เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลังตีพิมพ์สารคดีเกี่ยวกับเมืองไทยเรื่องแรกๆ อาทิ การคล้องช้างในสมัยรัชกาลที่ 5 และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ก็กลับมาเยือนสยามประเทศอีกครั้งด้วยการตีพิมพ์สารคดีเรื่อง “ดินแดนเสรีชน” แห่งเอเชีย หรือ “Land of the Free” In Asia ในนิตยสารฉบับเดือนพฤษภาคม ค.ศ 1934 โดยเป็นผลงานของนักเขียนและช่างภาพมากฝีมือผู้ใช้ชีวิตอยู่ในสยามนานหลายปีอย่างดับเบิลยู. โรเบิร์ต มัวร์ ผู้เขียนตระเวนเดินทางไปทั่วประเทศตั้งแต่เหนือจรดใต้ เก็บภาพวิถีชีวิตทั้งในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั้งเหนือใต้ ภาพผู้คนหลากเชื้อชาติ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงวัดวาอาราม สถาปัตยกรรม และงานพระราชพิธีต่างๆ นับเป็นสารคดีสมบูรณ์ชิ้นหนึ่งที่ช่วยให้ชาวตะวันตกรู้จักกับสยามประเทศ ข้อความหลายตอนสะท้อนความเป็นไปของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เรื่องและภาพถ่าย: ดับเบิลยู. โรเบิร์ต มัวร์

“สยามเป็นบ้านของผมตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมเดินทางตระเวนไปทั่วราชอาณาจักรที่น่าสนใจแห่งนี้ ผมพบว่า สยามยังคงมีมนตร์เสน่ห์แห่งดินแดนตะวันออก แต่ก็แฝงแง่มุมอันหลากหลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความทันสมัย แม้จะเปิดรับและหล่อหลอมอิทธิพลจากตะวันตก สยามยังคงสามารถรักษาเอกลักษณ์ของตนไว้ได้ จึงมีน้อยประเทศนักที่สามารถอวดความขัดแย้งอันมีสีสันได้เช่นนี้”

เมืองไทยในอดีต
อาทิตย์อัสดงเขตร้อนอาบไล้วัดอรุณ: “ปรางค์ประธานสูง 73 เมตรและปรางค์บริวารทั้งสี่ของวัดอรุณราชวราราม (หรือวัดแจ้ง) ประดับตกแต่งด้วยเครื่องกระเบื้อง ท่ามกลางแสงทองยามเย็น แสงอาทิตย์ยามเช้า หรือแสงจันทร์นวลตา นี่คือสถานที่อันเป็นหมุดหมายสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ”
เมืองไทยในอดีต
งานเทศกาลที่พระเจดีย์สูงใหญ่ที่สุดในสยาม: “พระเจดีย์สูงใหญ่กว่าตึก 30 ชั้นที่จังหวัดนครปฐมประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องดินเผาเงางามยามต้องแสงอาทิตย์ ต้นไม้ใหญ่สองข้างทางได้รับการตัดแต่งเป็นรูปกรวยสวยงาม
เมืองไทยในอดีต
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค: “ขบวนเสด็จพระราชดำเนินเคลื่อนผ่านพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ทหารอัญเชิญเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศนำหน้าขบวน
เมืองไทยในอดีต
หนักมือไปหน่อย: “เพื่อความสดชื่นเย็นสบาย ชาวสยามนิยมประแป้งบนใบหน้าและเรือนร่างหลังอาบน้ำมาหมาดๆ”
เมืองไทยในอดีต
อาบเหงื่อต่างน้ำ: “การแยกข้าวเปลือกออกจากรวงด้วยการตีหรือฟาดรวงข้าวกับตะกร้าสานใบมหึมาที่เห็นอยู่นี้เป็นภาพที่พบเห็นในแถบมณฑลพายัพหรือจังหวัดทางภาคเหนือของสยาม ในพื้นที่อื่นๆมักทำกันบนลานโดยใช้แรงงานควายหรือไม่ก็แรงงานคน”

 

Recommend