บันทึกภาษาให้ทันก่อนสิ้นสูญ

บันทึกภาษาให้ทันก่อนสิ้นสูญ

ชาวไอนุนั่งเรียงรายให้ถ่ายภาพในทศวรรษ 1880 นักภาษาศาสตร์ระบุว่าพวกเขาไม่พบภาษาใดในโลกที่คล้ายคลึงกับภาษาของชาวไอนุ
ภาพถ่ายโดย Pump Park Vintage Photography/Alamy

คำที่หายไป

เมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งในสองคนสุดท้ายที่พูดภาษา Saami ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของทุ่งหญ้าสเต็ปในรัสเซียเพิ่งจะเสียชีวิตไปก่อนที่จะได้บันทึกวิดีโอกับ Wikitongue และพวกเขาประมาณกันว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านี้จะมีอีกราว 500 ภาษาที่หายไปจากโลก

การประหัตประหารทางการเมือง, การขาดการอนุรักษ์ไปจนถึงโลกาภิวัฒน์ เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ความหลากหลายของภาษากำลังน้อยลงเรื่อยๆ ในช่วงศตวรรษที่ 20 รัฐบาลในหลายประเทศบังคับใช้ภาษาแก่ชนพื้นเมือง รู้หรือไม่ว่าตั้งแต่ยุโรปเข้ามาตั้งรกรากในออสเตรเลีย มีภาษาของชาวอะบอริจินสูญหายไปแล้วถึง 100 ภาษา และตลอด 50 ปีที่ผ่านมา เมื่อจีนผนวกทิเบตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนหลายสิบสำเนียงภาษาต้องล้มหายไป ซึ่งจากผลการศึกษาใหม่เผยให้เห็นว่าการบีบบังคับใช้ภาษาส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ตั้งแต่สุขภาพไปจนถึงการเข้าสังคม เช่น ในโรงเรียน

แต่การปราบปรามภาษาชนพื้นเมือง หาใช่ภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุด “ภาษาส่วนใหญ่ทุกวันนี้ที่สูญหายไปไม่ใช่เพราะการประหัตประหาร แน่นอนว่าอาจเกิดในบางพื้นที่ แต่สาเหตุจริงๆ มาจากการที่ภาษานั้นๆ ไม่สามารถใช้อะไรได้ในชีวิตประจำวัน” Andrade กล่าว สิ่งนี้เกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือการพัฒนาของเมืองที่กลืนกินชนบท ส่งผลให้ชาวบ้านต้องเรียนรู้ภาษาใหม่ในการติดต่อสื่อสารกับคนกลุ่มใหม่ เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

“การสูญสิ้นของภาษามันค่อยๆ ลุกลามเหมือนมะเร็งครับ ไม่ได้ล้มหายในพริบตาเหมือนยิงปืน”

ชาวเยอรมันในภูมิภาค Gottschee โพสต์ท่าถ่ายภาพในปี 1936 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้อยู่อาศัยหลายพันคนที่พูดภาษา Gottscheerisch ย้ายไปยังอเมริกา ทุกวันนี้เหลือผู้พูดภาษานี้ได้เพียงน้อยนิด
ภาพถ่ายโดย Sueddeutsche Zeitung Photo/Alamy

 

แด่คนรุ่นใหม่ในอนาคต

ใน Gottscheer Hall ทั้ง Belay และ Hutter ดูบุคลิกเปลี่ยนไปเมื่อได้พูดภาษาบ้านเกิด พวกเขายังร้องเพลงในภาษา Gottscheerisch ซึ่งเป็นเพลงกล่อมเด็กที่พวกเขายังคงจดจำได้ และทุกวันนี้เยอรมันเองยังคงสอนเพลงนี้ในห้องเรียนและในโบสถ์

ปี 1941 ภูมิภาค Gottschee ถูกยึดโดยอิตาลี ประชาชนถูกย้ายไปอาศัยยังค่ายพัก และในอีกสี่ปีต่อมา Gottscheer Relief Association ก็เปิดประตูต้อนรับผู้อพยพจาก Gottschee ที่เดินทางมาแสวงหาชีวิตใหม่ที่ดีกว่าในนิวยอร์ก ซึ่ง Hunter ยังจำได้ว่าในช่วงทศวรรษ 1950 ในละแวกที่เขาอยู่มีสมาชิกจากบ้านเกิดมากเสียจนเขาแทบไม่ได้ฝึกภาษาอังกฤษ

บรรดาผู้อพยพเหล่านี้สื่อสารกันด้วยภาษาบ้านเกิดก็จริง แต่พวกเขาเลี้ยงลูกหลานให้โตมากับภาษาอังกฤษ และเมื่อเวลาผ่านไป 60 ปี นี่เป็นครั้งแรกที่ Belay เริ่มต้นคุยกับหลานๆ ด้วยภาษา Gottscheerisch อย่างไรก็ตามสถานะของมันยังคงจัดอยู่ในภาษาที่ใกล้จะสาบสูญ

บนเส้นทางของภาษานี้ Gottscheerisch เป็นภาษาที่ไม่ค่อยมีรูปแบบการเขียน กระบวนการเรียนรู้ด้วยการฟังและจำยังคงมีมาจนถึงปี 1994 จนกระทั่งเมื่อ Hunter ตีพิมพ์พจนานุกรมคำศัพท์ 1,400 ซึ่งใช้เวลารวบรวมกว่า 5 ปีออกมา และเรียกได้ว่าเป็นพจนานุกรมอังกฤษ – Gottscheerisch เล่มแรก

“แต่เดิม Gottscheerisch ถูกเชื่อกันว่าไม่ใช่ใครก็จะเรียนได้ จึงไม่มีใครสนใจอยากเรียน” Hunter กล่าว “แต่ทุกภาษาสามารถเรียนรู้ได้ ฉันจึงคิดว่าหากภาษาเก่านี้ต้องตายลง จะไม่มีใครได้รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย”

“วิธีนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้มัน” Belay กล่าวเสริม

“ไม่เช่นนั้น เมื่อถึงวันข้างหน้าที่พวกเขาไม่พูดภาษานี้กันแล้ว” Hunter กล่าว “หากใครคนใดคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่าบรรพบุรุษของพวกเราเคยพูดภาษานี้ เด็กๆ คงไม่เข้าใจว่ามันคือภาษาอะไรเป็นแน่”

เรื่อง Nina Strochlic

 

อ่านเพิ่มเติม

หากออเจ้าย้อนเวลาได้จริงจะคุยกับคุณพี่รู้เรื่องไหม?

Recommend