ทำไมการเยือนไต้หวันของสหรัฐสร้างความโกรธแค้นให้กับจีน

ทำไมการเยือนไต้หวันของสหรัฐสร้างความโกรธแค้นให้กับจีน

ทำไมการเยือนไต้หวันของ ประธานสภาฯ สหรัฐฯ ‘แนนซี เพโลซี’ จึงสร้างความโกรธให้กับจีน

แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) ประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯ ได้เดินทางถึงไต้หวัน ถือเป็นการแสดงออกว่าจะสนับสนุน “ประชาธิปไตยที่สดใสของไต้หวัน” ตามคำกล่าวของเพโลซี อันเป็นการเยือนครั้งแรกในรอบ 25 ปีที่ผ่านมาสร้างความโกรธเกรี้ยวที่ “ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อรากฐานทางการเมืองของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ” ในคำแถลงของกระทรวงต่างประเทศจีนหลังจาการเดินทางถึงของเพโลซี พร้อมเตือนว่า “จะใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตนอย่างเด็ดขาดเพื่อตอบสนองต่อการเยือนของตัวแทนสหรัฐฯ หากสหรัฐยืนกรานที่จะทำตามแนวทางของตนเอง กองทัพจีนจะไม่มีวันนั่งอยู่เฉย ๆ “

เหตุที่ปักกิ่งจึงโกรธเกรี้ยวอย่างรุนแรงต่อการเยือนครั้งนี้ของสหรัฐฯ สื่อต่างประเทศได้ให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เป็นการละเมิดข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ร่วมกันระหว่างจีน-สหรัฐฯ อย่างร้ายแรง เนื่องจากจีนมองว่าการเยือนจากประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯ ถือว่าเป็นตัวแทนของประเทศลำดับที่ 3 ในการสืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ “ฉันคิดว่าจีนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก” ซูซาน แอล. เซิร์ก (Susan L. Shirk) ประธานศูนย์จีนแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ซานดิเอโกกล่าว

หมายความว่าสหรัฐฯ สนับสนุนที่จะปกป้องเสรีภาพของไต้หวันและประชาธิปไตยทั้งหมดอย่างชัดเจน ซึ่งขัดกับนโยบาย ‘จีนเดียว’ ของทางปักกิ่งที่มองว่าไต้หวันคือส่วนหนึ่งของประเทศจีน “แม้จะไม่เคยปกครองมาก่อนและไม่ได้ใช้กำลังในการรวมตัวกับแผ่นดินใหญ่” ก็ตาม บทความของสำนักข่าว CNN ระบุ ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้แถลงก่อนหน้านี้ว่า “สหรัฐฯ คัดค้านอย่างยิ่งต่อความพยายามฝ่ายเดียวในการเปลี่ยนแปลงสถานะที่เป็นอยู่หรือบ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวัน”

รวมทั้ง ‘เพโลซี’ ได้ระบุผ่านบทความที่เขียนขึ้นในวอชิงตันโพสต์ (Washington Post) ซึ่งมีใจความกล่าวถึงความจำเป็นในการเยือนครั้งนี้ว่า จีนได้คุกคามระบอบประชาธิปไตยจากไม่ว่าจะทั้งทางการทหาร สงครามไซเบอร์ และบีบคั้นทางเศรษฐกิจ รวมทั้งข่มขู่ประเทศที่ร่วมมือกับไต้หวัน สหรัฐฯ มองว่าจีนมีแนวโน้มว่าจะเตรียมผนวกรวมไต้หวันเข้ากับจีนแผ่นดินใหญ่ด้วยกำลัง การเยือนครั้งนี้จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อยืนยันว่า สหรัฐฯ พร้อมจะยืนหยัดและสนับสนุนเสรีภาพของไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเหตุผลที่แท้จริงในความโกรธเกี้ยวนั้นอาจเป็นเพราะว่า ‘การเยือนของเพโลซี’ ประจวบเหมาะอย่างยิ่งกับช่วงเวลาที่อ่อนไหวของจีน นั่นคือการประชุมใหญ่ครั้งที่ 20 ของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ “มันเป็นช่วงเวลาที่ตึงเครียดมากในการเมืองภายในของจีน” เชิร์กกล่าว “สี (จิ้นผิง) และสมาชิกชั้นสูงคนอื่น ๆ มองว่าการเยือนครั้งนี้สร้างความอัปยศให้กับความเป็นผู้นำของเขา ซึ่งหมายความว่าเขารู้สึกว่าถูกกดดันให้ตอบโต้เพื่อแสดงความแข็งแกร่ง” ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าพรรคคอมมิวนิสต์ต้องการการรับประกันเสถียรภาพเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งต่าง ๆ หลุดจากการควบคุม

“พูดตามตรง นี่ไม่ใช่เวลาที่ดีสำหรับสีจิ้นผิงที่จะยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งทางทหารก่อนการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 20 เขาจะจัดการเรื่องนี้อย่างมีเหตุมีผลและจะไม่ก่อให้เกิดวิกฤตเหนือวิกฤตอื่น ๆ ทั้งหมดที่เขาต้องรับมือ กับ” ดรูว์ ธอมป์สัน (Drew Thompson) นักวิจัยอาวุโสกล่าว โดยอ้างถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีน วิกฤตด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และการต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเป็นระยะๆ ภายใต้นโยบายโควิดเป็นศูนย์

ความตึงเครียดยังคงเพิ่มขึ้นสูงหลังการประกาศซ้อมรบด้วยกระสุนจริงของจีน สื่อต่างประเทศยังคงจับตาดูอย่างใกล้ชิดทั้งท่าทีก้าวต่อไปของจีนและสหรัฐฯ

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

Photograph by Facebook: House Speaker Nancy Pelosi 

ที่มา

https://edition.cnn.com/2022/07/29/asia/pelosi-taiwan-visit-explainer-intl-hnk/index.html

https://theconversation.com/why-nancy-pelosis-visit-to-taiwan-puts-the-white-house-in-delicate-straits-of-diplomacy-with-china-188116

https://www.washingtonpost.com/opinions/2022/08/02/nancy-pelosi-taiwan-visit-op-ed/

Recommend