ไม่มีอยู่จริง, สัตว์ประหลาด, เมือง และอื่นๆ อีกมากมาย

เรือเดินสมุทรและกล่องข้อความมากมายช่วยเติมเต็มมหาสมุทรอินเดียอันว่างเปล่า

Van Duzer แสดงการค้นพบของเขาในการประชุมการเขียนแผนที่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นักวิชาการบางท่านระบุว่าความชิงชังที่ผู้สร้างมีต่อช่องว่างเหล่านี้ สร้างอิทธิพลต่อการออกแบบแผนที่ในสมัยก่อน

แต่ Van Duzer การสร้างแผนที่รูปแบบ horror vacui เป็นที่แพร่หลายในการทำแผนที่ช่วงศตวรรษที่ 16 – 17 ยกตัวอย่างเช่นแผนที่ของ Vopel ซึ่งไม่ใช่มีแค่สัตว์ประหลาดและเรือเท่านั้น แต่ยังมีกล่องข้อความที่ระบุคุณสมบัติของที่ดินอีกด้วย อันที่จริงข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ Vopel สามารถใส่ไว้ที่ขอบของแผนที่ได้ แต่เขากลับเลือกที่จะใส่มันไว้ในมหาสมุทรแทน องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้แผนที่โลกดังกล่าวเหลือพื้นที่ว่างน้อยที่สุด

แผนที่เก่า
แผนที่ที่ตกแต่งอย่างงดงามของ Pieter van den Keere สร้างขึ้นในปี 1611
ทวีปอเมริกาเหนือถูกประดับด้วยสัตว์, พรรณไม้ และบรรดานักสำรวจผู้ค้นพบ

หนึ่งในเหตุผลที่ผู้สร้างแผนที่ทำแบบนี้ ก็เพื่อปิดบังความไม่รู้ของพวกเขา รายงานจาก Van Duzer  เมื่อ Pieter van den Keere ผู้สร้างแผนที่ชาวดัชต์สร้างแผนที่โลกขึ้นมาในปี 1611 (ภาพด้านบน) ขณะนั้นทวึปอเมิรกายังไม่ได้ถูกสำรวจอย่างละเอียด แต่แทนที่เขาจะเว้นพื้นที่ว่างไว้ Van Duzer เติมเต็มพื้นที่นั้นด้วยคาร์ทูช (ลวดลายที่อยู่ในฟอร์มรูปไข่) อันประณีต ด้วยกรอบรูป

ไข่ที่ล้อมรอบด้วยอัลลิเกเตอร์, นก และใบไม้นานาพรรณ ส่วนที่ด้านบนจะเห็น Christopher Columbus, Ferdinand Magellan และ Amerigo Vespucci กำลังเพ่งพินิจแผ่นดินอเมริกา

ทวีปแอฟริกาเองก็ยังไม่ถูกสำรวจถี่ถ้วนดีในเวลานั้น แต่กลับมีข้อความบรรยายรายละเอียดของทวีปเอาไว้ ซึ่ง Van Duzer เองระบุว่าบางครั้งก็ไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำไนล์ที่ไหลอยู่ใต้ดินเป็นระยะทาง 60 ไมล์ ก่อนจะโผล่ขึ้นอีกครั้งในทะเลสาบ ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

อีกหนึ่งอิทธิพลที่มีผลต่อนักทำแผนที่เองก็คือตลาด บรรดาขุนนางและเศรษฐีจ่ายค่าตอบแทนอย่างงามเพื่อแลกกับการได้เป็นเจ้าของแผนที่อันหรูหราและตกแต่งอย่างประณีตฟุ่มเฟือย แผนที่ทางการเดินเรือที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย Giovanni Battista Cacallini นักทำแผนที่ชาวอิตาลี  ในปี 1640 แสดงให้เห็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เต็มไปด้วยสีสัน บนแผ่นดินมีเมืองมากมาย และในแผนที่ประกอบไปด้วยเข็มทิศอันงดงามมากเกินความจำเป็น

น่าเสียดายที่อิทธิพลในการทำแผนที่รูปแบบนี้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 บรรดาผู้สร้างแผนที่ยังคงตกแต่งแผนที่ของพวกเขาให้งดงาม ต่างตรงที่พวกเขาทิ้งพื้นที่ว่างของแผ่นดินและผืนน้ำที่ยังคงไม่ได้รับการสำรวจเอาไว้ “นักทำแผนที่เริ่มทำอะไรที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น” Van Duzer กล่าว

เรื่อง เกรก มิลเลอร์

ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลที่เป็นจริงในมหาสมุทรอินเดียก็คือที่ตั้งของกลุ่มเกาะ (แต่มีเพียงกลุ่มเกาะด้านบนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีอยู่จริง)
เข็มทิศรูปดอกกุหลาบ, เรือเดินสมุทร สิ่งเหล่านี้ถูกประดับตกแต่งในแผนที่ของ Pieter van den Keere ที่สร้างขึ้นในปี 1611
แผนที่การเดินเรือของ Giovanni Battista Cavallini ในปี 1640 ประกอบด้วยเมืองมากมายที่ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีอยู่จริง
และเข็มทิศอีก 15 อัน ที่ถูกใส่มาอย่างฟุ่มเฟือย

 

อ่านเพิ่มเติม : ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม แผนที่ในศตวรรษที่ 4 คือเครื่องยืนยันแผนที่กรุงโรมอายุเก่าแก่ 100 ปี ยังคงเป็นผังเมืองที่ดีในปัจจุบัน

Recommend