เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เมืองไทยในอดีต: “ดินแดนเสรีชนแห่งเอเชีย”

เมืองไทยในอดีต
หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร: “พุทธศาสนิกชนสามารถเดินขึ้นบันไดสูงชันไปจนถึงระเบียงหลังเศียรองค์พระ และสามารถชมทัศนียภาพมุมสูงของกรุงเทพฯ เนื่องจากชายไทยจำนวนมากนิยมบวชเรียนอย่างน้อยก็ช่วงหนึ่งของชีวิต สยามจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งผ้ากาสาวพัสตร์”

“วัดวาอารามหลากสีสัน: “แม้ถนนหนทางสายหลักๆ ในกรุงเทพฯ อาจไม่มีอะไรน่าสนใจมากมายนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ชดเชยได้อย่างดีคือวัดวาอารามอันงดงาม ภายในขอบขัณฑสีมาของวัด ชาวสยามอวดทักษะงานศิลป์ที่มีอย่างเหลือเฟือและแสดงออกซึ่งความรักในสีสัน สุดสัปดาห์แล้วสุดสัปดาห์เล่าที่ผมตระเวนไปตามวัดต่างๆ หลายครั้งผมกลับไปเยือนวัดเดิมๆ พร้อมเลนส์ถ่ายภาพสีเพื่อมองหามุมใหม่ๆ หรือไม่ก็ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยพบเห็น…. ในฐานะเมืองพุทธ ตัวเลขทางการระบุว่า สยามมีวัดมากกว่า 16,500 วัดและมีพระสงฆ์ราว 127,000 รูป”

เมืองไทยในอดีต
ยักษ์วัดแจ้งหรือวัดอรุณราชวราราม: นอกจากยักษ์หน้าตาประหลาดสองตนนี้ที่ดูราวกับออกมาจากตำนานทวยเทพอินเดียแล้ว ต้นไม้สูงใหญ่ยังได้รับการตัดแต่งจนดูแปลกตา เช่นเดียวกับลวดลายพรรณพฤกษาประดับบนหน้าบันและเรือนยอดล้วนทำจากเศษหรือชิ้นส่วนเครื่องเคลือบหลากสีสัน

“หลุมพรางภาษา: “ระหว่างที่ผมสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในวิทยาลัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ผมก็เป็นนักเรียนไปด้วย ถ้านั่นคือสิ่งที่คุณอยากจะเรียกความพยายามของผมที่จะหยั่งลึกเข้าสู่ความซับซ้อนทางภาษาของสยาม ครูคนแรกของผมมักพูดขณะเคี้ยวหมากไปด้วย ผมต้องคอยมองฟันดำๆและปากแดงๆ ของเธอเปล่งคำพูดออกมา แล้วพยายามแยกแยะให้ออกว่าเป็นเสียงใดในวรรณยุกต์ห้าเสียง  ยกตัวอย่างคำศัพท์อย่าง ‘kao’ อาจแปลได้หลายอย่าง ตั้งแต่ ‘ข่าว’ ‘ภูเขา’ ‘สีขาว’ ‘ข้าว’ ‘เขา’ [ผู้ชาย] ‘เข่า’ หรือ ‘เข้า’”   

เมืองไทยในอดีต
สิบสองดรุณี: “พวกเธอเข้าเรียนที่โรงเรียนหมอสอนศาสนาในบางกอก เครื่องแบบสมัยใหม่อย่างกะโปรงที่พวกเธอสวมใส่กำลังมาแทนที่ผ้านุ่งแบบเก่าซึ่งทั้งหญิงชายชาวสยามนิยมสวมใส่”

ชมภาพถ่าย “เมืองไทยในอดีต” เพิ่มเติม

เมืองไทยในอดีต : สารคดีเกี่ยวกับเมืองไทยเรื่องแรกในเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

Recommend