พลังงานหมุนเวียน จะเป็นพลังงานที่ยืนหยัดท่ามกลางภาวะช็อกของพลังงานโลกในรอบ 70 ปีที่เกิดขึ้นเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) กล่าวว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อาจเป็นสิ่งที่กำจัดความต้องการพลังงานฟอสซิลของโลก เนื่องจากมันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการพลังงานลดลงถึง 7 เท่า เมื่อเทียบกับตอนวิกฤติการเงินระดับโลก
โดยการเพิ่มขึ้นของ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการลดลงของความต้องการพลังงานฟอสซิล หมายความว่าพลังงานไฟฟ้าสะอาดจะมีบทบาทมากที่สุดในระบบพลังงานโลกของปีนี้ และจะช่วยลดการเพิ่มขึ้นของการปล่อนคาร์บอนในระดับโลกในรอบทศวรรษ
Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหารของ IEA กล่าวว่า การลดลงของความต้องการในพลังงานหลัก (major fuels) นั้นน่าประหลาดใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ โดยมีแต่พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่การใช้ไฟฟ้าลดลงอย่างที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน
มีการคาดการณ์ว่าพลังงานหมุนเวียนจะเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในปีนี้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของความต้องการพลังงานไฟฟ้าของโลกที่ลดลง โดยการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนท่ามกลางวิกฤตนี้อาจทำให้บริษัทพลังงานฟอสซิลเปลี่ยนเป้าหมายไปยังพลังงานสะอาดมากขึ้น Birol กล่าว แต่บรรดารัฐบาลต้องรวมเอานโยบายพลังงานสะอาดเป็นหัวใจหลักในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นฟูที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
“มันยังเร็วไปที่จะตัดสินถึงผลกระทบในระยะยาว” Birol กล่าวและเสริมว่า “แต่อุตสาหกรรมพลังงานที่อยู่มาได้ในวิกฤตนี้จะเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นอย่างยิ่ง”
ความสำเร็จของพลังงานหมุนเวียนท่ามกลางความต้องการพลังงานที่ลดลงเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งรวมไปถึงต้นทุนการจัดการที่ต่ำ รวมไปถึงโครงการการใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ที่เสร็จสมบูรณ์ในช่วงปี 2019 และต้นปี 2020
นอกจากนี้ ผลกระทบที่เกิดจากไวรัสโคโรนากระตุ้นให้เกิดวิกฤตสินค้าพลังงานฟอสซิลซึ่งรวมไปถึงปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำด้วยเช่นกัน
ความพยายามในหลายแห่งของโลกที่ต้องการงับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้นำมาซึ่งมาตรการจำกัดการเดินทาง และเศรษฐกิจโลกในช่วงนี้จะทำให้ความเกิดต้องการน้ำมันที่ลดลงในรอบ 25 ปี
“อุตสาหกรรมพลังงานไม่เคยพบเจอสิ่งที่เกิดเช่นในปี 2020 มาก่อน” IEA กล่าว โดยรายงานที่ออกมาเมื่อต้นเดือนเมษายนระบุว่า ราคาน้ำมันลดลงถึงร้อยละ 75 นับตั้งแต่ช่วงต้นปี และผู้บริษัทน้ำมันต้องสูญเงินไปในทุกบาร์เรลที่พวกเขาผลิต
ในส่วนของความต้องการใช้แก๊ส ก็มีการคาดว่าจะลดลงร้อยละ 5 เป็นการดิ่งลงของความต้องการแก๊สนับตั้งแต่ที่แก๊สเริ่มมีการใช้ในฐานะแหล่งพลังงานชนิดหนึ่งในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ผ่านมา
ด้านความต้องการถ่านหินก็ลดลงไปร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
โดย IEA ได้ใช้ข้อมูลทุกประเทศในทุกหน่วยพลังงานเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของโรคระบาดที่มีต่อโลก
และพบว่าความต้องการพลังงานโลกลดลงไปร้อยละ 6 ในปีนี้ ซึ่งเท่ากับการสูญเสียความต้องการพลังงานทั้งหมดในอินเดีย ประเทศที่บริโภคพลังงานมากเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือความต้องการพลังงานของฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และสหราชอาณาจักรรวมกัน
ผลกระทบจากโรคระบาดได้ส่งผลต่อการใช้พลังงานในเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งคาดว่าความต้องการจะลดลงร้อยละ 11 ทั่วสหภาพยุโรป และร้อยละ 9 ทั่วสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดการลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 3 พันล้านตัน ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดในทุกวิกฤตทางการเงินที่เกิดรวมกันนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม IEA กล่าวว่าการลดลงครั้งใหญ่นี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้คงอยู่ตลอดไป
Birol กล่าวว่า “อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้คน และบาดแผลทางวิกฤตเศรษฐกิจ การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจเลย”
“ถ้าผลกระทบหลังเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินเมื่อปี 2008 คือสิ่งที่เราต้องอยู่ร่วมกับมัน ในไม่ช้านี้เราก็จะได้เห็นผลสะท้อนกลับ (ในทางตรงกันข้าม) เมื่อสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นหลังวิกฤต แต่บรรดารัฐบาลสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้โดยการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ทั้งพลังงานหมุนเวียน แบตเตอรี ไฮโดรเจน และการดักจับคาร์บอนเป็นหัวใจสำคัญในฟื้นฟูเศรษฐกิจ”
“การลงทุนในสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างงาน ทำให้เศรษฐกิจมีการแข่งขัน และทำให้อนาคตของโลกเป็นเรื่องของพลังงานสะอาดมากขึ้น” เขากล่าว
แหล่งข้อมูล
Covid-19 crisis will wipe out demand for fossil fuels, says IEA