ทำไม คนวัยทำงาน ยุคปัจจุบันดูแตกต่างอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนหน้า วัยทำงานในตอนนี้ดูไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของคนที่แก่กว่าในเรื่องการเป็น ‘ผู้ใหญ่’ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไรเลย
หากเราลองหันไปมองรอบตัว เรามักจะสังเกตเห็นว่าคนรุ่นพ่อแม่ของเราหรือพ่อแม่ของ คนวัยทำงาน ในยุคนี้ จะมีชีวิตที่เป็นไปตามเป้าหมาย พวกเขามีบ้าน มีรถ มีงาน และมีครอบครัว ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของคนในสังคมที่มักจะตัดสินว่าประสบความสำเร็จ
.
ขณะที่ชีวิตวัยมิลเลียนเนียลในปัจจุบัน (millennials ตามแบบสหรัฐอเมริกา หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี 1981 ถึง 1996) กลับแตกต่างออกไป หลายคนไม่มีแผนที่จะมีลูก ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีความรัก มีแต่ค่าเช่า ค่าบัตรเครดิต และงานที่ไม่มั่นคงกับปัญหาสุขภาพ จนทำให้บางคนเชื่อว่าพวกเขา ‘ไม่ประสบความสำเร็จ’ ดังที่คนรุ่นพ่อแม่ทำ และไม่ได้เดินตามมาตรฐานของวัยผู้ใหญ่อย่างที่ควรจะเป็น
.
ทว่านั่นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเลย เพราะคนรุ่นมิลเลนเนียลส่วนใหญ่เองก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้านั้นเช่นกัน
.
ความเครียดทางการเงิน หมายถึงความล่าช้าในการเริ่มต้นสร้างครอบครัว และการเป็นเจ้าของบ้าน กฏการพัฒนาตัวเองไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนรุ่นมิลเลนเนียล แม้แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ก็ตาม ศาสตราจารย์ คาเรน ฟิกเกอร์แมน (Karen Fingerman) นักสังคมศาสตร์ด้านการพัฒนามนุษย์แห่งมหาวิทยาลัยออสติน กล่าวว่า คนที่เกิดก่อนปี 1981 เองก็ไม่ได้มีมาตราฐานตามสังคมในด้านการศึกษา การงาน ครอบครัว และมีลูกด้วยเช่นกัน
.
ขณะที่ในช่วงปี 2000 ผู้คนเองก็ยังชะลอการแต่งงานและการมีลูกออกไป แคโรไลนา อรากัว (Carolina Aragão) นักวิจัยที่ทำการศึกษาแนวโน้มทางสังคมและประชากรที่ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) กล่าวว่า งานวิจัยของเธอแสดงให้เห็นว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ในปัจจุบันที่อายุ 30-34 ปีนั้น มีการแต่งงานลดลงมากกว่า 10% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
.
อายุเฉลี่ยของการเป็นพ่อแม่ของการมีลูกคนแรกในปี 2021 นั้นก็อยู่ที่ 27.3 ปี ซึ่งเป็นอายุที่มากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา ในทำนองเดียวกัน การสำรวจของศูนย์วิจัยพิวเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็พบว่าร้อยละ 44 ของผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-49 ปี (นับตั้งแต่บรรลุนิติภาวะ) เองก็วางแผนที่จะมีลูกช้าลง
.
แรงกดดันทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความล่าช้าดังกล่าว ในรายงานปี 2024 จาก ‘National Association of Realtors’ พบว่า 1 ใน 3 ของคนรุ่นมิลเลนเนียลสูงอายุในสหรัฐ มีหนี้ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกู้เรียน) มากกว่า 40,000 ดอลลาร์ (ราว 1,400,000 บาท) และชะลอการซื้อบ้านหลังแรก เพราะหนี้และค่าเช่าที่สูงขึ้น ทำให้ผู้คนไม่สามารถออมเงินเพื่อนำไปดาวน์บ้านหรือชำระค่าบ้านได้
.
ตั้งแต่การจำนอง การดูแลสุขภาพ การดูแลผู้ที่แก่กว่า และการดูแลเด็ก ๆ ทำให้ชีวิตวัยกลางคนมีราคาแพงที่ต้องจ่ายมาโดยตลอด อันที่จริงแล้ว สำหรับคนรุ่นมิลเลนเนียลแล้วกลับกลายเป็นเรื่องที่น่าตกใจยิ่งกว่าเดิม ตามบทความของนักวิจัยที่ศูนย์เสถียรภาพทางการเงินในครัวเรือน ชี้ให้เห็นว่า ค่ามัธยฐาน (ตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางของข้อมูล) ของการออมในปี 2016 นั้นอยู่ที่ 23,200 ดอลลาร์ (ราว 821,000 บาท) ซึ่งต่ำกว่ารายได้ที่คาดการณ์ไว้ถึง 34% เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มในอดีต
คนวัยทำงาน รุ่นมิลเลนเนียลเองก็เผชิญกับความคาดหวังจากยุคอดีต
ทฤษฏีปรากฏการณ์ ‘วิกฤตวัยกลางคน’ ที่เป็นสากลนั้นถูกหักล้างมานานแล้วว่าไม่เป็นความจริง ศาสตราจารย์ มาร์กี้ แลชแมน (Margie Lachman) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบรานดี ซึ่งเน้นศึกษาเรื่องวัยกลางคนกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว มีผู้คนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รายงานว่า ‘ประสบปัญหาดังกล่าว’
.
