SACIT เดินหน้าโครงการ SACIT Craft Collection 2025 สร้างความเชื่อมั่นงานคราฟต์ไทยในเวทีโลก

SACIT เดินหน้าโครงการ SACIT Craft Collection 2025 สร้างความเชื่อมั่นงานคราฟต์ไทยในเวทีโลก

“SACIT  เดินหน้าโครงการ  SACIT Craft Collection

คัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยจากทั่วประเทศ

ให้เป็นแม่แบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย

เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้แพร่หลาย ไปไกลในระดับโลก”

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์กรมหาชน) หรือ SACIT กล่าวว่า SACIT มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันช่างฝีมือผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักแนวคิดพื้นฐาน 3 พันธกิจขององค์กรที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ คือ การสืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยให้ยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์การรับรองผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์งานศิลปหัตถกรรมไทยเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ผลักดันให้เกิดความนิยมในผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษารากฐานขององค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือท้องถิ่น ตลอดจนสามารถถ่ายทอด และต่อยอดให้เกิดการค้าที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยก้าวไปสู่สินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรวบรวมคณะกรรมการคัดสรรงานศิลปหัตกรรมเพื่อรองรับเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้ SACIT Craft Collection  ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลากหลายมิติ  เพื่อร่วมพิจารณาคัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้ SACIT Craft Collection โดยใช้เกณฑ์การพิจารณ 5 ด้าน ได้แก่ 

1.ด้านความเป็นเลิศเชิงช่าง (Craftsmanship)

2.ด้านความสามารถทางการตลาด (Marketability)

3.ด้านความดั้งเดิม (Authenticity)

4.ด้านนวัตกรรม (Innovation) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

5.ด้านความยั่งยืน (Sustainability)

โดยในที่ผ่านมา SACIT ได้ดำเนินการยกย่องเชิดชูกลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. และ New Yong Craft ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์โดยกลุ่มคนดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความโดดเด่น  สามารถสร้างภาพลักษณ์อันดีที่จะนำมาสู่การสร้างความเชื่อมั่นในระดับประเทศและผลักดันสู่การเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป

สำหรับการคัดสรรผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่สร้างสรรค์ โดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. และ New Yong Craft เพื่อรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้ SACIT Craft Collection ได้แบ่งประเภทการรับรองผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.Master Craft หรือหัตถศิลป์ระดับประเทศ (The Legacy of Master Craftsmanship) ที่เน้นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านความเป็นเลิศเชิงช่าง (Craftsmanship) และความดั้งเดิม (Authenticity)

2.Trendy Craft หรือนวัตศิลป์เพื่อตอบสนองความต้องการของปัจจุบันและอนาคต (Bridging tradition and tomorrow) เน้นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านนวัตกรรม (Innovation) และความสามารถทางการตลาด (Marketability)

3.Conscious Craft หรือ หัตถกรรมรักษ์โลก (Where sustainability meets creativity) เน้นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้านการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน (Sustainability) และนวัตกรรม (Innovation)

โดยผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับรองเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยภายใต้ SACIT Craft Collection  ประโยชน์ที่ผู้ผ่านการคัดสรรจะได้รับ คือ

1.การยอมรับและข้อเสนอแนะ เช่น ตราสัญลักษณ์ ประกาศนียบัตรรับรอง คำแนะนำ จนถึงการจัดแสดงผลงานในนิทรรศการพิเศษ

2.โอกาสทางธุรกิจ เช่น การสนับสนุนด้านการตลาด จัดแสดงผลงานในระดับนานาชาติ ขยายช่องทางการขายทั้งออฟไลนและออนไลน์ การจับคู่ทางธุรกิจ

3.ประชาสัมพันธ์ในเครือข่ายสื่อพันธมิตร  เพื่อสร้างโอกาส สร้างการเป็นที่รู้จักและยอมรับ

“SACIT Crafts Collection” จึงไม่ใช่แค่เวทีแสดงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม แต่คือเวทีที่เปิดโอกาสให้ช่างฝีมือได้แสดงพลังของทักษะเชิงช่างของคนไทยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเป็นปัจจุบัน ต่อยอดธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ และขยายตลาดไปได้ไกลกว่าเดิม  SACIT เชื่อว่า SACIT Craft Collection ไม่ใช่การรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดเพียงงานสร้างรายได้  แต่เป็นการสืบสานและส่งต่อมรดกทางองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และทักษะฝีมือเชิงช่าง ที่ซ่อนอยู่ในทุกหมู่บ้าน ทุกอำเภอทั่วประเทศไทยให้คงอยู่สืบไป”

สแกนเพื่อสมัคร


อ่านเพิ่มเติม : ก้าวให้ทัน ไปให้ไกล SACIT ดันคราฟต์ไทย ไปตลาดโลก

Recommend