ส่องวิถีชีวิตของชาว คูเวต ดินแดนแห่งความร่ำรวยสุดขั้ว

ส่องวิถีชีวิตของชาว คูเวต ดินแดนแห่งความร่ำรวยสุดขั้ว

ส่องวิถีชีวิตของชาวคูเวต ดินแดนแห่งความร่ำรวยสุดขั้ว

คูเวต ประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอ่าวเปอร์เซียคือประเทศแห่งความเป็นที่สุด ในช่วงหน้าร้อน อุณหภูมิจะสูงเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีอยู่ในลำดับที่เกือบต่ำที่สุดของโลก และแทบไม่มีแห่งน้ำจืด มีพื้นที่เพียงร้อยละหนึ่งของทะเลทรายที่สามารถทำเกษตรกรรมได้

อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายผืนเดียวกันที่เองที่เป็นแหล่งน้ำมันสำรองลำดับที่ 7 ของโลก และเป็นแหล่งความร่ำรวยมหาศาลของชาวคูเวต

โดยก่อนที่จะค้นพบน้ำมันในช่วงทศวรรษ 1930 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของคูเวตคือไข่มุก และมีพื้นที่สำหรับการทำค้าขายทางเรือ ที่อยู่อาศัยของชาวประมงและชนเผ่าแร่ร่อน อุตสาหกรรมพลังงานของที่นี่มีความใกล้ชิดกับโลกตะวันตก โดยเฉพาะการปลดปล่อยหลังสงครามอ่าวในปี 1991 ค่านิยมจากต่างประเทศได้เข้ามามีอิทธิพลในคูเวตอยู่เรื่อยๆ

ในทุกวันนี้ ประชากรคูเวตที่มีอยู่ประมาณ 1.3 ล้านคนมีวิถีชีวิตที่หรูหรา ซึ่งขับเคลื่อนโดยแรงงานภาคอุคสาหกรรมบริการซึ่งเป็นชาวต่างชาติค่าแรงต่ำกว่า 3 ล้านคน

Gabriele Cecconi ช่างภาพชาวอิตาลี ใช้เวลาสี่เดือนในช่วงปี 2019 และ 2020 ในการบันทึกภาพประเทศนี้

ในภาพถ่าย Cecconi มองว่าเข้าถึงถึงความไม่เข้ากันของระหว่างความเป็นวัตถุนิยมและธรรมเนียมทางศาสนา “ภาวะบริโภคนิยมสุดขั้วคือรูปแบบการชดเชยความรู้สึกที่ตึงเครียดภายในใจ” เขากล่าวและเสริมว่า “ระบบทุนนิยมของเราจะบอกว่าหากคุณได้จับจ่ายใช้สอยจะรู้สึกดีขึ้น สิ่งนี้เกิดขึ้นกับทุกคน ความแตกต่างคือ พวกเขามีเงินทำทุกสิ่งที่ต้องการได้” ซึ่งอาจจะหมายถึงเฟอร์รารี่หรือโคลอสเซียมจำลองส่วนตัว

เรื่อง WERNER SIEFER
ภาพ YGABRIELE CECCONI, PARALLELOZERO

ถนนไฮเวย์สาย 70 เริ่มต้นที่ชายฝั่งในเมืองคูเวตซิตี้ ผ่านพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถอยู่อาศัยได้ในประเทศ ไปจนถึงชายแดนของซาอุดีอาระเบีย
หอคอยน้ำรูปทรงประหลาดในเมืองคูเวตซิตี้ คูเวตเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการใช้น้ำสูงที่สุดในโลก การไม่มีแหล่งน้ำถาวรอย่างแม่น้ำหรือทะเลสาบทำให้คูเวตเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างจำกัด โรงงานผลิตน้ำจากน้ำทะเลเป็นแหล่งน้ำหลักสำหรับใช้ในครัวเรือนหรือดื่มกิน
ในเมืองหลวง หนึ่งในแรงงานข้ามชาติชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในคูเวตนับล้านคนอุ้มลูกของเขาที่หอคอยคูเวต สถานที่แลนด์มาร์กซึ่งออกแบบโดย Malene Bjørn สถาปนิกชาวเดนมาร์ก
ในเมืองคูเวตซิตี้ สวน Al Shaheed พื้นที่สีเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ชาวมุสลิมรวมตัวกันเพื่อละหมาดในมัสยิด ประชากรเกือบทั้งหมดในประเทศเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนหนี่ แม้อิสลามจะเป็นศาสนาทางการ แต่ก็ได้มีการสนับสนุนเสรีภาพการนับถือศาสนาในรัฐธรรมนูญ แรงงานต่างชาติร้อยละ 64 เป็นชาวมุสลิม ส่วนร้อยละ 26 เป็นชาวคริสต์
ในสวนสาธารณะเดียวกันนี้ ผู้ชมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ
ในเมือง Subiya ชาวคูเวตเฉลิมฉลองการได้รับเอกราชสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักรในปี 1961 เรื่องในวันชาติ 25 กุมภาพันธ์ ด้วยเทศกาลว่าวกลางทะเลทราย
หญิงสาวคนหนึ่งโพสท่าในร้านเสริมสวยที่เมืองคูเวตซิตี้ รัฐในอ่าวเปอร์เซียแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในรัฐที่มีอิสระมากที่สุดในภูมิภาค ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องใส่ฮิญาบและมีสิทธิเลือกตั้งมาตั้งแต่ปี 2006 ผู้หญิงบางคนชนะการเลือกตั้งในสภาแห่งชาติ แต่ในขณะนี้สภายังไม่มีผู้หญิงมาทำหน้าที่
ผู้จัดการของคลับแข่งอูฐ (Camel Racing Club) ในเมืองอัล อาห์มาดี ชมการแข่งขันประจำสัปดาห์ การแข่งอูฐในคาบสมุทรอาหรับย้อนไปได้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 7
ผู้หญิงคนหนึ่งควบคุมจรวดอวกาศจำลองในสวนสนุก ที่ศูนย์วัฒนธรรม อัล ซาลีม แห่งเมืองคูเวตซิตี้
ชาวคูเวตมีความใฝ่ฝันที่จะครอบครองสัตว์แปลกหายาก หลังจากเป็นเจ้าของสิงโตสามตัวแล้ว เขามีเสือชีตาห์สองตัวซึ่งเดินไปได้อย่างอิสระในห้องนั่งเล่น แม้การมีสัตว์แปลกหายากในคูเวตยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายในขณะนี้
นักช็อปกำลังอยู่ในร้านขายเครื่องประดับสำหรับเด็กในห้างสรรพสินค้า เมืองคูเวตซิตี้
โรงรถในคูเวตซิตี้ ทั้งรถหรูและรถวินเทตจอดอยู่ในถุงลมกันกระแทก ยานพาหนะเป็นสิ่งน้ำเข้าหลักของคูเวต ที่มีมากกว่า 100,000 คนต่อปี
คูเวตเป็นศูนย์กลางหลักการเพาะพันธุ์ม้าอาหรับสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่ได้รับรางวัล ในเมือง Wafra ฟาร์มแห่งนี้อยู่ติดกับโคลอสเซียมจำลอง

อ่านเพิ่มเติม สุดยอดสถาปัตยกรรมในอาบูดาบี

สุดยอดสถาปัตยกรรม

Recommend