อันที่จริงแล้ววิกฤตเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนหลายช่วงวัย ในอดีต ชีวิตวัยกลางคนเป็นเวลาที่ต้องเปลี่ยนความสนใจจากตนเองไปหาผู้อื่น เพื่อค้นหาความหมายผ่านการให้คำปริกษาหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมต่าง ๆ
.
การเปลี่ยนแปลงความสนใจไปยังผู้อื่น ยังหมายถึงการจัดลำดับความสำคัญและการเพิ่มความเครียดด้วยเช่นกัน ศาสตราจารย์ แลชแมน กล่าวว่า ในช่วงเวลานี้ บุคคลมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทที่สำคัญที่สุดต่อ พ่อแม่ คู่สมรสหรือคู่ครอง พี่น้อง เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ผู้นำชุมชน เพื่อน และบางครั้งก็รวมปู่ย่าตายายไว้ด้วย “ผู้คนพึ่งพาคุณจริง ๆ และอาจดึงคุณไปในทิศทางที่แตกต่างกัน” เธอกล่าว
.
แต่มีแนวโน้มสองประการที่แตกต่างออกไปคือ คนรุ่นมิลเลนเนียลมีลูกทีหลัง และพ่อแม่อายุยืนยาว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘ยุคแซนด์วิช’ (Sandwich Generation – ผู้คนที่ต้องดูแลทั้งลูกที่กำลังเติบโต และพ่อแม่ที่กำลังชราลง) นี้รุนแรงขึ้น แม้ว่าความรู้สึกที่ได้ควบคุมชีวิตโดยทั่วไปจะถึงจุดสูงสุดในช่วงวัยกลางคน ศาสตราจารย์ แลชแมน กล่าวว่า แต่คนรุ่นใหม่จะรู้สึกควบคุมได้น้อยกว่าคนรุ่นก่อน ๆ
.
และนั่นเองก็ทำให้ คนรุ่นมิลเลนเนียลไม่เพียงแต่ต้องสร้างความสมดุลให้กับบทบาทเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังต้องรับมือกับความไม่มั่นคงในเรื่องงาน การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อ พร้อมกับการเติบโตของโซเชียลมีเดีย
.
แต่เหตุใดที่คนรุ่นมิลเลนเนียลยังคงวัดการเติบโตของด้วยเกณฑ์มาตรฐานจากศตวรรษอื่น?
ศาสตราจารย์ ฟิงเกอร์แมน และนักสังคมศาสตร์อื่น ๆ กล่าวว่า มันคือ “ความล่าช้าทางวัฒนธรรม” พร้อมเสริมว่า “ไม่ใช่ว่าคุณ ‘ล้มเหลว’ หรือไม่ได้คว้าโอกาสไว้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือสิ่งเหล่านั้นหายไป และโลกก็มีโครงสร้างน้อยลง”
.
โครงสร้างเหล่านั้นที่เคยสนับสนุนการมีชีวิตลดน้อยถอยลงไป ทว่าบรรทัดฐานที่ล้าหลังยังคงหลงเหลืออยู่ในคนรุ่นมิลเลนเนียลจำนวนมากที่ว่าไม่ได้มีชีวิตอย่างที่ ‘คนอื่นเป็น’ ลองจินตนาการถึงผู้ใหญ่วัยกลางคนอายุ 38 ปีที่รู้สึกหงุดหงิดกับชีวิตที่ไม่มั่นคงพอที่จะมีลูก และไม่สามารถบรรลุเกณฑ์มาตราฐานทางการเงินได้
.
“ทำให้การเติบโตส่วนบุคคลของฉันรู้สึกต่ำเตี้ย” แอนนา ชูมันน์ (Anna Schumann) ในวัย 38 ปีกล่าว “ในหลาย ๆ ด้าน ฉันยังคงรู้สึกเหมือนเป็นเด็ก ฉันสงสัยว่ามันจะเปลี่ยนไปบ้างรึเปล่า?”
การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน คนวัยทำงาน อาจเป็นสิ่งที่ดี
แม้การขาดโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้ และคนรุ่นมิลเลนเนียลบางคนก็รู้สึกต้องการที่จะคงความเป็น ‘เด็ก’ ไว้ให้นานขึ้น ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพปัจจุบันสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ให้กับผู้หญิงอายุ 40-45 ปีได้ ซึ่งมากกว่าคนในยุค 1990-2019 ถึง 132% ทำให้ผู้หญฺิงสามารถมีลูกได้ยาวนานกว่าที่เคย
.
ขณะเดียวกันข้อมูลแนวโน้มด้านสุขภาพของประเทศต่าง ๆ ก็แสดงให้เห็นว่าความเป็นอิสระในชีวิตช่วงปลายกำลังเพิ่มขึ้น โดยผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 72 ปีมีความต้องการช่วยเหลือดูแลน้อยลง และก็มีกลุ่มคนที่มี ‘ความสามารถทางกายภาพสูง’ ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (เกือบหนึ่งในสาม) ผลลัพธ์ที่ได้คือ กลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลกำลังเติมเต็มชีวิตรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นเป็นวงกว้าง
.
หนึ่งในวิธีเหล่านั้นคือการเดินทางออกไปท่องเที่ยว รัดฮา ไวส์ (Radha Vyas) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง ‘Flash Pack’ บริษัทท่องเที่ยวกลุ่มวัยกลางคนมองเห็นว่าธุรกิจประเภทนี้กำลังเติบโต ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากคนรุ่นมิลเลนเนียลที่ใช้เงินอย่างประหยัดเพื่อเก็บไว้ให้กับความสำคัญลำดับใหม่ ๆ
.
‘Flash Packer’ (ผู้ที่ใช้บริการท่องเที่ยว) มักไม่ได้แต่งงาน และไม่มีบุตร หลายคนก็ออกเดินทางหลังการเลิกจ้างงาน “สังคมเปลี่ยนไปมาก” ไวส์ กล่าว “ไม่มีงานที่ปลอดภัยอีกต่อไป บางทีพวกเขาอาจไม่ต้องการตั้งถิ่นฐาน และบางทีพวกเขาก็อาจไม่ต้องการจะมีลูก” ผู้คนจึงถามตัวเองว่า ‘ยังไงดีล่ะตอนนี้?’
.
ในการสูญเสียโครงสร้างดั้งเดิมของวัยผู้ใหญ่ คนรุ่นมิลเลนเนียลก็ได้รับอิสรภาพใหม่เช่นกัน ศาสตราจารย์ ฟิงเกอร์แมน กล่าวว่า ด้วยการสร้างพื้นที่สำหรับความเป็นผู้ใหญ่ในอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง “คุณก็ไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านพ่อแม่เพื่อเป็นผู้ใหญ่ คุณก็ไม่จำเป็นต้องแต่งงานเพื่อที่จะเป็นผู้ใหญ่”
.
ตัวอย่างเช่น การอยู่ร่วมกันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น (เพื่อนอยู่กับเพื่อน หรืออยู่ร่วมกับญาติคนอื่น ๆ) แนวโน้มการไม่มีคู่สมรสเองก็เพิ่มมากขึ้น “หากการจำกัดตัวเองเพื่อจำเป็นที่จะต้องบรรลุเป้าหมายทางสังคมที่เฉพาะเจาะจง (เช่นมีบ้าน มีรถ มีลูก) มีน้อยลง คุณก็จะมีอิสระมากขึ้นในการรับความหมายจากประสบการณ์อื่น ๆ” ศาสตราจารย์ ฟิงเกอร์แมน กล่าว
.
‘จะเกิดอะไรขึ้นถ้าความเป็นผู้ใหญ่เปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ในตอนนี้?’ ศาสตราจารย์ ฟิงเกอร์แมน ถาม แทนที่จะวิ่งตามหาสิ่งที่สังคมกำหนดเป็นเป้าหมาย บางทีอาจหมายถึง “การมองเห็นข้อจำกัดในชีวิตของคุณ แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดเหล่านั้นได้” เพื่อจุดประกายการกำหนดนิยามและการสำรวจตัวเอง
.
“ถ้าสคริปต์ (ความเป็นผู้ใหญ่) ไม่ชัดเจนเหมือนเมื่อก่อน คุณก็อาจจะใช้ประโยชน์จากมันได้เช่นกันใช่ไหม?” ศาสตราจารย์แลชแมน กล่าว “มันอาจจะน่าตื่นเต้นที่คุณสามารถกำหนดว่าชีวิตวัยกลางคนของคุณจะเป็นอย่างไรได้เอง”
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา
https://www.nationalgeographic.com/culture/article/millennials-midlife-crisis-money-culture